ทีมนักวิทยาศาสตร์แห่ง TU Delft ได้พัฒนาเทคโนโลยีการใช้อะตอมของคลอรีนมาเก็บข้อมูล Bit ได้ และทำให้การจัดเก็บข้อมูลขนาด 1 Kilobyte นั้นสามารถทำได้ในพื้นที่เพียงประมาณ 100 นาโนเมตร และเก็บข้อมูลได้มากถึง 62.5TB ต่อตารางนิ้ว ซึ่งมากกว่า Hard Drive ในปัจจุบันนี้ถึงราวๆ 500 เท่า
แนวคิดนี้จะเริ่มต้นจากการนำอะตอมของคลอรีนมาเรียงอยู่บนผิวอะตอมของทองแดง และทำการเขียนและลบข้อมูลโดยการใช้ Scanning Tunneling Microscope ในการสลับตำแหน่งของช่องว่างระหว่างอะตอมของคลอรีนบนผิวของอะตอมทองแดงให้กลายเป็น Data Block ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ QR Code ให้มี Pattern รูปแบบต่างๆ ที่แทนข้อมูลตามที่ต้องการได้ อีกทั้งยังสามารถทำการ Mark เพื่อระบุได้อีกด้วยว่าอะตอมในบริเวณนี้ได้สูญเสียคุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลไปแล้วได้ ทำให้สามารถจัดการกับการเสื่อมของกลุ่มอะตอมคลอรีนในการจัดเก็บข้อมูลได้
แน่นอนว่าเทคโนโลยีนี้ยังไม่พร้อมออกสู่ตลาดในเวลานี้ เพราะระบบ Storage ดังกล่าวสามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดมากๆ และเย็นถึง 77 เคลวินหรือ -321 องศาฟาเรนไฮต์ อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีนี้ก็มีข้อได้เปรียบเทคโนโลยีอื่นมากๆ เมื่อต้องการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และปัจจัยเดียวที่จะนำเทคโนโลยีนี้ออกมาสู่ตลาดให้ได้ก็มีเพียงแค่เวลาในการวิจัยเท่านั้น
ลองดูคลิปอธิบายเทคโนโลยีนี้ได้เลยครับ
ที่มา: https://www.engadget.com/2016/07/19/atom-scale-storage/