เวทีเสวนาร่วมครั้งนี้ จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ บริษัท UiPath จำกัด และ บริษัท Automat Consulting จำกัด ภายใต้ชื่อโครงการ SDI Talk หรือชื่อเต็มว่า Sustainable Digital Intelligence Talk สำหรับ EP#1 มาในหัวข้อ “Automation & AI Bridging Tech and Sustainability”

5 ประเด็นสำคัญ ในงานเสวนา:
- ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรมทางธุรกิจ (Sustainability with Business Innovation)
- การลงทุนในระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (Investing in Automation & AI for Sustainability)
- การใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจ (Leveraging the Power of Automation & AI for Sustainable Business Innovation)
- ความสามารถของระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจอย่างยั่งยืน (Capability of Automation & AI for Creating Business Innovation & Sustainability)
- นวัตกรรมในธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อความยั่งยืน (SME innovation with automation & AI for Sustainability)
“จุดเริ่มต้นของโครงการ SDI TALK เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานทางธุรกิจที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องการเรียนการสอนเท่านั้น เรายังเป็นผู้สร้างนวัตกรรมให้สำหรับผู้ใช้ทุกระดับ บ่อยครั้งที่เราพูดถึงคำว่า “นวัตกรรม” เรามักจะนึกถึงแอปพลิเคชันเป็นอันดับแรก แต่อันที่จริงแล้ว นวัตกรรม มีความหมายมากกว่านั้นอีกมากมาย” ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงานเสวนาครั้งนี้ว่า

“เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ได้เปิดตัวเป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้ทำงานร่วมกับ World Economic Forum (WEF) ตลอดระยะเวลามากกว่า 5 ปี ในการจัดทำและเผยแพร่รายงานสำรวจ The Future of Growth Report 2024 ซึ่งเป็นการประเมินอนาคตการเติบโตของประเทศต่าง ๆ โดยตัวเลขดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศนำไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ต่อไป และในงานเสวนาครั้งนี้ เราจะมาพูดในมิติของ Sustainability ที่ขับเคลื่อนด้วย Automation และ AI เทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก”
ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรมทางธุรกิจ (Sustainability with Business Innovation)

โดย ผศ. ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืน / ผู้ช่วยคณบดีงานงานกิจการเพื่อสังคม / อาจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี
“ทางฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนได้มีแนวคิดริเริ่มจัดโครงการ SDI TALK ขึ้นมา ซึ่งในครั้งนี้เป็นเพียงแค่ Episode แรกเท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมี Episode ที่ 2 และ 3 และถัด ๆ ไปอีกอย่างแน่นอน สำหรับ Episode ที่ 1 ในวันนี้ เราให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้าน AI และ Automation เป็นหลัก โดยเชื่อมโยงคำว่า Sustainability หรือความยั่งยืนเข้ามาไว้ด้วยกัน” ผศ. ดร.สันกฤต กล่าว
อะไรขับเคลื่อนอะไร
เมื่อมองลงไประหว่าง ความยั่งยืน (Sustainability) หรือ นวัตกรรม (Innovation) จะมีอยู่ 2 แนวคิดว่า อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงกันแน่ หลายกรณีนวัตกรรมทำให้เกิดความยั่งยืน แต่ในบางกรณี ความยั่งยืนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม ซึ่งทั้ง 2 แนวคิดต่างมีมุมมองที่น่าสนใจ
ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของจุฬาฯ ได้ใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืน ตามหัวข้อที่กำหนดขึ้นในการเสวนาครั้งนี้ คือ Sustainability ที่ถูกขับเคลื่อนจาก Business Innovation โดย ผศ. ดร. สันสกฤต ได้มาพูดถึง 2 เรื่องเกี่ยวกับหัวข้อนี้ คือ
- เรื่องแนวคิดของภาพรวมเกี่ยวกับ Sustainability กับ Innovation
- เรื่องเกี่ยวกับ CBS หรือ Chulalongkorn Business School ได้มีการทำ Sustainability กับ Innovation อย่างไร

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามี Used Case ของโรงพยาบาลเมดพาร์ค ที่มีการนำเทคโนโลยีที่แม่นยำ เข้ามาช่วยกระบวนการวินิจฉัยโรคให้มีความรวดเร็ว นั่นหมายความว่า ถ้าลดระยะเวลาจำนวนวันที่ผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยายาลลงได้ 1 วัน จะสามารถช่วยลดขยะไปได้ 1.86 กิโลกรัม ลดน้ำประปาไปได้ 950 ลิตร ลดการเกิดน้ำเสียประมาณ 800 ลิตร เช่นกัน อีก Used Case ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร AIS ได้มีแนวคิดสร้าง incentivize model ขึ้นมาควบคุมดูแลเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับการเก็บและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากสมาร์ทโฟน ซึ่งรวมถึงด้านโลจิสติกด้วย ทั้งสอง Used Case คือตั้วอย่างการนำ Innovation มาช่วยขับเคลื่อนให้เกิด Sustainability ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
“Sustainable Business Model Innovation (SBMI) คือการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกหรือเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม”

ทำความเข้าใจระหว่าง SDGs กับ ESG เกี่ยวข้องกันอย่างไร
SDGs (Sustainable Development Goals) และ ESG (Environmental, Social, and Governance) คือกรอบการดำเนินการทางธุรกิจและองค์กรที่มุ่งหวังที่จะสร้างผลกระทบที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่มีความแตกต่างกันในทัศนคติของพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่มีความสัมพันธ์กัน โดยพื้นฐานของ SDGs คือกรอบการทำงานที่ถูกสร้างขึ้นโดยสหประชาชาติ มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย 169 ตัวชี้วัด และรวมถึงกลุ่มหลัก ๆ 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มสิ่งแวดล้อม, (2) กลุ่มสังคม, และ (3) กลุ่มเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นการลดความต่างระหว่างผู้มีสภาพความเป็นอยู่ที่แข็งแกร่งและผู้มีสภาพความเป็นอยู่ที่อ่อนแอทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยวัตถุประสงค์ของ SDGs ต้องการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความสงบและยุติธรรม และแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อม
สำหรับพื้นฐานของ ESG เป็นกรอบการประเมินความยั่งยืนของธุรกิจทั้ง 3 มิติ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และด้านการบริหารจัดการ (Governance) บริษัทหลายแห่งได้รับการประเมิน ESG เพื่อดูว่ามีการดำเนินการที่ถูกต้องตามมาตรฐานทาง ESG หรือไม่
เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่เราควรต้องรับรู้สำหรับการทำ Sustainability ที่ถูกขับเคลื่อนจาก Business Innovation คือ
“Innovation สามารถเข้าไปทำอะไรใน Environment, Social และ Governance ได้บ้าง”
CBS มีนโยบายการทำ Sustainability ด้วย Innovation อย่างไรบ้าง

CBS ได้มีการทำ Sustainability ที่ขับเคลื่อนด้วย Innovation โดยการกำหนด 17 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาด้าน SDG ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป้าหมายเลขที่ 4, 8, 9, 15, 16 และ17 มีความโดดเด่นมากที่สุด และทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลจาก Times Higher Education World University Ranking ประจำปี 2024

CBS เชื่อมโยงความยั่งยืนเข้ามาอยู่ในการเรียนการสอน
การทำวิจัยเป็นพันธกิจหลักของคณะ CBS ซึ่งมีภาควิชาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยัง Sustainability เช่น
- ภาควิชาการเงินการธนาคาร ดูแลทางด้าน Sustainability Finance
- ภาควิชาบัญชี ดูแลทางด้านระบบ AI และ ERP
- ภาควิชาสถิติ ดูแลทางด้าน Data Sci ประกันภัย และการพัฒนาซอฟต์แวร์
- ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ดูแลทางด้าน MSI และ Sustainability Management
- ภาควิชาการตลาด ดูแลทางด้าน Sustainability Marketing
“มหาวิทยาลัย จะต้องเป็นจุดกำเนิดด้านความรู้และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงถือโอกาสนี้ในการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาปรับใช้และส่งต่อไปยังทุกคณะสาขาวิชา สำหรับ CBS ได้กำหนดนโยบายด้วยการสร้าง ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจ ผ่านกิจกรรมการสอน การทำวิจัย และการนำไปใช้จริง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน” ผศ. ดร.สันสกฤต กล่าวสรุป
การลงทุนในระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (Investing in Automation & AI for Sustainability)

โดย คุณปวีณ์สุดา สุมิตไพบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการ แผนกวางแผนองค์กร บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มาเล่าในมุมมองของการพัฒนาธุรกิจขององค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมประกันภัย จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องนวัตกรรมไปยังกระบวนการขององค์กรสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร
ถ้าพูดถึง Sustainability หรือ ความยั่งยืน MSIG มีความมุ่งมั่นที่ค่อนข้างชัดเจนที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน มีการตระหนักในการสร้างคุณค่าออกสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งยังสอดรับนโยบายของทางสหประชาชาติ (UN)
การลงทุนในธุรกิจประกันภัยด้วยนวัตกรรม Automation และ AI เพื่อ Sustainability (ความยั่งยืน) มีผลทำให้ธุรกิจนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความผิดพลาด และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยอดเยี่ยม
CSV สามารถเชื่อมโยงเข้ากับ Automation & AI ได้อย่างไร
ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแห่งการลดความเสี่ยง MSIG จะช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาสังคมอื่น ๆ ในขณะที่เติบโตไปพร้อมกับสังคม ครอบคลุมความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทั้งก่อนและหลังความคุ้มครองได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอโซลูชันที่ดีที่สุดผ่านการตลาด การจัดจำหน่าย บริการการชำระเงิน และการให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
MISG กำหนด 17 เป้าหมายด้าน SDGs เพื่อความยั่งยืนทั้ง 3 ประเด็นสำคัญ

- สร้างความสุขให้กับสังคมที่หลากหลาย
- สร้างสังคมที่ปลอดภัยและมั่นคง
- สร้างการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมโลก
โดยทั้ง 3 ประเด็นสำคัญข้างต้น คุณปวีณ์สุดา ได้ยกตัวอย่างเรื่องการป้องกัน/ฟื้นฟูการสูญเสียผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้าน data และ AI ซึ่งมีความโดดเด่นมากที่สุด โดยการนำฐานข้อมูลที่มีอยู่มาเข้าสู่กระบวนการเชิงวิเคราะเพื่อต่อยอดในการปรับใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังจาก AI ให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่นำไปสู่การบริการลูกค้าผู้เอาประกันภัยแต่ละกรณีให้รวดเร็วที่สุด พร้อมยกตัวอย่าง Used Case ที่มุ่งเน้นไปที่การสนับข้อมูลเพื่อสร้างความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
การใช้ Robotic Process Automation (RPA) ในธุรกิจประกันภัย

MSIG ได้มีการปรับใช้ระบบ RPA จาก UiPath ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมประกันภัยโดยการทำงานซ้ำ ๆ ให้เป็นอัตโนมัติ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดข้อผิดพลาด และปรับปรุงประสบการณ์โดยรวมของลูกค้า
- RPA สามารถใช้เพื่อทำให้กระบวนการสร้างกรมธรรม์ประกันภัยใหม่และอัปเดตกรมธรรม์ที่มีอยู่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงการป้อนข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง และการสร้างเอกสารนโยบาย
- RPA สามารถทำให้กระบวนการต่ออายุเป็นไปโดยอัตโนมัติโดยการดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประเมินความเสี่ยง และสร้างประกาศการต่ออายุ
- RPA สามารถช่วยในการประเมินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยการดึงข้อมูลจากเอกสารประกอบ ตรวจสอบรายละเอียดกรมธรรม์ และกำหนดความคุ้มครอง
- RPA สามารถช่วยในการประเมินความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต ประเมินปัจจัยเสี่ยง และให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้จัดจำหน่าย
- การปรับใช้งานร่วมกับ Chatbot ที่ขับเคลื่อนด้วย RPA + AI สามารถจัดการข้อซักถามที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ให้การตอบกลับลูกค้าได้ทันที และทำให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์ว่างสำหรับงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
- RPA สามารถสร้างใบแจ้งหนี้ ติดตามการชำระเบี้ยประกันภัย และส่งการแจ้งเตือนอัตโนมัติสำหรับการชำระที่เกินกำหนด
- RPA สามารถทำให้งานป้อนข้อมูลเป็นอัตโนมัติ ลดข้อผิดพลาดด้วยตนเอง และปรับปรุงความแม่นยำของข้อมูล
ปัญญาประดิษฐ์ไม่สามารถทดแทนปัญญาของมนุษย์ได้ มันเป็นเครื่องมือในการขยายความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดของมนุษย์ ความสามารถของมนุษย์ยังมีความสำคัญเสมอ แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนไปมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้ามีมนุษย์ทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ จะยิ่งเพิ่มมูลค่าผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
การใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจ (Leveraging the Power of Automation & AI for Sustainable Business Innovation)

โดย คุณสันทัด เจิดจรรยาพงศ์ – Director บริษัท Automat Consulting จำกัด ได้มาอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพให้กับมนุษย์และปรับปรุงกระบวนการเพื่อผสานการทำงานร่วมกับการใช้ประโยชน์จากพลังของระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจที่ยั่งยืน ในหัวข้อนี้ คุณสันทัด ได้เน้นไปที่การสาธิต Clipboard AI ฟีเจอร์ที่โดดเด่นใน UiPath เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

Automat Consulting ทำอยู่ 2 บทบาท คือ
#1 บทบาทแรก: ทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะ CBS จุฬาฯ สอนวิชา RPA ให้กับนิสิตปีที่ 4
#2 บทบาทที่สอง: Implement RPA ชื่อว่า UniPath ให้กับองค์กรต่าง ๆ
เมื่อนำ RPA มาผสานทำงานร่วมกับ AI ทำให้สามารถอ่านข้อมูลที่เป็นดิจิทัล หรือจากหน้าจอแสดงผลได้ โดยใช้ความสามารถของ AI/ML ในการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกเพื่อความเข้าใจเนื้อหา รูปแบบ และการคาดการณ์ได้เสมือนมนุษย์

ด้วยการบูรณาการแพลตฟอร์ม RPA ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Automation และ AI เข้ากับแง่มุมต่าง ๆ ของการดำเนินธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ จึงสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนในระยะยาวและผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ดังต่อไปนี้
- ใช้ RPA เพื่อรวบรวมและรวบรวมข้อมูล ESG สำหรับการรายงานความยั่งยืนแบบอัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องและทันเวลา
- ใช้ RPA เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานโดยอัตโนมัติ ช่วยให้องค์กรระบุพื้นที่สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างแม่นยำ
- ใช้ RPA เพื่อปรับปรุงกระบวนการด้านเอกสาร ลดการใช้กระดาษ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- RPA สามารถนำไปใช้เพื่อบังคับใช้แนวทางปฏิบัติด้านไอทีที่ประหยัดพลังงาน เช่น การปิดระบบอัตโนมัติในช่วงเวลานอกเวลาทำการ
UiPath เตรียมเปิดตัว Clipboard AI
Clipboard AI เป็นหนึ่งในเครื่องมือใหม่!!! ของ UiPath ที่กำลังจะปล่อยออกมาเร็ว ๆ นี้ โดยในงานเสวนา SDI Talk EP#1 เราได้มีโอกาสได้เห็นประสิทธิภาพของ AI ขั้นสูงของ Clipboard AI ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคโดยเฉพาะ สิ่งนี้จะเข้ามาขจัดพฤติกรรมการคัดลอด/วางสำหรับการจัดการเอกสารได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือนี้ จะเข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานประจำวันของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การคัดลอกข้อมูลจำนวนมากจากสเปรดชีตต้นทาง เอกสาร แอป และรูปภาพ จากนั้นวางข้อมูลลงในแพลตฟอร์มใหม่ด้วยรูปแบบ ป้ายกำกับ และรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกัน ที่กล่าวมาเหล่านี้ คือบทบาทที่ Clipboard AI สามารถทำงานทั้งหมดในนามของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูง
“ระบบของ UiPath รองรับ Generative AI จากผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลก เช่น Microsoft, OpenAI, AWS และ Google Cloud”
UiPath มองบทบาทการทำงานของ AI ออกเป็น 3 เรื่อง คือ Context การทำงานกับความหลากหลายของเอกสาร, Model AI การเรียนรู้ประมวลผลข้อมูล และ Action การลงมือทำให้เกิดผลลัพธ์
องค์กรต่าง ๆ จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ของ RPA จาก UiPath ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI ที่สามารถช่วยยกระดับให้กระบวนการทำงาน “มองเห็น คิดเป็น และช่วยเราทำ”
ด้วยการรวม RPA เข้ากับการดำเนินงาน องค์กรต่าง ๆ ไม่เพียงสามารถบรรลุประสิทธิภาพในการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืนอีกด้วย กระบวนการที่เป็นอัตโนมัติจะนำไปสู่การประหยัดทรัพยากร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงความยั่งยืนทางธุรกิจโดยรวมได้
ความสามารถของระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจอย่างยั่งยืน (Capability of Automation & AI for Creating Business Innovation & Sustainability)

ในหัวข้อนี้ ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากความสามารถของระบบ Automation และพลังจาก AI เพื่อสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจและนำไปสู่ความยั่งยืน โดยวิทยากรทั้ง 2 ท่าน คุณวิศรุต จำนงค์ – Managing Director และ คุณสรศักดิ์ ลีลาพรอุดม – Senior Consultant ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ จากบริษัท Automat Consulting

ประเทศไทย ยังต้องทำงานร่วมกับเอกสารไปอีกสักระยะนึง แล้วเราจะทำให้เรื่องนี้เป็นกระบวนการที่ง่ายดายขึ้นได้อย่างไร คุณวิศรุต ได้มาอธิบายถึงความสามารถของ Document Understanding เครื่องมือของ UiPath ที่ขับเคลื่อนด้วย AI
Document Understanding เป็นส่วนหนึ่งของ Robotic Process Automation (RPA) ของ UiPath ที่ครอบคลุมความสามารถในการอำนวยความสะดวกในการประมวลผลไฟล์ขาเข้า ตั้งแต่การแปลงไฟล์เป็นดิจิทัลไปจนถึงการตรวจสอบข้อมูลที่แยกออกมา เพื่อช่วยให้องค์กรผสมผสานแนวทางต่าง ๆ เพื่อดึงข้อมูลจากเอกสารหลายประเภท จุดมุ่งหมายหลักคือการทำให้กระบวนการดึงข้อมูลง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ESG vs Automation + Specialized AI
Specialized AI เป็น AI ที่ทำเฉพาะเรื่อง เก่งเฉพาะทาง โดยเซสชันนี้คุณวิศรุต มาเล่าถึง Used Case เกี่ยวกับ “Travel & Expense Automation (ระบบอัตโนมัติด้านการเดินทางและค่าใช้จ่าย)” จากข้อมูลการสำรวจพบว่า ยังคงมีการทำงานในการจัดการ Travel & Expense แบบ Manual อยู่ในระดับอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนการตรวจสอบตามเงื่อนไขที่องค์กรตั้งค่าเอาไว้ กระบวนการเหล่านี้ ทำให้องค์กรต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากเพื่อลดระยะเวลาให้ทันต่อรอบการเงินที่องค์กรกำหนดเอาไว้
ระบบ Automation และ AI สามารถเข้ามาเรียนรู้และวิเคราะห์เอกสารที่มาจากใบเสร็จรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ช่วยลดระยะเวลาให้สั้นลง ช่วยกำจัด errors ที่เกิดขึ้นกับเอกสารใบเสร็จ ช่วยตรวจสอบความถูกต้องที่เป็นจริงและโปร่งใส
“ระบบ RPA ที่ฉลาด จะต้องขับเคลื่อนด้วย Automation และ AI ที่มาจากมนุษย์ขยันเข้าไปสอนให้ระบบเกิดโมเดลการเรียนรู้”
UiPath เตรียมเปิดตัว Communications Minning
UiPath Communications Mining คือความสามารถใหม่ในการทำความเข้าใจและทำให้การสื่อสารทางธุรกิจเป็นแบบอัตโนมัติ โดยการดึงข้อมูลสำคัญจากอีเมล เช่น คำถามของลูกค้า ข้อเสนอแนะ หรือข้อมูลเฉพาะที่กล่าวถึงในการสนทนาทางอีเมล รวมไปถึง การวิเคราะห์ข้อมูลข้อความจากแหล่งการสื่อสารต่าง ๆ รวมถึงเอกสาร โซเชียลมีเดีย และเนื้อหาข้อความอื่น ๆ เพื่อดึงข้อมูลที่มีความหมายเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ
UiPath Communications Mining ใช้ประโยชน์จากการผสานรวม AI และ Automation เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจและดำเนินการกับทุกข้อความได้อย่างรวดเร็วและปรับแต่งผลลัพธ์ให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของธุรกิจตน

คุณสรศักดิ์ กล่าวถึงข้อมูลการวิจัยเกี่ยวพฤติกรรมการใช้งานอีเมลว่า
- 48% ของพนักงาน มองว่าต้องหมดเวลาไปกับการจัดการอีเมล
- 30% ของพนักงาน มองว่าอีเมลเป็นสิ่งที่รบกวนสมาธิในการทำงานจริงมากที่สุด
- 78% ของบริษัทไม่พอใจกับความสามารถในการใช้ข้อมูลในการจัดการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

การนำแพลตฟอร์ม UiPath Communications Mining เข้ามาใช้จะประกอบด้วย 3 เฟสหลัก ๆ คือ
- Connect – การเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มการสื่อสารขององค์กร เช่น Email, Tickets, Service Desk หรือ CRM เป็นต้น
- Interpret – ขั้นตอนการสร้างโมเดล ซึ่งประกอบไปด้วยการทำ Discover, Train, Validate และ Analyze เพื่อการเรียนรู้จากสิ่งที่เราสอนเข้าไป
- Automate – เชื่อมต่อเข้ากับระบบอัตโนมัติที่ต้องการ เช่น API, ERP, RPA, CMS หรือ CRM

อย่างไรก็ตาม Communications Mining ต้องอาศัยการฝึกเรียนรู้ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบเร่งสร้างโมเดลการเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ โดยกระบวนการเรียนรู้นี้จะถูกจัดการโดย Model Rating เพื่อให้ได้ข้อมูลโมเดลที่แท้จริงสำหรับธุรกิจ
ตัวอย่าง การทำงานของ Communications Mining ในธุรกิจประกันภัย

อีเมลเกี่ยวกับกรมธรรม์ที่กำลังจะหมดอายุ ระบบได้วิเคราะห์ความต้องการของการสื่อสารพร้อมกรองบริบทเพื่อดึงความสำคัญของข้อมูลออกมาทำในระบบอัตโนมัติต่อไป
ทั้ง 2 Used Case ที่กล่าวมาข้างต้น คือ การนำเข้าเอกสารและอีเมลเพื่อดึงข้อมูลออกมาทำให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติและคาดการณ์ผลลัพธ์ด้วยพลังจาก AI ที่ได้รับการเรียนรู้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับธุรกิจ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยเร่งกระบวนการซ้ำ ๆ และลดระยะเวลาลงได้จริง
นวัตกรรมในธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์เพื่อความยั่งยืน (SME innovation with automation & AI for Sustainability)

โดย ดร.โกเมษ จันทวิมล – Principal Research Engineer บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) มาสรุปหัวข้อสุดท้ายเกี่ยวกับ Small and Medium Enterprise หรือ SMEs สามารถใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและความยั่งยืนในแง่มุมต่าง ๆ ของการดำเนินงานได้อย่างไร

เทรนด์อนาคตของ AI ในปี 2024
- AI คือ Everything – เราจะได้ยินคำว่า “AI” ตลอดทั้งปีนี้ ทุกสิ่งในรอบตัวเราจะมีการนำพลังจาก AI เข้ามาเป็นจุดเด่นใน Production
- AI จะกลายเป็นพันธมิตรที่มีประสิทธิผลที่ยอดเยี่ยม – เราจะมีหุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมงานโดยปฏิเสธไม่ได้ เราจะต้องยินดีต้อนรับหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามาสู่ระบบนิเวศของที่ทำงาน เป็นที่ชัดเจนว่าจุดบรรจบกันของหุ่นยนต์และแรงงานมนุษย์จะกำหนดนิยามใหม่ให้กับอุตสาหกรรมผลิต
- AI คือตัวเปลี่ยนเกม – กุญแจสู่ความสำเร็จอยู่ที่การสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับทักษะอันล้ำค่าของบุคลากรที่เป็นมนุษย์ เพื่อให้มั่นใจว่าอนาคตที่ทั้งสองจะเจริญเติบโตได้อย่างกลมกลืนสำหรับบทบาทงานในอนาคตในยุค AI
- AI กับรูปแบบการทำงานในอนาคต – เมื่อ AI คือเพื่อนร่วมงานของเรา สิ่งสำคัญก็คือ เราจะวางบทบาทที่ใช้ประโยชน์ขั้นสูงจาก AI ได้อย่างไร เช่น จะให้ AI ทำ 90% อีก 10% มนุษย์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและปรับขนาดความถูกต้องที่เหมาะสมอีกครั้ง กระบวนการทำงานแต่ละองค์กรมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น เราจะต้องวางบทบาทให้กับการทำงานของ AI ให้มีความเหมาะสมและร่วมงานกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- AI ที่มีความเสี่ยงและรับผิดชอบ – บางที AI ก็ไม่ได้ถูกต้องทุกครั้งเสมอไป การนำ AI ไปใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อพลัง AI เก่งขึ้น มนุษย์จะทำตัวยังไง

ในงาน World Economic Forum ที่ดาวอส ผู้นำด้านไอทีจากทั่วโลกต่างพูดเกี่ยวกับ AI ที่จะเข้ามาอยู่ในทุกที่ร่วมกับมนุษย์ แม้แต่ป้ายโฆษณายังมีคำว่า AI สิ่งนี้ช่วยยืนยันว่าเทรนด์ด้าน AI กำลังได้รับความสนใจอย่างจริงจัง
ยุคแรกของ AI มนุษย์คาดหวังว่าจะสร้างงานให้เร็วขึ้น ยุคถัดมามนุษย์เพิ่มการคาดหวังว่า AI จะสามารถเรียนรู้ได้ เมื่อเข้าสู่ปี 2000 – 2015 มนุษย์คาดหวังให้ AI สามารถรับรู้เองได้ และปัจจุบันเรากำลังเห็น Generative AI ที่สามารถสร้างผลงานขึ้นมาเองได้
Predictive กับ Generative AI
การเลือกเทคโนโลยี AI เป็นสิ่งสำคัญ แต่ละธุรกิจมีจุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน
Predictive คือการปรับใช้ระบบอัตโนมัติทางการเงินอย่างชาญฉลาด เพื่อให้เข้ามาแก้ไขปัญหาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน คือ
- การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์
- การประเมินความเสี่ยง
- บริการลูกค้า (ตามกฎ)
Generative AI คือการสร้างผลงานที่แปลกใหม่เชิงสร้างสรรค์ สามารถเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพในธุรกิจการเงินได้อย่างชาญฉลาด คือ
- การสร้างข้อความทางการเงิน
- การจำลองตลาดทางการเงิน
- การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเงินส่วนบุคคลเชิงโต้ตอบ
- การเพิ่มขยายข้อมูลทางการเงิน
บริษัทที่เริ่มลงทุนด้าน AI ช่วงก่อนปี 2000 ปัจจุบันกลายเป็นผู้นำในตลาดระดับโลก ในทางกลับกันบริษัทด้านไอทีที่ยังไม่เริ่มลงทุนด้าน AI จะสูญเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างชัดเจนที่สุด ยกตัวอย่าง ธนาคารกสิการไทย สามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาทต่อปีจากการใช้ “AI Thai-NLP Chat Bot” หรือทางบริษัท NETFLIX สามารถทำรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท จากบริการ “AI-powered recommendation system” แต่ไม่ใช่ทุกโครงการด้าน AI จะประสบความสำเร็จเสมอไป ตัวอย่าง Watson เคยมองว่าจะเอา AI มาแทนบทบาทของแพทย์ที่มีความซับซ้อนสูงในด้านการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ จากปัจจัยที่หลากหลายจากผู้ป่วย การลงทุนจำนวน 62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ครั้งนั้นกลับล้มเหลวลงทันที เพราะการเริ่มต้นผิดช่วงเวลาทำให้ความเป็นไปได้ทางนวัตกรรมยังไม่ล้ำสมัยพอ

Generative AI คือตัวเปลี่ยนเกม
- ปัจจุบัน 78% ขององค์กรเชื่อว่าประโยชน์ของ Generative AI มีมากกว่าความเสี่ยง
- 45% อยู่ในระยะนำร่อง กำลังพยายามเข้าสู่โหมดสำรวจ และมีเพียง 10% เท่านั้นที่ใช้ในการผลิต
- ภายในปี 2569: องค์กรมากกว่า 80% จะใช้ GenAI ในการผลิต
การปฏิวัติ Generative AI จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง นั้นหมายถึง ทุกคนต้องรู้วิธีการปรับตัวเข้ากับมันให้ได้ เราจะเก่งไปพร้อมกับความฉลาดของ Gen AI เราจะต้องลองใช้ให้เกิดทักษะความรู้ความเข้าใจ เพื่อต่อยอดไปสู่การนำ Gen AI ไปใช้จนเกิดความชำนาญ และที่สำคัญ “เราต้องรู้และเข้าใจว่า อะไรที่ทำร่วมกับระบบ Automation และ AI ได้หรือไม่ได้”
- ระบบ Automate ช่วยให้ 80% ของ Customer Chat Traffic ของธนาคารกสิกรไทย ประหยัดเวลาลง 300,000 ชั่วโมงสำหรับการโต้ตอบกับลูกค้า สามารถช่วยประหยัดต้นทุนธนาคารกสิกรไทยได้ปีละประมาณ 130 ล้านบาท
- บนโปรแกรม Canva AI เข้ามาช่วยประหยัดเวลาได้ 90% สำหรับการสร้างวิดีโอบน Canva x Runway

จีน มองเกี่ยวกับ AI ว่า Data เป็นสิ่งสำคัญ ถ้ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอ AI จะขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่แม่นยำออกมาไม่สมบูรณ์ องค์กรในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการนำ AI มาปรับใช้เพื่อต่อยอด มากกว่าการสร้าง AI ขึ้นมาใช้งานเอง “แค่คุณรู้จักวิธีการใช้ไฟฟ้าก็เพียงพอแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เองก็ได้” ถ้าเราสามารถนำ AI ไปต่อยอดให้เกิดแพลตฟอร์มได้ เราจะได้ประโยชน์จากพลังของ AI
ดร.โกเมษ กล่าวสรุปแนวคิดเกี่ยวกับ SME ว่า
Generative AI เปลี่ยนวิธีการทำงานของเราสำหรับผู้ที่ใช้มัน และจะเข้ามาแทนที่ผู้ที่ไม่ได้ใช้
SME ไม่สามารถใช้งาน AI ได้ทุกอย่าง ทุกที่ ในคราวเดียวกัน
เพราะฉะนั้น เราจะต้องเลือกว่าเรามีแผนจะทำอะไร และเราต้องเลือกว่าเราจะให้คนทำอะไร
ที่คณะ CBS ของจุฬฯ ได้เปิดการเรียนการสอน 5 สาขาวิชาเกี่ยวกับ AI
- วิชา Data and AI
- วิชา Responsible AI
- วิชา Chat-GPT integration
- วิชา ChatGPT in class
- วิชา นักบัญชีไซบอร์ก

“เราผูกเรื่อง Business เข้ากับ AI จึงทำให้เรามองเห็นภาพว่า Business ใดที่ไม่มียังการปรับใช้ AI จะไม่สามารถสร้าง Sustainability หรือความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้ เมื่อเรารู้ว่า AI มีพลังมากขนาดนี้ เราจะใช้ AI อย่างไรที่ทำให้สังคมของเรามีความยั่งยืนได้” คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนิศิษย์เก่าคุณ CBS จุฬาฯ กล่าวปิดท้ายงานเสวนา SDI TALK EP#1