Cisco แนะนำ 5 แนวทางสำหรับปกป้องความเป็นส่วนบุคคล

ในยุค Internet of Things และ Big Data นี้ อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลและประมวลผลมีจำนวนมากและกระจายอยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่อุปกรณ์สวมใส่ ไมโครโฟน ลำโพง กล้อง ทีวี ตู้เย็น รถยนต์ ไปจนถึงของเล่นเด็ก เพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลมากจนเกินไปจนละเมิดความเป็นส่วนบุคคล Cisco จึงได้แนะนำแนวทางสำหรับปกป้องความเป็นส่วนบุคคล 5 ข้อ ดังนี้

Credit: ShutterStock.com

1. เมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์ IoT ให้ตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลที่อุปกรณ์เหล่านั้นเก็บไปมีอะไรบ้าง และเก็บข้อมูลจากใคร รวมไปถึงวิธีที่ข้อมูลเหล่านั้นถูกจัดเก็บ ถูกใช้ และถูกแชร์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์จะไม่ถูกเก็บเกินความจำเป็นที่ต้องใช้งาน

2. บริการจัดการข้อมูลที่ถูกเก็บไปอย่างชาญฉลาด โดยตรวจสอบว่าผู้ผลิตอุปกรณ์มีวิธีปกป้องและควบคุมการใช้ข้อมูลอย่างไร บริการที่ได้จากการเก็บข้อมูลเหล่านั้นไปมีความคุ้มค่าหรือไม่ รวมไปถึงบริษัทของคุณมีการวางมาตรการควบคุมหรือสนใจในการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นอย่างไรบ้าง

3. ระมัดระวังเรื่องการทำแบบสำรวจออนไลน์หรือการหลอกขอข้อมูลทางโทรศัพท์ ควรพิสูจน์ตัวตนอีกฝ่ายให้แน่ชัดการให้ข้อมูล และมั่นใจว่าข้อมูลจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสม ที่สำคัญคืออย่ากลัวที่จะถามคำถามยากๆ ให้อีกฝ่ายยืนยันตัวตนอีกฝ่าย

4. ระมัดระวังเรื่องการแจกของฟรีที่หลอกให้คุณใส่หมายเลขบัตรเครดิตโดยอ้างว่าเพื่อเป็นค่าส่งของหรือค่ามัดจำ ข้อเสนอแบบนี้มักตามมาด้วยเหตุการณ์บัตรเครดิตถูกหักเงินโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงควรตรวจสอบเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการให้ดีก่อนว่า มีการนำเสนอการแจกฟรีดังกล่าวหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าคุณได้ตกเป็นเหยื่อของการต้มตุ๋นแล้ว

5. คิดให้รอบคอบก่อนที่จะดาวน์โหลดพวกโปรแกรมบันเทิง เช่น วิดีโอออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้อาจถูกสร้างมาเป็นพิเศษเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล รหัสผ่าน หรือไฟล์สำคัญบนอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้ โปรแกรมบางประเภทอาจแฝง Backdoor สำหรับให้แฮ็กเกอร์บุกรุกเข้ามาควบคุมอุปกรณ์ หรือขโมยข้อมูลออกไปได้

ที่มา: https://blogs.cisco.com/security/five-things-you-can-do-to-manage-your-privacy-now

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

AMD เปิดตัวการ์ดเน็ตเวิร์กระดับ 400Gbps ตัวแรกของโลกที่เปิดให้โปรแกรมเองได้

AMD Pollara 400 หรือโซลูชัน NIC ใหม่จาก AMD ซึ่งจุดเด่นคือการเปิดให้มีการโปรแกรมการใช้งานเพิ่มเองได้ และรองรับมาตรฐานจาก Ultra Ethernet Consortium (UEC) ได้ด้วย

Passwordless คืออะไร?

รู้สึกชีวิตยากไหมกับการที่ต้องรหัสผ่านนับสิบในทุกวันนี้ นั่นทำให้เกิดการตั้งรหัสผ่านแบบง่ายๆ หรือวนใช้รหัสผ่านซ้ำ ซึ่งเมื่อข้อมูลรั่วก็โดนแฮ็กได้แบบรวบยอด ด้วยเหตุนี้เองแนวคิดของ Passwordless จึงเริ่มถูกผลักดันมากขึ้น ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักนิยามของ Passwordless และวิธีการใช้งานกัน