ส่องสถิติสำรวจคนไทยยุคดิจิทัลในรายงาน Digital Lives Decoded จาก Telenor Asia เผย 5 แรงขับเคลื่อนยกระดับชีวิตดิจิทัล

Telenor Asia เผยผลรายงาน Digital Lives Decoded ชี้ คนไทยร้อยละ 86 ใช้เวลากับมือถือมากกว่าครึ่งวัน เป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย (89%) ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำธุรกรรมการเงิน เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาตนเองและหารายได้ แต่กลับละเลยเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยขณะใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

Telenor Asia ได้จัดทำรายงาน Digital Lives Decoded สรุปปัจจัยขับเคลื่อน 5 ประการ ชี้ให้เห็นว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile devices) ช่วยยกระดับชีวิตดิจิทัลของผู้คนได้อย่างไร

รายงานดังกล่าวสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,087 ราย ใน 8 ประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

Image credit: Telenor Asia

รายงานฉบับนี้ระบุแรงขับเคลื่อนที่ยกระดับชีวิตดิจิทัล 5 ประการ ดังนี้

1. ไลฟ์สไตล์และสุขภาวะ: การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ที่ดี

  • คนไทย (86%) ใช้เวลาเกินครึ่งวันกับมือถือ โดย 20% นำมือถือติดตัวอยู่ตลอด และคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก (83%)
Image credit: Telenor Asia

  • ผู้หญิง (35%)  ใช้งานมือถือมากกว่าผู้ชาย (28%) ซึ่งมักใช้บริการออนไลน์ต่าง ๆ (78%) ทำงาน (73%) และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (67%)
Image credit: Telenor Asia

  • คนไทย (93%) ใช้มือถือเพื่อจัดการธุรกรรมการเงิน มีการเปรียบเทียบราคาและหาดีลที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจซื้อ รวมถึงบันทึกติดตามค่าใช้จ่าย
Image credit: Telenor Asia

  • Facebook ยังเป็นแอปยอดนิยมสำหรับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (57%) และรับข้อมูลข่าวสาร (52%) แต่แพลตฟอร์มเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุผู้ใช้งาน อย่างเยาวชนช่วงอายุ 18 – 29 ปี ติดตามข่าวจาก TikTok แทน
  • คนไทยใช้ 5G สตรีมวิดีโอหรือเพลง (84%) ทำงานหรือเรียน (69%) เล่นเกม (66%)
  • คนไทยมีแนวโน้มใช้มือถือเล่นเกมมากที่สุดใน 8 ประเทศ โดยเล่นเกมทุกวัน (44%) มากกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 30%
  • ถ้าใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือไม่ได้ คนไทย (55%) จะมีแนวโน้มรู้สึกหงุดหงิดมากกว่าคนประเทศอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 39%

2. การทำงาน: ปลดล็อกโอกาสใหม่ในการทำงาน

  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีความก้าวหน้าในการทำงานได้ (53%) ช่วยเปลี่ยนอาชีพ (37%) หรือจัดตั้งธุรกิจตนเอง (31%)
  • 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเชื่อว่า การใช้ Generative AI ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า

  • องค์กรของผู้ตอบแบบสอบถาม 82% สนับสนุนให้พนักงานใช้ Generative AI ในที่ทำงาน ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจไทยเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  • มีองค์กร 10% ที่ห้ามหรือไม่สนับสนุนการใช้ AI ซึ่งถือว่าประเทศไทยเปิดรับเทคโนโลยีมากกว่าประเทศอื่น ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15%

3. ความปลอดภัย: ประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

  • คนไทยกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยบนมือถือน้อยที่สุด เทียบกับคนประเทศอื่น โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อประเด็นนี้มากที่สุด (69%)
  • มีคนไทยเพียง 17% เท่านั้นที่แสดงความกังวลต่อประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่น ๆ ที่ 44%
Image credit: Telenor Asia

  • แต่คนไทยก็แสดงความกังวลต่อความเสี่ยงทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ (75%) และเด็ก (72%)
  • วิธีที่ดีที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางออนไลน์ คือ การแนะนำแนวทางสำหรับการใช้งานออนไลน์ (71%) และการพูดคุยอย่างเปิดเผย (61%) 

4. ทักษะ: เรียนรู้และพัฒนาตนเอง

  • คนไทย (91%) ใช้มือถือเรียนทักษะใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
    • 67%: ทักษะการสื่อสาร เรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ
    • 63%: การจัดการโซเชียลมีเดีย
    • 59%: ทักษะการถ่ายตัดต่อวิดีโอ
    • 56%: ทักษะการถ่ายรูป
Image credit: Telenor Asia

  • คนไทยใช้มือถือลงทุนออนไลน์ (55%) ขายของออนไลน์ (40%) ผลิตคอนเทนต์ (38%) เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่
Image credit: Telenor Asia

5. รักษ์โลก: ลดผลกระทบต่อโลก

  • ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย (71%) รู้สึกว่า การใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ ลดความจำเป็นในการเดินทาง และลดการใช้กระดาษ 
  • แม้ว่าคนส่วนใหญ่ (72%) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่มีเพียง 10% เท่านั้นที่ไม่ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือของตนเลย
  • คนไทยในกลุ่มช่วงอายุ 18-29 ปี ตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุด โดย 40% ของคนในกลุ่มอายุนี้กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศและตำแหน่งความยั่งยืนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกผู้ให้บริการของพวกเขา

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านรายงาน Digital Lives Decoded ฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ https://www.telenorasia.com/stories/telenor-asia-digital-lives-decoded-2023/

About nittaya

Previously worked as an English lecturer and eventually becomes an ADPT content writer to inspire readers under "ADAPT, ADEPT, ADOPT" concepts อดีตอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ผู้ผันตัวมาเป็นนักเขียน ADPT หวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านภายใต้แนวคิด "ADAPT, ADEPT, ADOPT"

Check Also

Telehouse กับบริการ Cross Connect ตัวช่วยธุรกิจเสริมแกร่งด้านการเชื่อมต่อ [PR]

Cross Connect คือการเชื่อมต่อสายสัญญาณโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ของลูกค้าภายในดาต้าเซ็นเตอร์ เช่น การเชื่อมต่อผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อโดยตรงนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องการการตอบสนองทันที เช่น  บริการคลาวด์ แอปพลิเคชันทางการเงิน และการสตรีมมิ่ง

Digital Distribution Webinar: เจาะลึกและแก้ไขปัญหา Network อย่างมือโปรด้วย Allegro Packets

Digital Distribution ร่วมกับ Allegro Packets ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน Network เข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “เจาะลึกและแก้ไขปัญหา Network อย่างมือโปรด้วย Allegro Packets” พลิกโฉมการดูแลระบบเครือข่ายให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ในวันอังคารที่ …