18 เทคโนโลยี IoT สำหรับภาครัฐและธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศจีน

หากจะพูดถึงกรณีศึกษาด้านการนำ Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้งานในภาครัฐและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว จีนนั้นก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองไม่น้อย ด้วยความพร้อมทั้งด้านผู้ผลิตเทคโนโลยีทั้งในส่วนของระบบเครือข่ายและ Hardware ไปจนถึงนโยบายการส่งเสริมที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันเบื้องต้นครับว่าโซลูชันด้าน IoT นั้นต้องมีส่วนประกอบอะไร และจีนนำไปใช้ทำอะไรกันแล้วบ้าง ด้วยการหยิบยกเทคโนโลยีและกรณีศึกษาจาก Huawei มาเล่าสู่กันฟังครับ

 

องค์ประกอบของ IoT: Cloud, Network, Sensor และ Software

 

 

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ 18 กรณีศึกษา เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนครับว่าระบบ IoT ที่มีการใช้งานจริงกันอยู่ในทุกวันนี้ ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีเบื้องหลังอะไรบ้าง เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของระบบและเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้งานได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ครับ

1. Huawei OceanConnect IoT Platform

 

Credit: Huawei

 

เป็นบริการ Cloud IoT Platform ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ และทำการรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้นมาเพื่อทำการประมวลผล โดยบริการ Cloud เหล่านี้นอกจากจะสามารถจัดการข้อมูลจากเหล่า Sensor ได้แล้ว ก็ยังสามารถทำการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT เพื่อปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ หรืออัปเดต Firmware เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มเติมได้ อีกทั้งยังมี API เพื่อให้ระบบ Application อื่นๆ สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางด้าน IoT หรือส่งคำสั่งต่างๆ ไปยังอุปกรณ์ IoT ได้ด้วย

ระบบเหล่านี้มีความจำเป็นมากในระบบ IoT ใดๆ เนื่องจากจะเป็นศูนย์กลางที่ทำให้ระบบ IoT สามารถเริ่มต้นใช้งานและเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็วในแบบกระจายตัวตามสาขาหรือพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงประเด็นด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนตัวภายในองค์กรมากนัก อีกทั้งด้วยคุณสมบัติของความเป็น Cloud ก็ทำให้สามารถเพิ่มขยายพลังประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ด้วยอย่างต่อเนื่อง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanConnect IoT Platform ได้ที่ http://carrier.huawei.com/en/products/core-network/iot-platform-solution/iot-platform-solution

 

2. Huawei Smart Home Gateway

ระบบ Internet Gateway ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Internet ความเร็วสูง และผสานบริการต่างๆ ทางด้าน IoT เข้าไปด้วยในตัวเพื่อให้บ้านพักอาศัยหรือออฟฟิศขนาดเล็กกลายเป็น Smart Home หรือ Smart Office ได้อย่างง่ายดายด้วยความสามารถในการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT และข้อมูลที่ได้รับจาก Sensor เพื่อนำมาแสดงผล, โต้ตอบ หรือควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei Smart Home Gateway ได้ที่ http://carrier.huawei.com/en/products/fixed-network/sub-solution-access/smart-home

 

3. Huawei EC-IoT Gateway

เทคโนโลยี Open Edge Computing IoT Gateway ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Protocol และ Interface ต่างๆ ได้มากกว่า 17 รูปแบบ และบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ผ่านระบบ Cloud เพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนำไปใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ เข้ากับ Cloud โดยเฉพาะ พร้อมทั้งยังสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นได้ในตัว ทำให้เกิดการประมวลผลในพื้นที่หน้างานได้ทันที ไม่ต้องมีความล่าช้าจากการส่งข้อมูลขึ้น Cloud แต่อย่างใดสำหรับงานที่มีความสำคัญสูง เช่น การประมวลผลเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei EC-IoT Gateway ได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/technical/sdn/agile-iot

 

4. Huawei NB-IoT Network

 

Credit: Huawei

 

Huawei Narrow Band IoT (NB-IoT) Network นี้เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายภายใต้ 4.5G ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการรองรับอุปกรณ์ IoT ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างขวาง, รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมากได้พร้อมๆ กัน, ประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ IoT ที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนภาพรวม โดยถึงแม้ปริมาณข้อมูลที่รับส่งได้สำหรับแต่ละอุปกรณ์จะไม่มากนัก แต่ในภาพรวมก็สามารถตอบโจทย์การใช้งาน IoT ได้เป็นอย่างดี

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei NB-IoT Network ได้ที่ http://www.huawei.com/minisite/4-5g/en/connection-4-5-g.html

 

5. Huawei eLTE Private Wireless Networks

ระบบเครือข่าย eLTE แบบ Private จาก Huawei เพื่อรองรับ IoT Application ที่ต้องการ Bandwidth จำนวนมากโดยเฉพาะ และมีความสามารถที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ด้านการติดต่อสื่อสารได้ในรูปแบบที่ต้องการ เหมาะสำหรับระบบ Video Surveillance, Multimedia Conferencing, Image Processing และอื่นๆ

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei eLTE Private Wireless Networks ได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/business-needs/wireless-private-network

 

6. Huawei LiteOS

Huawei LiteOS นี้เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Lightweight สำหรับรองรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ โดยนอกจากจะใช้พื้นที่ติดตั้งขนาดเล็กแล้ว Huawei LiteOS ก็ยังถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน, เริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว, ตอบสนองคำสั่งต่างๆ ได้ภายในเวลาระดับ Microsecond ถึง Millisecond และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Sensor และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ภาคธุรกิจนำไปใช้ประยุกต์ต่อยอดพัฒนาเป็นอุปกรณ์ IoT ที่มีความสามารถตามที่ต้องการได้ด้วยตนเอง

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei LiteOS ได้ที่ http://www.huawei.com/minisite/liteos/en/

 

องค์ประกอบทั้ง 6 นี้เองที่ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างระบบ IoT ใดๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยในแต่ละโครงการด้าน IoT ก็อาจจะสามารถเลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยีบางส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการได้ เช่น หากเป็นระบบ Video Analytics ที่ต้องการ Sensor จับภาพและส่งภาพคุณภาพสูงขึ้นมาประมวลผล ก็อาจไม่ต้องใช้เครือข่าย NB-IoT แต่ใช้ eLTE ที่มี Bandwidth สูงกว่าได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี องค์ประกอบข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่ประเด็นทางด้านเทคนิคเท่านั้น ในการทำให้ระบบ IoT เกิดขึ้นมาได้จริงปัจจัยทางด้านธุรกิจและพันธมิตรในแง่มุมต่างๆ ก็ถือว่าสำคัญไม่น้อย ซึ่ง Huawei เองก็มีโครงการ Huawei IoT Solution Partnership Program เพื่อสนับสนุน Partner ทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจรายต่างๆ ให้มาร่วมมือกันสร้างระบบ IoT ที่ตอบโจทย์เฉพาะทาง, มาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกันเพื่อนำไปใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมต่างๆ และยังลงทุนอีก 1,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 35,000 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนให้เหล่า Developer ได้มีโอกาสมาเรียนรู้เทคโนโลยีในฝั่งนี้ด้วย

 

18 กรณีศึกษาการนำ IoT มาใช้งานจริงในภาครัฐและภาคธุรกิจจีน

เมื่อเข้าใจภาพรวมคร่าวๆ ของระบบ IoT แล้วว่ามีส่วนประกอบอะไรกันบ้าง ก็มาถึงส่วนของตัวอย่างเทคโนโลยี IoT ที่มีการประยุกต์ใช้งานจริงแล้วในประเทศจีนจากทาง Huawei ดังต่อไปนี้ครับ

 

1. โครงการ Smart Water

 

Credit: Huawei

 

โครงการระบบน้ำประปาอัจฉริยะที่ได้ใช้งานจริงในเมือง Shenzhen ที่ติดตั้ง Sensor เพื่อวัดปริมาณและคุณภาพของน้ำตามท่อส่งน้ำต่างๆ เพื่อตรวจหาการรั่วของน้ำในแต่ละจุดและทำการซ่อมแซมแก้ไขได้ทันท่วงที อีกทั้งยังมีการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ, ความดันน้ำ และอุณหภูมิเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ปรับปรุงระบบโครงสร้างการจ่ายน้ำประปา พร้อมทั้งมีระบบ Smart Meter คอยจัดเก็บข้อมูลการใช้งานตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ได้อย่างแม่นยำโดยอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีการติดตั้ง Smart Meter ไปแล้ว 50,000 จุดในปี 2017 และมีแผนจะขยายให้มีจำนวนมากถึง 500,000 จุดให้ได้ภายในปี 2020 http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-water.html

 

2. โครงการ Smart Gas

โครงการนี้คล้ายคลึงกับระบบ Smart Water แต่เปลี่ยนเป็นการติดตามการจ่ายก๊าซและการใช้งานก๊าซแทน และมีการเพิ่ม Mobile Application เพื่อให้ประชาชนแต่ละคนสามารถติดตามการใช้งานก๊าซของตนเองและทำการจ่ายเงินได้อย่างสะดวกและง่ายดาย และโครงการนี้ก็ถูกเริ่มต้นใช้งานที่เมือง Shenzhen กับ Beijing แล้วอย่างเป็นทางการด้วยความร่วมมือระหว่าง Huawei และ China Telecom http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-gas.html

 

3. โครงการ AMI Smart Meter Reading

 

Credit: Huawei

 

ปัญหาด้านการอ่าน Meter สำหรับบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ในภาครัฐนั้นดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องเผชิญ และจีนเองที่มีทั้งพื้นที่และประชากรจำนวนมากนั้นก็ยิ่งทำให้ปัญหานี้มีความคุ้มค่าที่จะแก้ไขมากขึ้น ทาง Huawei จึงได้พัฒนาระบบ Huawei PLC-IoT Advanced Metering Infrastructure (AMI) Smart Meter Reading เพื่อให้บริการแก่เหล่าประชาชนที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ Prepaid ให้สามารถซื้อไฟฟ้าได้ผ่านช่องทางต่างๆ และยังสามารถช่วยลดปัญหาการลักลอบใช้ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมายได้อีกด้วย http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-ami.html

 

4. โครงการ Smart Parking

 

Credit: Huawei

 

เป็นระบบ IoT สำหรับใช้ Sensor เพื่อตรวจสอบว่าที่จอดรถในช่องใดยังว่างอยู่บ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเฝ้าที่จอดรถ ซึ่งการนำ NB-IoT มาใช้นี้ก็ช่วยให้ระบบลักษณะนี้มีราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมากเพราะไม่ต้องม่ีค่าใช้จ่ายลงทุนด้านระบบเครือข่ายภายในบริเวณลานจอดรถเลย ทำให้ผู้ที่ต้องการจอดรถทราบได้ทันทีว่ามีที่จอดว่างในตำแหน่งใดบ้าง และเจ้าของที่จอดรถก็สามารถเก็บเงินค่าจอดรถได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-parking.html

 

5. โครงการ Smart Shared Bicycle Lock

 

Credit: Huawei

 

โครงการ IoT สำหรับรองรับธุรกิจ Bicycle Sharing ที่มีการใช้งานโดยผู้ใช้งานมากถึง 32 ล้านรายในแต่ละเดือนที่ประเทศจีน โดยระบบนี้จะนำ NB-IoT เข้ามาใช้แทน GPRS ที่เป็นเทคโนโลยีเดิม ทำให้ความเร็วในการใช้งานและการคืนจักรยานสูงขึ้น, ประหยัดแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อบนจักรยานมากขึ้น ทำให้ระบบโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการดูลรักษาลงได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ofo บริษัท Startup ชื่อดังนั้นก็เป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้นั่นเอง และมีความคาดหวังว่าปริมาณจักรยานในระบบจะสูงเกินกว่า 1 ล้านคัน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-bike-sharing.html

 

6. โครงการ Smart Street Lamps

เป็นโครงการที่ใช้เวลาพัฒนายาวนานกว่า 7 ปีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ท้องถนน และการประหยัดพลังงาน โดยการใช้ NB-IoT, EC-IoT และ RF เพื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไปยังระบบ Smart Lighting เหล่านี้จากระยะไกล ทำให้การบริหารจัดการระบบไฟและการดูแลรักษาทำได้อย่างง่ายดาย และครอบคลุมไปยังถนนหรือพื้นที่ห่างไกลได้ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-lighting.html

 

7. โครงการ Smart Smoke Detection

ทำการเชื่อมต่อระบบ Smoke Detection ภายในอาคารด้วยเครือข่าย NB-IoT แทน ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมถึงใช้พลังงานน้อยลงทำให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปติดตั้งในจุดต่างๆ ของอาคารได้ถี่ขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลการแจ้งเตือนไปตรวจสอบเทียบกับข้อมูลจากระบบ Smart Building หรือภาพจากกล้องวงจรปิดได้ทันที ทำให้การตรวจสอบและตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ทำได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-smoke-detector.html

 

8. โครงการ Smart Cold Chain

สำหรับการขนส่งสิ่งของหรือวัสดุพิเศษที่ต้องมีการรักษาอุณหภูมิในระดับที่กำหนด อย่างเช่นเลือดหรือยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาล โซลูชันนี้จะช่วยให้สามารถมั่นใจได้ในคุณภาพของการขนส่งว่าสภาพแวดล้อมจะเป็นไปตามที่กำหนดอยู่เสมอตลอดทั้งเส้นทางแบบ Real-time ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับเครือข่าย NB-IoT และเกิดการแจ้งเตือนได้ทันทีที่เกิดปัญหาใดๆ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-cold-chain.html

 

9. โครงการ Smart Building

ด้วยการใช้ EC-IoT Gateway จาก Huawei ที่มีโซลูชัน Niagara Framwork สำหรับทำหน้าที่เป็น IoT Middleware อยู่ภายใน ก็ทำให้การรวบรวมข้อมูลและควบคุมอุปกรณ์ IoT ที่หลากหลายภายในและภายนอกอาคารทั้ง HVAC Controller, Liminance Sensor, Energy Meter, Electrical Controller และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำมาประมวลผลทำ Automation ต่างๆ ทั้งในแง่มุมการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนในอาคาร, การประหยัดพลังงาน และการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-buildings.html

 

10. โครงการ Smart Locks

หนึ่งในเทคโนโลยีที่เรียกว่าแทบจะมีกันทุกโครงการคอนโดไปแล้วกับระบบ Smart Lock เพื่อใช้ล็อคห้องพักอาศัย โดยการนำ NB-IoT มาใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Smart Lock เข้ากับ Cloud นี้ก็จะช่วยให้อาคารไม่ต้องทำการเดินสายหรือวางระบบเครือข่ายไร้สายมากอย่างแต่ก่อน ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบอาคารโดยรวม อีกทั้งด้วยการประหยัดพลังงานก็ยังทำให้อุปกรณ์ Smart Lock ที่ใช้ถ่าน AA 4 ก้อนนั้นสามารถปลดล็อคประตูได้มากถึง 8,000 ครั้งเลยทีเดียว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-lock.html

 

11. โครงการ eLTE Port AGV Communications

 

Credit: Huawei

 

การใช้ Automated Guided Vehicle (AGV) หรือที่เรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่ารถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติในท่าเรือเพื่อขนส่ง Containter ที่ลำเลียงมานั้นถือเป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติสากลไปแล้ว และก้าวถัดไปของเทคโนโลยีนี้คือการสร้าง Automated Port หรือท่าเรือที่ลำเลียงสินค้าได้โดยอัตโนมัติด้วยการควบคุม AGV ผ่านอัลกอริธึมเพื่อให้ทำการลำเลียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบ eLTE ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกันด้วย Latency ที่ต่ำจึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับโครงการนี้ โดย Huawei ได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงท่าเรือ Yangshan Port ใน Shanghai เพื่อรองรับการควบคุม AGV 130 คัน และ Container Crane 26 ชุดได้พร้อมๆ กัน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/elte-port-agv-communications.html

 

12. โครงการ Elevators Connection

จากการสำรวจเมื่อปี 2015 ทั่วโลกนั้นมีการใช้งานลิฟต์จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 15 ล้านชุด การบริหารจัดการและการดูแลรักษาอุปกรณ์เหล่านี้จึงกลายเป็นงานที่มีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากลิฟต์นั้นก็อาจส่งผลเสียหายต่อทั้งทรัพย์สินหรือชีวิตได้ ในโครงการนี้จึงได้มีการผสานระบบ Software Defined Networking (SDN) เพื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่กระจายอยู่ตามอาคารจำนวนมากเข้าด้วยกัน และปรับปรุง Security ทั้งในส่วนของระบบปฏิบัติการ, ชิป, การเชื่อมต่อผ่าน VPN และ Platform เอาไว้เป็นอย่างดี พร้อมมีระบบ Edge Computing สำหรับเอาไว้ตรวจสอบ วิเคราะห์ และแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุผิดปกติเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที รวมถึงมีระบบ AI และ Big Data บน Cloud เพื่อช่วยตรวจสอบปัญหาต่างๆ และทำ Preventive Maintenance ได้จากข้อมูลที่มีอยู่ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/elevators-connection.html

 

13. โครงการ eLTE Smart Factory

 

Credit: Huawei

 

การปรับปรุงโรงงานเพื่อก้าวเข้าสู่การทำ Manufaturing 4.0 นั้นถือเป็นเป้าหมายที่เหล่าธุรกิจการผลิตและโรงงานต้องเร่งเดินไปให้ถึง และเทคโนโลยี Huawei eLTE ที่รองรับทั้งการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Broadband และ Narrowband พร้อมรองรับการทำ Multi-service Wireless Network ได้นี้ก็ช่วยให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่หลากหลายภายในโรงงานสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว พร้อมให้ควบคุมและบริหารจัดการได้จากศูนย์กลางทั้งหมด รองรับทั้งการควบคุมเครื่องจักร, หุ่นยนต์, AGV, กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์ IoT ได้หลากหลายในหนึ่งเดียว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-factor-elte.html

 

14. โครงการ eLTE Gas Detecion

 

Credit: Huawei

 

โครงการนี้ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับธุรกิจปิโตรเคมีโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซต่างๆ จากท่อส่งที่ซับซ้อนภายในโรงงานและโรงกลั่นขนาดใหญ่ด้วยการเชื่อมต่อ IoT Sensor เข้ากับระบบเครือข่าย eLTE ที่ครอบคลุมรัศมีได้ 2-6 กิโลเมตร ทำให้สามารถตรวจสอบท่อส่งและเครื่องจักรทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน ติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ใช้งานได้ทั้งในเชิง Production Management, Device Management, HSE Management ไปจนถึง Energy Management ในธุรกิจ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-gas-detector-elte.html

 

15. โครงการ Smart White Goods

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่บรรดาผู้ผลิตต่างต้องการปรับปรุงให้กลายเป็นสินค้าที่มีความชาญฉลาดในตัว โดยสามารถส่งข้อมูลการใช้งานและปัญหาต่างๆ กลับมายังผู้ผลิตเพื่อให้สามารถให้บริการทำการดูแลรักษาหรือเปลี่ยนสินค้าก่อนชำรุดได้นั้น ที่ผ่านมามักอาศัยระบบเครือข่ายแบบ Wi-Fi ซึ่งนอกจากจะไม่ครอบคลุมอาคารบ้านเรือนแล้ว ก็ยังมีประเด็นปัญหาด้านความปลอดภัย ทาง Huawei จึงได้นำเสนอระบบเครือข่าย NB-IoT เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้ให้สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้ให้บริการได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทาง Huawei ก็ได้จับมือกับ Haier และ Little Swan เพื่อทดสอบการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรือนกว่า 50,000 แล้ว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-appliances.html

 

16. โครงการ Smart Home

Huawei Smart Home Solution นี้จะช่วยให้เหล่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สามารถนำเสนอระบบบ้านอัจฉริยะที่มีระบบเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยสูง พร้อมให้สามารถบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้อย่างง่ายดายผ่านเทคโนโลยี Network Functions Virtualization (NFV) และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างหลากหลายด้วย Partner มากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก พร้อมระบบ Smart Home Gateway สำหรับทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสารในอาคารบ้านเรือนแต่ละหลังได้ทันที http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smarthome.html

 

17. โครงการ Connected Vehicle

 

Credit: Huawei

 

ระบบ Connected Vehicle ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหญ่ที่จะมาพลิกโฉมธุรกิจยานยนต์ทั่วโลก ซึ่ง Huawei นั้นก็มีบริการต่างๆ พร้อมให้เหล่าธุรกิจยานยนต์นำไปเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเสริมระบบ Mobility Service, การเพิ่มระบบซ่อมบำรุงอัจฉริยะ, การทำ Fleet Management, การทำระบบเช่ารถยนต์, การเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจประกัน, การพัฒนาระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่, การเสริมระบบ AI ให้กับยานยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการจับมือกับทั้ง FAW Qiming จากจีน และ Groupe PSA จากฝรั่งเศสเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันมาแล้ว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/vehicle-networking.html

 

18. โครงการ Connected Cow

 

Credit: Huawei

 

ปิดท้ายบทความด้วยโครงการปศุสัตว์อัจฉริยะที่ใช้ NB-IoT ที่มีระยะไกลถึง 5 กิโลเมตรเชื่อมต่อเข้ากับ Sensor ที่ติดเอาไว้บนวัว พร้อมอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานถึง 5 ปี สำหรับรวบรวมข้อมูลสุขภาพของวัวแต่ละตัว ทำให้สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ดีขึ้นด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้ทราบได้ทันท่วงทีเมื่อวัวมีอาการตกมัน และช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตนมของโคนมได้มากขึ้นจากเดิมถึง 20% http://www.huawei.com/minisite/iot/en/connected-cows.html

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

 

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน IoT และ 5G Networking จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่
Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/huaweiENT
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

กอบกู้สถานการณ์ยามฉุกเฉิน รับมือกับ Ransomware ด้วย IBM Cyber Vault

Ransomware ยังคงเป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายให้แก่องค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายองค์กรอาจได้มีโอกาสสัมผัสพิษส่งของความเสียหายที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ทั้งนี้ทุกท่านย่อมทราบกันดีว่าโซลูชันในการกู้คืนข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุดต่อการแก้ไขสถานการณ์ แต่คำถามคือท่านจะทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลที่กู้คืนกลับมานั้นปลอดภัยดีหรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกโจมตีซ้ำในอนาคต จะใช้วิธีการใดเพื่อตรวจสอบและในช่วงเวลาคับขันท่านเองมีเวลามากแค่ไหน ซึ่ง IBM Cyber Vault ได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความโกลาหลดังกล่าว โดยท่านจะได้รู้จักกับโซลูชันนี้เพิ่มขึ้นในบทความนี้

ซิสโก้เปิดตัวนวัตกรรมที่กำหนดมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรม (Industry-defining Innovations) สำหรับโลกที่เชื่อมต่ออย่างปลอดภัยมากขึ้น และครอบคลุมอย่างทั่วถึง ที่งาน Cisco Live US 2023 [Guest Post]

CISCO LIVE, ลาสเวกัส, 7 มิถุนายน 2566 —วันนี้ ซิสโก้ (CSCO) ผู้นำด้านระบบเครือข่ายและความปลอดภัยระดับองค์กรได้เปิดตัวเทคโนโลยีและความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย และแอปพลิเคชัน พร้อมกันนี้ ซิสโก้ได้เผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการนำเสนอประสบการณ์แบบครบวงจรที่เรียบง่ายมากขึ้นสำหรับลูกค้าและคู่ค้า …