Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

แนะนำ 3 Use Cases ที่น่าสนใจสำหรับการใช้ SD-WAN

Software-defined WAN (SD-WAN) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยสูงที่กำลังเป็นที่น่าจับตามมองในปัจจุบัน บทความนี้ทาง Silver Peak ผู้ให้บริการโซลูชัน SD-WAN ชื่อดัง จึงได้แนะนำ Use Cases 3 แบบที่หลายองค์กรทั่วโลกต่างนำไปใช้งาน เพื่อให้ทั้ง ISP และองค์กรทั่วไปสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนได้

ทำความรู้จักเทคโนโลยี SD-WAN ก่อน

SD-WAN เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายยุคใหม่สำหรับเชื่อมต่อสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาที่กระจายอยู่ ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกประเทศเข้าด้วยกัน โดยใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่มีค่าบริการถูกกว่าในการสร้างระบบเครือข่ายประสิทธิภาพสูงที่ง่ายต่อการบริหารจัดการจากศูนย์กลางและมีความซับซ้อนต่ำ ในขณะที่มีความเสถียรและความมั่นคงปลอดภัยไม่แพ้เครือข่าย MPLS

SD-WAN มาพร้อมด้วยคุณสมบัติการเชื่อมต่อและความมั่นคงปลอดภัยหลายประการสำหรับสร้างเครือข่าย WAN ความมั่นคงปลอดภัยสูงหรือนำมาใช้แทน MPLS ไม่ว่าจะเป็น การคัดแยกทราฟฟิกตามแอปพลิเคชัน การใช้โปรโตคอล Routing แบบพิเศษสำหรับคำนวณเส้นทางที่ดีที่สุด การทำ QoS และ WAN Optimization รวมไปถึงการมี Stateful Firewall และ Micro-segmentation เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยเชิงลึก

เพื่อให้เห็นภาพการทำ SD-WAN มาใช้ได้ดียิ่งขึ้น Silver Peak ได้ยก Use Cases ยอดนิยม 3 รูปแบบมาให้ ISP และองค์กรทั่วไปได้ศึกษา ได้แก่

Use Case 1: การแยกอินเทอร์เน็ตออกจากการเชื่อมต่อกับสำนักงานใหญ่

ใช้เทคโนโลยี SD-WAN ในการจำแนกประเภทของแอปพลิเคชันของสำนักงานสาขา เพื่อแยกทราฟฟิกที่มีความสำคัญสูงส่งกลับไปยังระบบเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ ในขณะที่ทราฟฟิกที่มีความสำคัญต่ำกว่า เช่น Guest Wi-Fi และ Social Media ให้ส่งออกอินเทอร์เน็ตโดยตรงจากสำนักงานสาขาแทน เพื่อประหยัด Bandwidth ระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา รวมไปถึงเพิ่มความเร็วในการใช้แอปพลิเคชันประเภทต่างๆ ให้สูงขึ้น

นอกจากนี้ SD-WAN ยังสามารถแยกแอปพลิเคชันที่ต้องสงสัยหรือไม่น่าไว้วางใจ ส่งกลับไปยังเครือข่ายของสำนักงานใหญ่เพื่อให้ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น Firewall และ IPS ทำการตรวจสอบก่อนที่จะอนุญาตให้ออกอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย และในส่วนของแอปพลิเคชันประเภท SaaS เทคโนโลยี SD-WAN สามารถจำแนกแอปพลิเคชันเหล่านั้น แล้วส่งทราฟฟิกไปยังผู้ให้บริการ SaaS ผ่านบรอดแบนด์ของสำนักงานสาขาได้โดยตรงเช่นกัน

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.silver-peak.com/use-cases/service-provider-internet-local-breakout

Use Case 2: Hybrid WAN สำหรับ Service Provider

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคระบบ Cloud ทำให้ Service Provider ทั่วโลกเริ่มให้บริการ Hybrid WAN ที่ผสานการเชื่อมต่อ WAN หลายแบบ เช่น MPLS และบรอดแบนด์ไว้ด้วยกันภายในโซลูชันเดียว เพื่อเพิ่มความเสถียรในการเชื่อมต่อและมีลิงค์สำรองสำหรับรองรับเหตุภัยพิบัติ

SD-WAN ช่วยลดความซับซ้อนของ Hybrid WAN และทำให้การบริหารจัดการทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในการจำแนกประเภทของแอปพลิเคชัน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดทำนโยบายเพื่อระบุได้ว่า ทราฟฟิกประเภทใดให้วิ่งผ่าน MPLS และทราฟฟิกประเภทใดวิ่งผ่านบรอดแบนด์ ที่สำคัญคือเมื่อลิงค์ใดลิงค์หนึ่งมีปัญหา สามารถย้ายมาใช้งานอีกลิงค์หนึ่งได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้ลิงค์หนึ่งเสียก่อนจึงจะไปใช้งานอีกลิงค์หนึ่งได้ ช่วยให้สามารถใช้งานเครือข่าย WAN อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จุดเด่นสำคัญของการใช้ SD-WAN มาสนับสนุนเครือข่าย Hybrid WAN คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันและระบบ Cloud ผ่านเทคนิค WAN Optimization, SaaS Optimization และ QoS เพื่อให้มั่นใจว่า ถึงแม้จะเป็นการเชื่อมต่อบนเครือข่ายบรอดแบนด์แต่ก็สามารถให้บริการตาม SLA ได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงความง่ายในการตั้งค่าเริ่มต้นและบริหารจัดการ ช่วยให้ติดตั้งที่สำนักงานแต่ละสาขาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Stateful Firewall และการทำ Whitelist สำหรับเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.silver-peak.com/use-cases/service-provider-hybrid-wan-sd-wan

Use Case 3: เชื่อมต่อระบบ Cloud ผ่าน SD-WAN

Service Provider หลายรายให้บริการ Direct Connect สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่ายของลูกค้ากับบริการ IaaS และ SaaS ไม่ว่าจะเป็น Amazon Web Services, Microsoft Azure, Office 365, Saleforce หรือ Dropbox ผ่านลิงค์ MPLS ได้โดยตรง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสำนักงานหลายสาขา การเชื่อมต่อสำนักงานเหล่านั้นทั้งหมดกับระบบ Cloud ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความซับซ้อนในการออกแบบ การกินระยะเวลานานในการสร้าง Direct Connect กับผู้ให้บริการระบบ Cloud และค่าใช้จ่ายที่สูง

เทคโนโลยี SD-WAN จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ Service Provider ในการสร้าง Direct Connect ประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยสูงผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ โดยสามารถจำแนกประเภทของแอปพลิเคชัน SaaS และ IaaS แล้วเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับส่งทราฟฟิกไประบบ Cloud ได้โดยตรง สนับสนุนด้วยเทคโนโลยี WAN หลายรายการ เช่น WAN Optimization, SaaS Optimization และ Path Conditioning เพื่อเร่งความเร็วในการเข้าถึงระบบ Cloud ให้ถึงขีดสุด เทียบเท่ากับการเชื่อมต่อแบบ Direct Connect ผ่าน MPLS ที่สำคัญคือสำนักงานสาขาสามารถเชื่อมต่อกับ IaaS และ SaaS ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ ช่วยลดความซับซ้อนในการเชื่อมต่อ บริหารจัดการง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมหาศาล

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.silver-peak.com/use-cases/service-provider-cloud-connect

ผู้ที่สนใจศึกษาเทคโนโลยี SD-WAN หรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อ Westcon Solutions ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Silver Peak ในประเทศไทยได้ทันที

เกี่ยวกับ Westcon Solutions

Westcon Solutions เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Infrastructure, Security และ Video Conferencing ครอบคลุม 9 ประเทศ 14 เมืองภายในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค Westcon นำเสนอโซลูชันชั้นแนวหน้าและบริการระดับพรีเมี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าตั้งแต่ธุรกิจระดับ SME จนไปถึงองค์กรขนาดใหญ่ ในไทยเองก็มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนไทยพร้อมให้คำปรึกษาและบริการเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

เว็บไซต์ของ Westcon Solutions: http://westconsolutions.com/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย