IBM Flashsystem

สรุปภาพรวมงาน “CEDT Innovation Summit 2025” เวทีจุดประกายพลังนวัตกรรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนสตาร์ทอัพไทยสู่เวทีโลก

งาน CEDT Innovation Summit 2025 ได้ปิดฉากลงอย่างสวยงามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความคึกคักและความมุ่งมั่นของผู้เข้าร่วมงานที่ต่างมารวมตัวกันเพื่อร่วมผลักดันและส่งเสริมศักยภาพของนักนวัตกรรุ่นใหม่ของไทย

งานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากเหล่าสปอนเซอร์ผู้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสให้กับวงการสตาร์ทอัพไทย โดยมี Bangkok Bank ในฐานะพาร์ทเนอร์ระดับ Diamond เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรระดับ Platinum ที่ร่วมจัดแสดงบูธและนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันอันล้ำสมัย ได้แก่ Nipa.Cloud ผู้ให้บริการ Cloud Infrastructure ชั้นนำของไทย, Huawei Thailand ผู้ให้บริการโซลูชั่น ICT ระดับโลก, Krungthai Care จากธนาคารกรุงไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต, B2S Thailand แหล่งรวมความรู้และความคิดสร้างสรรค์, และ Soft Square Group ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์

ขณะเดียวกัน ยังมีพันธมิตรระดับ Gold ที่เข้าร่วมสนับสนุนและสร้างสีสันให้กับงานอย่างหลากหลาย อาทิ DevCommu, Interpass, CUCA, ATTRA INTER GROUP, Transcosmos Thailand, Dime!, Bitkub, OpenMirai, Bot and Life, และ Mitr Phol Group เป็นต้น การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออันแข็งแกร่งในการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศไทย

บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความคึกคักตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยไฮไลท์สำคัญบนเวทีเริ่มต้นด้วยช่วง Innovation Showcase ที่เปิดเวทีให้นิสิตรุ่นใหม่ได้ฉายแวว นำเสนอผลงานสุดล้ำต่อหน้า Commentators ผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง รศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา, คุณชัชวาล สังคีตตระการ และ คุณวรฉัตร เนื่องจำนงค์ ซึ่งแต่ละผลงานล้วนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของเยาวชนไทยในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

จากนั้น ความเข้มข้นบนเวทีก็ทวีคูณขึ้นในช่วง Panel Discussion ในหัวข้อ “นวัตกรรมคนรุ่นใหม่ สู่การขับเคลื่อนสตาร์ทอัพไทยสู่เวทีโลก” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้นำจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อันล้ำค่า ไม่ว่าจะเป็น คุณกริชผกา บุญเฟื่อง จาก NIA, คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล จาก TEDFund, คุณสรกฤช พฤทธานนทชัย จาก Bangkok Bank และ คุณศุภชัย ปาจริยานนท์ จาก RISE และ SeaX Ventures ซึ่งทุกท่านได้ร่วมกันฉายภาพอนาคตของการลงทุนด้านนวัตกรรมและโอกาสในการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยในเวทีโลก

เฟ้นหาสุดยอดไอเดียจากเยาวชนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

ในช่วงบ่าย adrenaline ในงานก็พุ่งสูงขึ้นกับการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของ CIS 2025 Hackathon ที่เฟ้นหาสุดยอดไอเดียจากเยาวชนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดยทั้ง 15 ทีมสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือกภายใต้ 3 Track หลัก ได้แก่ Medical, Financial และ Education ต่างงัดกลยุทธ์และความสามารถออกมาประชันกันอย่างดุเดือด เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 150,000 บาท และโอกาสสุดพิเศษในการเข้าศึกษาต่อที่ CEDT หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาตัดสินการแข่งขัน CIS 2025 Hackathon ในรอบ Final นี้

  • ผศ.ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช Lecturer, Faculty of Engineering จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณมณฑา ไก่หิรัญ Project Manage จาก NIA
  • รศ.ดร.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ Lecturer, Faculty of Medicine จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณศิวดล มาตยากูร Co-founder Cariva จาก Cariva (Thailand) Co.,Ltd.
  • รศ.นครทิพย์ พร้อมพูล Lecturer, Faculty of Engineering จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณสรกฤช พฤทธานนทชัย Senior Vice President of Technology Division จาก Bangkok Bank PCL
  • ผศ.ดร.รุ่งเกียรต์ รัตบานชื่น Lecturer, Chulalongkorn Business School จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณไพโรจน์ ลีลาภัทรกิจ VP of Engineering จาก Line Man (Thailand) Co.,Ltd.
  • รศ.ดร.สุกัญญา แช่มช้อย Lecturer, Faculty of Education จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต Lecturer, Faculty of Engineering จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ Vice President (Department, Digital Manpower Development and Promotion) จาก depa
  • คุณธัชณวัฒน์ พิริยธนพัทธ์ Team Leader, Digital Startup Institute จาก depa

ผลการแข่งขันทั้ง 3 Track ดังนี้:

Medical Track

  • รางวัลชนะเลิศ: ทีม REBEXs จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย นำเสนอระบบตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพตัดขวาง แสดงความต้านทานไฟฟ้าภายในวัตถุและวิเคราะห์ด้วยอัลกอรึทึมโครงข่ายประสาทเทียม พัฒนาโดย นาวสาว สิพิมพ์ สังขกร, นาย สิริ รัศมีโชคลาภ และนาย ทิชากร โรจน์ศิรพิศาล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม แมวน้อย จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี นำเสนอแอปพลิเคชันอัจฉริยะสำหรับตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุโดยใช้ CSI WiFi และ Machine Learning
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ทีม WatJai จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับการคัดกรองโรคหัวใจจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย Deep Learning
  • รางวัลชมเชย: ทีม 3 หน่อ ขอจุฬาฯ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี นำเสนอซอฟต์แวร์อัจฉริยะตรวจสอบคุณภาพด้วย Deep Learning สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างขากรรไกร และกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมอย่างแม่นยำด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาทางทันตกรรม
  • รางวัลชมเชย: ทีม Skibidi no.1 จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี นำเสนอแอปพลิเคชั่นสำหรับการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการโรคตาเข

Financial Track

  • รางวัลชนะเลิศ: ทีม เต่างอย จากโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) นำเสนอระบบระบบวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนเครดิต ภาคเกษตรกรรมด้วยดาวเทียม และ Blockchain พัฒนาโดย นาย บุญยรัตน์ โตเดชะวัฒนา, นาย สิทธินนท์ ลักษณะฉิมพลี และนางสาว พรนภัส บุรพงศ์บัณฑิต
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม Fire Flyers จากโรงเรียนวารีเชียงใหม่ นำเสนอนวัตกรรมการเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่เสี่ยง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ทีม CD ลิงกังกู จากโรงเรียรจิตรลดา นำเสนอแพลตฟอร์มจัดการการเงินและบริหารโรงแรมด้วย AI
  • รางวัลชมเชย: ทีม ของมันต้องมี จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ นำเสนอ Pordee: manage debt
  • รางวัลชมเชย: ทีม PaoTung จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน นำเสนอการศึกษาและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันระบบการจัดการเงินและหนี้สินด้วยปัญญาประดิษฐ์

Education Track

  • รางวัลชนะเลิศ: ทีม CedtInMyHeart จากโรงเรียนระยองวิทยาคม นำเสนอแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ทำให้การสร้างแฟลชการ์ดจากสื่อการเรียนรู้ได้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้ประโยชน์จาก NLP และ ML พัฒนาโดย นาย ธีรเมธ การ์ริกัน, นาย นภัสนัยน์ เมฆยิ้ม และ นาย วชิรวิชญ์ บุญสินธุ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม Phorobot จากโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร นำเสนอเทคโนโลยีอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตา สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้น
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ทีม I want to CEDT จากโรงเรียนโยธินบูรณะ นำเสนอเเอปพลิเคชันจดโน้ตที่มีฟังก์ชันต่าง ๆ มาช่วยลดข้อจำกัดในการจดโน้ต
  • รางวัลชมเชย: ทีม มะๆๆๆ แมชเมลโล จากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม นำเสนอแอปพลิเคชัน AI ที่จับคู่นักเรียนและครูตามไลฟ์สไตล์และสไตล์การสอน-การเรียนที่สอดคล้องกัน
  • รางวัลชมเชย: ทีม Speak quest จากโรงเรียนวัดราชบพิธและเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอเกมที่ช่วยให้ผู้เล่นฝึกและเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านการเล่นเกมที่สนุกและท้าทาย

นอกจากกิจกรรมอันเข้มข้นบนเวทีแล้ว ภายในงานยังมี บูธจัดแสดง จากบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมาย รวมถึงบูธจากหลักสูตร CEDT ที่เปิดโอกาสให้นิสิตปัจจุบันและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อ พร้อมกิจกรรมสนุกๆ อีกเพียบ ซึ่งผู้เข้าร่วมงานยังได้สัมผัสกับตัวอย่างรายวิชาที่น่าสนใจของ CEDT ในหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น System and Network, Hardware, Software, Data and AI

ที่พลาดไม่ได้คือ นิทรรศการนวัตกรรมจากนิสิต CEDT ทั้ง 12 บูธที่นำเสนอผลงานจริงอันน่าทึ่ง ซึ่งเป็นประจักษ์พยานถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของนิสิต ไม่ว่าจะเป็น EiPCA – Portable ECG with AI-based Prognosis อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจพกพาพร้อมระบบ AI วิเคราะห์โรคหัวใจ ที่การันตีด้วยรางวัลระดับประเทศและนานาชาติมากมาย หรือ O-RA (Osteoarthritis Rehabilitation Assistant) แพลตฟอร์มกายภาพบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อมด้วย AI สำหรับผู้สูงอายุ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติเช่นกัน ผลงานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า CEDT ไม่ได้เป็นเพียงหลักสูตร แต่เป็น “พื้นที่บ่มเพาะนักนวัตกรตัวจริง”

บทสรุป

CEDT Innovation Summit 2025 ปิดฉากลงด้วยความประทับใจและแรงบันดาลใจอันเปี่ยมล้น งานนี้ไม่เพียงแต่เป็นเวทีสำหรับการแสดงศักยภาพของนวัตกรรุ่นใหม่ แต่ยังเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างเยาวชน ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนับสนุน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์อนาคตของนวัตกรรมไทยให้สดใสและก้าวหน้าอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ควอนตัมกำลังจะมาถึง คุณพร้อมหรือยัง? ยุคใหม่ของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เริ่มต้นแล้วตอนนี้!!! [Guest Post]

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computing) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่มันกำลังกลายเป็นความจริงในระยะเวลาอันใกล้นี้ และพร้อมกันนั้นก็นำมาซึ่งภัยคุกคามครั้งใหญ่ต่อพื้นฐานของการเข้ารหัสที่ปกป้องโลกดิจิทัลของเราในปัจจุบัน

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา “Cohesity x Yip In Tsoi : The New Leader in AI-Powered Data Security” [16 ก.ค. 2025 — 12.00น.]

Cohesity ร่วมกับ ยิบ อิน ซอย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “The New Leader in AI-Powered Data Security” ซึ่งทุกท่านจะได้เรียนรู้กับความสามารถในการบริหารจัดการและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ที่เสริมสรรถนะเพื่อตอบโจทย์การทำงานโดย …