Black Hat Asia 2023

อัปเดตของใหม่ในงาน AWS re: Invent 2019 และโอกาสตลาดคลาวด์ประเทศไทย

แม้ว่างานใหญ่ของ AWS จะผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว แต่วันนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังงานจาก AWS Thailand ซึ่งสรุปถึงฟีเจอร์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่เสริมมุมมองความเป็นไปได้ควบคู่ไปกับโอกาสของตลาดคลาวด์สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ

Dean Samuels, หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคอาเซียน อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส

เริ่มแรกเลยคุณ Dean Samuels, หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคอาเซียน อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ได้มาเล่าให้เราฟังถึงตลาดภาพรวมของคลาวด์ โดยเผยว่า “ปัจจุบันคำถามจากลูกค้าเปลี่ยนไปจากแต่ก่อนที่เคยถามว่าคลาวด์คืออะไร กลายเป็นว่าเราจะย้ายได้เร็วแค่ไหนและอย่างไร” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในด้านการตระหนักรู้ว่าภาคธุรกิจได้มีความเข้าใจคลาวด์มากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยเองถูกจัดอันดับในความพร้อมของการเปิดรับเทคโนโลยีคลาวด์อยู่ในลำดับที่ 19 ทั้งนี้พิจารณาจากหลายมุมมอง เช่น การเปิดรับทางกฏหมาย ความพร้อมของไอที โอกาสทางการค้า ความมั่นคงปลอดภัย และอื่นๆ

ในงาน AWS re:Invent ได้มีการประกาศเรื่องใหม่ๆ ออกมามากกว่า 70 รายการ อย่างไรก็ตามจะสามารถแบ่งออกเป็นธีมหลักได้ 4 หัวข้อดังนี้

1.) Breath & Depth

AWS ไม่ได้เพียงแค่ออกฟีเจอร์มามากมาย หากแต่ยังคำนึงถึงเรื่องของการตอบโจทย์เฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรมด้วย โดยแม้ว่าลูกค้าจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็อาจจะมีความต้องการแตกต่างกันได้ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าว่า AWS Compute จะสามารถรองรับได้ทุกแพลตฟอร์ม

  • รองรับ Containerized ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถย้าย Workload ไปรันที่ไหนก็ได้
  • พัฒนาส่วน Serverless ซึ่งลูกค้าไม่ต้องสนใจว่าเครื่องจะรันอยู่ที่ไหน ขอเพียงเรียกแล้วทำงานได้และจ่ายตามจริงก็พอ
  • มีทางเลือกทางการใช้งานมากกว่าแค่ x86 (Intel, AMD) ซึ่ง AWS ก็มี ARM (รุ่นใหม่ Gravition2) และ Quantum Computing ออกมาแล้ว

นอกจากนี้ยังมีประกาศเรื่องอื่นๆ เช่น Instance M6g, R6g, C6g, Inf1 และ Nitro Enclave ในขณะที่ส่วนของ Networking เช่น Transit Gateway Multicast, Site to Site VPN, Gateway Inter-Region Peering, Gateway Network Manager และการ Integrate กับ SD-WAN Vendor เจ้าอื่น

2.) Data

ในกลุ่มของข้อมูลเรารู้ดีอยู่แล้วว่าในอนาคตปริมาณของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นมหาศาลและไม่สามารถตอบโจทย์ได้ด้วยฐานข้อมูลแบบเดิม ซึ่ง AWS ก็ได้ออกบริการใหม่ออกมารองรับ เช่น Data Exchange (บริการช่วยย้ายข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม) , Managed Cassandra Service รวมถึงได้มีบริการอย่าง Graph Database และ Non-relational Database ไว้มานานแล้ว

3.) AI/ ML

สำหรับในหมวดนี้ความตั้งใจของ AWS ก็คือการพยายามพลักดันให้เทคโนโลยีนี้เข้าถึงในทุกกลุ่มผู้ใช้งาน โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือ User ทั่วไปที่ไม่ได้จบมาเฉพาะทางให้สามารถนำเครื่องมือจาก AWS ไปใช้งาน ML ได้ ซึ่งการประกาศใหม่ที่น่าสนใจมีดังนี้

  • AWS Fraud Detector – โดยการใช้ ML ไปตรวจการปลอมแปลง เช่น สำหรับในภาคธุรกิจการเงินอาจนำบริการนี้ไปใช้เพื่อตรวจจับการปลอมแปลงบัตรเครดิต 
  • Contact Lens Amazon Connected – คือการใช้ ML เพื่อจัดการสายลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาเพื่อลดงานของทีมงาน Contact Center หรือเพื่อจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าอย่างรวดเร็วทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Amazon CodeGuru – การใช้ ML เพื่อตรวจสอบว่าโค้ดที่เราเขียนขึ้นมานั้นเป็นไปตาม Baseline หรือไม่ มีความมั่นคงปลอดภัยพอหรือยัง จากเดิมที่นักพัฒนาต้องมาไล่ดูเองซึ่งจะช่วยลดเวลาในกระบวนการแบบเดิมๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • SageMaker Studio IDE – เครื่องมือช่วยพัฒนาโมเดลด้าน ML ได้อย่างครบวงจร โดยภายในได้รวบรวมเครื่องมือที่จำเป็นให้ผู้สนใจนำไปใช้ได้ง่ายๆ ผ่าน Web-based (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่)

4.) Breaking Through Barrier

AWS ได้วางเป้าหมายแล้วว่าจะทำลายข้อจำกัดในการให้บริการ โดยจะไม่จำกัดบริการเพียงแค่ในประเทศที่เปิด Region ขึ้นแต่จะปรับกลยุทธ์ใหม่เพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฏหมาย ทางประสิทธิภาพการใช้งาน และปรับตัวให้สอดรับกับเทคโนโลยีทางการเชื่อมต่ออย่าง 5G

  • Outpost – สำหรับบริการนี้ก็คือนำตู้ฮาร์ดแวร์ที่ลง Platform ของ AWS มาตั้งไว้ที่ลูกค้า โดยทาง AWS จะเป็นคนจัดการดูแลให้ ซึ่งหมายความลูกค้าจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ที่ไซต์ของตัวเองได้ และยังได้ใช้แพลตฟอร์มระดับโลกเดียวกับที่ใช้งานปกติ 
  • Local Zone – ไอเดียก็คือการนำฮาร์ดแวร์ไปตั้งไว้ที่ Managed-Service Provider (MSP) หรือพาร์ทเนอร์ โดย AWS จะเป็นคนกำกับมาตรฐานของตัวเองและคอยช่วยเหลือพาร์ทเนอร์เพื่อให้บริการลูกค้าด้วย 
  • Wavelenght – เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการสื่อสารล้ำสมัยอย่าง 5G ดังนั้น AWS จึงสร้างความร่วมมือกับผู้ให้บริการบริษัทด้านโทรคมนาคม เช่น ในอเมริกาก็มี Vadafone เป็นต้น เพื่อจัดตั้งฮาร์ดแวร์รับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ปลายทาง (เหมือนว่าวางเซิร์ฟเวอร์ไว้ใกล้กลับจุดรับ 5G ลดดีเลย์)
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าบริการทั้ง 3 ก็คือไอเดียการลด Hop เพื่อลด Latency ในการวิ่งออกต่างประเทศ รวมถึงปัญหากฏหมายการเก็บข้อมูลนอกประเทศหรือความกังวลเรื่องความลับทางการค้าของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะไทยที่ไม่มีการตั้ง Regions ซึ่ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขยายขวามให้เราเห็นถึงแนวโน้มที่ว่า Outpost อาจจะใช้งานจริงได้ที่ไทยในอนาคตอันใกล้เนื่องจากมีความต้องการจากภาคธุรกิจแล้ว

นอกจากการอัปเดตเทคโนโลยีแล้ว ดร.ชวพล ยังได้ชี้ให้เห็นว่าจากผลประกอบการของ AWS ที่เติบโตขึ้นทุกปี หมายความว่าไทยเราเองก็ต้องมีการพัฒนาแรงงานฝีมือเพื่อรับกับเทคโนโลยีคลาวด์ด้วยเช่นกัน และตลอด 5 ปีที่ผ่านมาที่ AWS Thailand ถูกขึ้นมา ทางทีมงานก็ได้พยายามพลักดันธุรกิจในทุกภาคส่วนทำให้ปัจจุบันมีลูกค้ารายใหญ่จำนวนมากใช้บริการของ AWS แม้กระทั่งส่วนของ Startup เองAWS Thailand ก็พยายามจัดหาตลาดและเวทีพิสูจน์ฝีมืออยู่เรื่อยมา ซึ่งวันนี้ความพยายามทั้งหมดก็เริ่มส่งผลลัพธ์อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งหมดนี้ก็เพื่อช่วยให้ธุรกิจของไทยสามารถนำเทคโนโลยีระดับโลกเข้ามาใช้แก้ปัญหาให้เราสามารถแข่งขันได้อย่างทัดเทียมโลกด้วย


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

MFEC: พลิกโฉมการจัดการ Infrastructure ตอบโจทย์ Modernize Application ด้วย VMware Tanzu

แนวคิดการยกเครื่องแอปพลิเคชันเดิมสู่บริบทของการทำงานสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า Modernization นั้นเริ่มกลายเป็นนโยบายหลักขององค์กร เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี Container นั้นได้สนับสนุนให้แนวคิดนี้ทำได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถนำพลังจากเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรกลับกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่ง VMware Tanzu คือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายของการทำ Modernization ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ยังรักษาระบบการทำงานแบบเดิม …

บริหารจัดการ Multi-Cloud ครบวงจรอย่างมั่นใจ ด้วย VMware Aria จาก Fujitsu

แม้ Multi-Cloud จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรแล้วในทุกวันนี้ แต่การบริหารจัดการ Multi-Cloud ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างรอบด้านนั้นก็ยังคงเป็นความท้าทายของผู้บริหารฝ่าย IT ในหลายองค์กร เพราะ Cloud แต่ละระบบนั้นต่างก็มีความแตกต่างในเชิงรายละเอียด และยากต่อการรวบรวมข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์แบบรวมศูนย์