CDIC 2023

Check Point เผย 10 อันดับมัลแวร์อันตรายที่โจมตีผู้ใช้มากที่สุด

check_point_logo

Check Point ผู้ให้บริการโซลูชันความมั่นคงปลอดภัยยักษ์ใหญ่ของโลก ออกรายงาน Threat Index ประจำเดือนพฤษภาคม ระบุจำนวนตระกูลมัลแวร์ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วโลกตอนนี้เพิ่มขึ้น 15% จากเดือนเมษายน นอกจากนี้จัดอันดับ 10 มัลแวร์ที่ก่อเหตุโจมตีมากที่สุด ดังนี้

  1. ↔ Conficker – เวิร์มที่ช่วยให้ปฏิบัติงานจากระยะไกล ดาวน์โหลดมัลแวร์ และขโมยบัญชี โดยยกเลิกการทำงานของบริการความมั่นคงปลอดภัยของ Windows เครื่องที่ติดมัลแวร์จะถูกควบคุมโดย Botnet ซึ่งจะติดต่อกับ C&C Server เพื่อรอรับคำสั่ง
  2. ↑ Tinba – หรืออีกชื่อคือ Tiny Banker และ Zusy เป็นโทรจันสำหรับขโมยข้อมูลบัญชีธนาคารของเหยื่อผ่านทาง Web Injection โดยจะเริ่มปฏิบัติการเมื่อผู้ใช้พยายามที่จะล็อคอินเข้าเว็บไซต์ของธนาคาร
  3. ↓ Sality – ไวรัสบนระบบ Windows ที่ช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถปฏิบัติงานจากระยะไกลและดาวน์โหลดมัลแวร์อื่นมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ด้วยความที่เป็นมัลแวร์ที่มีความซับซ้อนและปรับตัวได้ง่าย จึงทำให้ Sality เป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่อันตรายที่สุดในปัจจุบัน
  4. ↑ JBossjmx – เวิร์มที่พุ่งเป้าไปยังระบบที่ใช้ JBoss Application Server เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ โดยอาศัยการเจาะระบบผ่าน JMX Console (CVE-2010-0738) มัลแวร์นี้จะทำการสร้างเพจ JSP ปลอมขึ้นมาบนระบบซึ่งทำหน้าที่รันโค้ดตามความต้องการของแฮ็คเกอร์ รวมถึงมีการสร้าง Backdoor สำหรับรับคำสั่งจาก Remote IRC Server
  5. ↑ Hummingbad – มัลแวร์บน Android สำหรับสร้าง Rootkit บนอุปกรณ์ ติดตั้งแอพพลิเคชันปลอม และดำเนินพฤติกรรมประสงค์ร้ายต่างๆ เช่น ติดตั้ง Keylogger, ขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้ และบายพาส Email Container ที่เข้ารหัสขององค์กร
  6. ↓ Zeroaccess – เวิร์มที่พุ่งเป้าระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถปฏิบัติการจากระยะไกลและดาวน์โหลดมัลแวร์มาติดตั้งได้ มัลแวร์นี้ใช้ประโยชน์จากโปรโตคอล P2P เพื่อดาวน์โหลดและอัพเดทตัวมัลแวร์จาก Remote
  7. ↑ Zeus – โทรจันบนแพลทฟอร์ม Windows มักถูกใช้เพื่อขโมยข้อมูลธนาคารของเหยื่อผ่านทาง Man-in-the-Browser Keystroke Logging และ Form Grabbing
  8. ↓ Angler EK – Exploit Kit ที่มีชื่อเสียงจากการโจมตีช่องโหว่ Zero-day หน้า Landing Page ของมัลแวร์ ประกอบไปด้วย Obfuscated Javascript ที่มีความซับซ้อนสูง และสามารถตรวจสอบ Plug-in เช่น Flash หรือแอพพลิเคชันอื่นๆ ว่ามีช่องโหว่สามารถเจาะเข้าไปได้หรือไม่ นอกจากนี้ Angler ยังสามารถหลบหลีกการตรวจสอบของ Sandbox ได้อีกด้วย
  9. ↓ Virut – Botnet ที่อาชญากรไซเบอร์มักใช้เพื่อโจมตี DDoS, Spam, Fraud, Data Theft และ Pay-per-install แพร่กระจายผ่าน USB หรือมีเดียอื่นๆ ในรูปของไฟล์ Executable และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีการแพร่กระจายผ่านเว็บไซต์ที่ติดมัลแวร์อีกด้วย
  10. ↓ Cutwail – Botnet ที่นิยมใช้เพื่อส่งอีเมล Spam และโจมตีแบบ DDoS เมื่อมัลแวร์นี้ถูกติดตั้งลงบนเครื่อง มันจะเชื่อมต่อกลับไปยัง C&C Server เพื่อรับคำสั่งว่าจะต้องส่งอีเมล Spam ไปที่ใด และหลังจากที่ปฏิบัติการเสร็จสิ้น Cutwail จะส่งรายงานเกี่ยวกับสถิติต่างๆ กลับไปยังแฮ็คเกอร์

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Conficker เป็นมัลแวร์ที่ก่อเหตุบ่อยที่สุด คิดเป็น 14% ของการโจมตีทั้งหมดที่ตรวจพบ รองลงมาคือ Tinba และ Sality คิดเป็นอย่างละ 9% มัลแวร์ทั้ง 10 ตระกูลที่กล่าวไปนี้ ครอบคลุมการโจมตีทั้งหมดถึง 60% เลยทีเดียว

แผนภาพแสดง World Cyber Threat Map ประจำเดือนพฤษภาคม 2016

check_point_cyber_threat_map_may_16

สีบนแผนที่แสดงดัชนีความเสี่ยง คือ สีเขียว – ความเสี่ยงต่ำ, สีเบจ – ความเสี่ยงปานกลาง, สีแดง – ความเสี่ยงสูง และสีขาว – ข้อมูลไม่เพียงพอ

ที่มา: http://blog.checkpoint.com/2016/06/21/top-10-most-wanted-malware/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ยกระดับบริการขององค์กรอย่างมั่นใจด้วย HPE Aruba Networking SASE โดย ยิบอินซอย

HPE Aruba Networking นำเสนอ Unified SASE ที่รวมเอาความสามารถของเทคโนโลยี SD-WAN และ SSE เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความง่ายดายในการบริหารจัดการ SD-WAN, Routing, WAN Optimization ตลอดจนการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยได้แบบ end-to-end เพื่อให้การทำงานของแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มั่นคงปลอดภัย ลดต้นทุน และพร้อมให้บริการเสมอ

Microsoft แพตช์แก้ไขช่องโหว่เร่งด่วน 2 รายการให้ Edge, Teams และ Skype

Microsoft ได้แก้ไขช่องโหว่ Heap Buffer Overflow 2 รายการอย่างเร่งด่วนในไลบรารีที่ผลิตภัณฑ์ของตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีรายงานพบว่าช่องโหว่ได้ถูกนำไปใช้โจมตีจริงแล้ว