บทความโดย นายนครินทร์ เทียนประทีป ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
ดูเหมือนหลายองค์กรได้ก้าวข้ามการปรับเปลี่ยน “อินฟราสตัคเจอร์ด้านไอที” สู่ยุคดิจิทัลให้มีความยืดหยุ่นต่อย่อและขยายระบบมากขึ้น หากก้าวถัดไปที่สำคัญ คือ “การบริหารจัดการคลาวด์” ท่ามกลางความหลากหลายทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ทูคลาวด์ ความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนการใช้งานเมื่อขึ้นสู่คลาวด์แล้วสามารถย้ายกลับลงมาสู่ระบบไอทีอื่นในองค์กรให้เหมาะสมตามภาระงานหรือค่าใช้จ่าย เพื่อให้การบริหารต้นทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดวางแอปพลิเคชันไว้ให้เหมาะเจาะกับการใช้งานคลาวด์หลายประเภท และสุดท้าย คือ “การจัดการข้อมูล” ที่มุ่งให้เกิดประสิทธิผลทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่แมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือเอไอเพื่อหนุนเสริมธุรกิจเดิม หรือสร้างเสริมธุรกิจใหม่ การจัดวางข้อมูลไว้อย่างถูกที่ถูกทาง รวมทั้งการปกป้องข้อมูลจากแรนซั่มแวร์และภัยคุกคามต่าง ๆ
การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลยังส่งผลให้แผนกไอทีต้องทำงานร่วมกับส่วนงานธุรกิจมากขึ้น แต่ทว่าองค์กรหลายแห่ง ณ ปัจจุบันยังคงปวดหัวกับการบริหารจัดการอินฟราสตรัคเจอร์ไอทีที่หลากหลาย การทำงานของอุปกรณ์ปลายทางที่ไม่ใช่แบบเดิม ทำให้การขึ้นสู่คลาวด์สำหรับบางองค์กรกลับไม่ใช่โซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจเท่าที่ควร ซึ่งการ์ทเนอร์ได้เผยถึงบริบทการจัดการไอทีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับกระบวนการดำเนินธุรกิจในอนาคตไว้ดังนี้
อินฟราฯ ต้องทันการณ์ บริการธุรกิจใด ๆ ที่ต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องควรพัฒนาให้เสร็จสิ้นภายใน 12-18 เดือน บริการประเภทใดสมควรขึ้นคลาวด์ หรือหากขึ้นคลาวด์ไม่ได้ต้องไปต่อแบบไหน เพราะความล่าช้าของโปรเจกต์ด้านไอทีล้วนส่งผลต่อกระบวนการทำงานและการดำเนินธุรกิจ
ดันบาร์สูงด้านดิจิทัล ซึ่งต้องกำกับดูแลให้ครบทุกส่วนทั้งการพัฒนาที่เป็นและไม่เป็นดิจิทัลเนทีฟ ทำอย่างไรจึงมีความคล่องตัว รวดเร็ว และคุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการคำนึงถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้รับเป็นสำคัญ
จัดการจากจุดเดียว เป็นคำตอบที่ใช่สำหรับทุกองค์กรที่มีทูลการใช้งานมาก ๆ ทำอย่างไรจึงจะรวมการบริหารจัดการเครื่องมือเหล่านั้นได้อย่างเป็นอัตโนมัติ ควบคุมได้สะดวกและคล่องตัวจากจุดเดียว
ตามหา Data First ยุคที่ข้อมูลมีความหลากหลายและมากมายจนไม่รู้ว่าข้อมูลใดที่เป็นประโยชน์ในการเก็บไว้ในองค์กร ข้อมูลส่วนไหนควรลบทิ้ง องค์กรจึงควรมีกระบวนการคัดกรองว่า ข้อมูลใดคือข้อมูลสำคัญอันดับแรกที่เป็นประโยชน์ หรือเหมาะกับการนำมาประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับการทำงานแต่ละงานหรือการดำเนินธุรกิจได้ถูกต้องแม่นยำ
คิดเผื่อเรื่องธุรกิจ หมดยุคที่ฝ่ายงานไอทีจะมองแค่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว กระบวนคิดทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานด้านไอทีต้องนำมาประกอบการคัดสรรเทคโนโลยีให้เหมาะสม ไม่ใช่แค่เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน แต่ยังอยู่ในบริบทของการใช้งานพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจอีกด้วย
ครบทุกการจัดการแบบเอดจ์ทูคลาวด์
เอชพีอี กล่าวว่า การใช้งานคลาวด์แบบผสมผสานอย่างไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ทูคลาวด์ ดูจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การจัดวางแอปพลิเคชันและควบคุมข้อมูลได้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะการรองรับการเติบโตของข้อมูลบนเอดจ์ ซึ่งไอดีซีได้เคยทำนายว่า ปี 2568 ข้อมูลจะเกิดขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีเอดจ์มากถึง 75% และเป็นไปได้ว่าจะเกิดนอกดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เนื่องจากการใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์โมไบล์ที่มากขึ้น ทำให้ต้องมีการกระจายจุดประมวลผลและรับ-ส่งข้อมูลไปใกล้ผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด
ด้วยเทคโนโลยี “Edge to Cloud as a Service” จาก HPE GreenLake ที่พร้อมเข้ามาช่วยลูกค้าในการจัดวางแอปพลิเคชันและควบคุมข้อมูล รวมถึงส่งต่อแนวคิดการใส่เทคโนโลยีใหม่เข้าไปแทนที่ของเดิมเท่าที่ต้องการใช้งานโดยเพิ่มเติมได้ใหม่ในภายหลัง เพื่อเพิ่มทางเลือกในการใช้งานไอทีได้หลากหลายและจ่ายตามการใช้งานจริง
นอกจากนี้ การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลแบบ “Data Modernization” ที่ช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ ผ่านอุปกรณ์จัดเก็บหรือสตอเรจที่รองรับปริมาณงานและข้อมูลในปริมาณมาก สามารถปรับให้รองรับการใช้งานแบบเวอร์ช่วลไลเซชัน คอนเทนเนอร์ ต่อยอดสู่การทำแมชชีนเลิร์นนิ่ง เอไอ และการวิเคราะห์ข้อมูล การปกป้องข้อมูลผ่านทูลต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในหน้าจอเดียวกัน เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการสำรองและกู้คืนข้อมูล รวมถึงการแจ้งเตือนภัยคุกคามหรือแรนซั่มแวร์ เป็นต้น
การเพิ่มขีดความสามารถให้กับ “ระบบประมวลผล” เพื่อตอบโจทย์การใช้งานคลาวด์ และไฮบริด ด้วยคุณสมบัติสำคัญ 3 เรื่อง คือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการจัดการคลาวด์ การฝังระบบความปลอดภัยไว้เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่และป้องกันการโจมตี รวมถึงรองรับความหลากหลายของการใช้งานแอปพลิเคชันแลเวิร์คโหลดต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการทำงานของลูกค้าได้ง่ายขึ้น
การจัดการ “เครือข่าย” บนแนวคิดซีโร่ทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยการฝังระบบความปลอดภัยในทุกจุด เพราะตราบใดที่บ้านกลายเป็นสาขาขององค์กร และการทำงานแบบไฮบริดเวิร์คเพลสยังคงดำเนินอยู่ ประสบการณ์การใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลอย่างปลอดภัยจึงสำคัญ HPE Aruba เป็นตัวอย่างหนึ่งของการบริหารเครือข่ายที่เน้นการจัดการความปลอดภัยทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ เอดจ์ และคลาวด์ให้เป็นซีโร่ทรัสต์ในทุกการเชื่อมต่อ และสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียว
การเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลอย่างต่อเนื่องในแบบ “Continuous Data Protection (CDP)” จากดาต้าเซ็นเตอร์ไปยังศูนย์สำรองข้อมูล ซึ่งก้าวข้ามข้อจำกัดการสำรองข้อมูลแบบเดิมที่ต้องใช้สตอเรจยี่ห้อเดียวกัน เฟิร์มแวร์ขนิดเดียวกัน มาเป็นการทำงานด้วยซอฟต์แวร์แบบ 100% ผ่านวีเอ็มแวร์ หรือ เอ็มเอส ไฮเปอร์วี โดยไม่ต้องสนใจว่าสตอเรจต้นทางและปลายทางเป็นอย่างไร ไม่ต้องมีเอเจนต์ หรือทำสแนปชอตแต่อย่างใด จึงไม่เกิดผลกระทบขณะทำการสำรองข้อมูล เช่น โปรดักส์ Zerto ถือเป็นตัวอย่างการสำรองข้อมูลที่เลือกจุดเวลาการกู้คืนได้ตามต้องการ ด้วยความเร็วในการกู้คืนเท่ากับการเปิดใช้งานวินโดว์ การสำรองข้อมูลที่แยกย่อยแต่ละวีเอ็ม พร้อมจัดกลุ่มวีเอ็มที่อยู่ภายใต้แอปพลิเคชันเดียวกันเพื่อการกู้คืนข้อมูลกลับมาในวินาทีเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วยลดปัญหาการไม่สามารถสำรองทุกวีเอ็มในทุกแอปพลิเคชันที่เกิดจากการใช้งานต่างเวลากันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย