เมื่อสัปดาห์ก่อนมีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเปิดเผยช่องโหว่ซึ่งกระทบกับ SDK ของ Realtek ผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวัน โดยล่าสุดมีการใช้ช่องโหว่ที่เพิ่งค้นพบใน Botnet ประเด็นคือมี Vendor หลายรายที่ใช้ชิปจาก Realtek ได้รับผลกระทบ

ชุดของช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยคือ CVE-2021-35392, CVE-2021-35393, CVE-2021-35394 และ CVE-2021-35395 โดยส่งผลกระทบกับชิปของ Realtek รุ่น RTL819xD โดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่ากระทบกับ Vendor กว่า 65 รายและผลิตภัณฑ์กว่า 198 รุ่น เช่น WiFi Repeater, Router, IP Camera รวมถึง Smart lightning gateway เป็นต้น
สำหรับช่องโหว่ที่พบว่าคนร้าย Mirai Botnet นำไปใช้เป็นเครื่องมือก็คือ CVE-2021-35395 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Command Injection และ Overflow บน Web Interface สำหรับอุปกรณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญทราบว่ามีผลกระทบจากช่องโหว่ที่เขาได้เปิดเผย เช่น
- ASUSTek Computer Inc. – RT-Nxx models, WL330-NUL, Wireless WPS Router RT-N10E / RT-N10LX / RT-N12E / RT-N12LX
- Belkin – AC1200DB Wireless Router F9K1113 v4, AC1200FE Wireless Router F9K1123, AC750 Wireless Router F9K1116, F9K1015, N300WRX, N600DB
- D-Link – DIR-300/ 501 / 600L / 605L / 615 / 618 / 618b / 619 / 619L / 809 / 813 / 815 / 820L / 825 / 825AC / 825ACG1 / 842, DSL-2640U / 2750U / 2640U, DAP 1155 / 1155 A1 / 1360 C1 / 1360B1 รวมถึง VoIP Router DVG-2102S / DVG-5004S / DVG-N5402GF / DVG-N5402SP / DVG-N5412SP และ Wireless VoIP Device DVG-N5402SP
- ZTE – MF253V และ MF910
- Zyxel – NBG-416N AP Router, NBG-418N AP Router, WAP6804, P-330W และ X150N
อย่างที่กล่าวไปว่ามีอุปกรณ์เกือบ 200 รุ่นจาก 65 ผู้ผลิต ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.iot-inspector.com/blog/advisory-multiple-issues-realtek-sdk-iot-supply-chain/ โดยผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบทาง Realtek ได้แพตช์แก้ไขแล้ว แต่ Vendor ที่นำชิปไปใช้จะมีมาตรการอัปเดตอย่างไรคงต้องศึกษาจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรืออัปเดตที่อุปกรณ์กันครับ
ที่มา : https://www.helpnetsecurity.com/2021/08/24/cve-2021-35395-exploitation/