Black Hat Asia 2023

สรุปงาน OSEDA 2017 (มีแชร์สไลด์ Blockchain , DevOps และ Kubernetes)

เมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคมที่ผ่านมาทางสมาคม Open Source  ได้จัดงานให้ความรู้แก่ผู้สนใจเข้าร่วม Workshop และฟังบรรยาย โดยหัวข้อบรรยายประกอบด้วยหลายหัวข้อเช่น Blockchain, Deep Learning, DevOps, OpenStack for Public Cloud  เป็นต้น สามารถดูหัวข้อการบรรยายทั้งหมดได้ที่นี่ ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai ได้เข้าร่วมงานจึงคัดเลือกสรุปบางหัวข้อมาให้ท่านผู้อ่านได้ติดตาม รวมถึงได้แจกเอกสารประกอบการบรรยายไว้ด้วย

แนวคิดของ Open Source คือการที่มีคนกลุ่มนึงมีโซลูชันใช้งานบางอย่าง พวกเขาได้ทำการปรับแต่งแก้ไขพิสูจน์แล้วว่าวิธีการนั้นใช้ได้แล้วเอามาแชร์ แต่มันไม่ได้การันตีว่าใช้ได้กับทุกคน ดังนั้นหน้าที่ของคุณคือเอาไปปรับปรุงให้มันดีกว่าเดิมแล้วแชร์ต่อ หากคุณยิ่งให้คุณก็ยิ่งได้“– คุณ Piyanai Saowarattitada ผู้อำนวยการทีมวิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของ Mass Open Cloud (MOC) จากบอสตันได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของการบรรยาย โดย MOC Cloud ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการวิจัย ให้ทุกคนเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม

หัวข้อบรรยาย Blockchain ได้รับเกียรติจาก อาจารย์  ดร. รอม หิรัญพฤกษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิธนาคารแห่งประเทศไทยและอีกหลายหน่วยงาน โดยมีใจความประเด็นหลักดังนี้ “ปัจจุบันเรามาถึงจุดหนึ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแล้ว ด้วยเทคโนโลยีทำให้สามารถแชร์สิ่งต่างๆ ให้แก่กันได้“–อ. รอม กล่าว โดยมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำอย่างไรเราจึงจะส่งของมีค่าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งๆ ที่เราก็มีระบบธนาคารที่เป็น Centralize อยู่แล้ว แต่ระบบธนาคารสามารถถูกทำลายได้ง่ายดังนั้นมันควรจะมีระบบการส่งเป็น Distributed เหมือนกับลักษณะของการส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต คำถามต่อมาคือจะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่เชื่อคนกลาง เช่น ปกติกว่าเราจะโอนเงินข้ามจากไทยไปอเมริกาได้เราต้องถูกหักภาษีหลายชั้นมากเป็นเงิน 8-12% จึงเกิดคอนเซปต์ที่เรียกว่า ‘Distributed Ledger’ ซึ่งมีคุณสมบัติ 4 ข้อ ดังนี้
  • Distributed หมายถึง ระบบนั้นทำลายได้ยาก สาเหตุเพราะมันกระจายอยู่หากเราทำลายเส้นทางหนึ่งก็ไปทางอื่นได้
  • Immutable หมายถึง แก้ไขไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • Transparent หมายถึง โปร่งใสทุกคนช่วยกันรักษาผลประโยชน์ต่อให้เปลี่ยนแปลงก็มีหลักฐานตรวจสอบได้
  • Secure เช่น อย่างน้อยต้องมีการเข้ารหัสข้อมูล

Distribute Ledger Technology (DLT) หรือ Blockchain (จากเนื้อหาในสไลด์หน้า 7) คือ “A database of transaction split into blocks with each block containing details of the transaction which are validated by the network via encryption by combining the common transaction details with the unique signature of two or more parties. The transaction is valid if the result of encoding is the same for all node and add to chain of prior transaction. If the block is valid, A concensus of node will correct the result in the non-conforming node”

หากกล่าวถึงอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบของ DLT มีอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่ได้รับผลกระทบในปี 2017 ดังนี้ กลุ่มธุรกิจการธนาคารและการจ่ายเงิน กลุ่มความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กลุ่ม Supply Chain Management และอื่นๆ (สไลด์หน้า 12) นอกจากนี้มีตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งานกับการซื้อขาย โดย Blockchain กำลังจะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากการมีคนกลางเป็นการไม่ใช้คนกลาง ขั้นตอนที่เกิดขึ้นในการค้าขายโดย Blockchain (หน้า 19) คือ
  1. A ต้องการส่งเงินไปหา B
  2. เข้ารหัสเก็บ Transaction ไว้ใน Block
  3. ส่ง Block ออกไปหาทุกคนในปาร์ตี้
  4. ทุกคนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
  5. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain
  6. เงินส่งผ่านภายใต้การควบคุมของ A ไปยัง B
นอกจากนี้อาจารย์ รอม ยังให้ทัศนะเกี่ยวกับ Bitcoin ซึ่งเป็นการนำ Blockchain ไปใช้งานว่า “มันมีแนวโน้มเป็นฟองสบู่และดูมีความเสี่ยงแต่ไม่ได้หมายความว่ากลไกของ Bitcoin ไม่ดีเพียงแต่หมายถึง Economic ส่วนนั้นมันล่มไปเท่านั้นเอง วันนึงเราอาจจะมีสกุลเงินใหม่ขึ้นมาแทน” อย่างไรก็ตาม Blockchain ก็มีข้อจำกัดเช่นความช้า ดังนั้นจึงมีงานวิจัยเช่น IOTA Tangle (หน้า 41) เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ ไม่เพียงแค่นี้ยังมีการนำ Blockchain หรือ DLT ไปใช้งานด้านต่างๆ (สไลด์หน้า 47-48) เช่น
  • มีงานวิจัยจากกลุ่ม Big-four (EY, PwC, Deloitte, Accenture) ได้ศึกษาเกี่ยวกับโมเดลระบบบัญชีสำหรับธุรกิจที่เก็บลงบน Blockchain ซึ่งต่อไปเราอาจจะไม่ต้องมีระบบบัญชีเดิมๆ อย่าง Credit หรือ Debit
  • ใช้ DLT เพื่อป้องกันการโจมตี DDoS ในระบบเครือข่าย
  • การใช้ DLT เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือ

สุดท้ายลองจินตการกันดูว่าระบบอย่างประเทศไทย เช่น การแสดงสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ ถ้าเราเก็บข้อมูลโดยใช้ DLT เราจะไม่มีกรณีที่เกิดเหตุการณ์สวมรอยอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่หากเจ้าของที่ตัวจริงเสียชีวิตเพราะสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งไม่มีผู้ดูแลระบบคนใดเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้โดยไร้หลักฐาน สามารถเข้าไปดาวน์โหลดสไลด์ DLT&Blockchain ได้ที่นี่ครับ

อีกหัวข้อหนึ่งจากคุณ Jirayut Nimsaeng ผู้ก่อตั้งบริษัท Opsta ได้นิยามงานของ DevOps ไว้ดังนี้ “DevOps คืองานที่เกิดขึ้นเพื่อย่นระยะเวลาของทั้ง 2 ฝั่งคือ Developer และ Operation โดยต้องลดช่องว่างเมื่อ Dev ส่งโค้ดไปแล้วทาง Server ต้องส่งคำตอบกลับมาบอกว่าโค้ดที่ส่งไปใช้ได้หรือไม่ ติดปัญหาอะไร เช่น โค้ดทำให้ CPU หรือ Ram ใช้งานพีคเป็นต้น” เนื่องจากการเป็น DevOps จะเกี่ยวข้องกับเครื่องมือจำนวนมาก โดยคุณ Jirayut ได้แนะนำเทคนิคส่วนตัวว่าค่อยๆ เริ่มการใช้เครื่องมือที่ใกล้ตัว เช่น หากใครเป็น Operation ก็หาความรู้พวก Infrastructure as a service อย่าง Docker, AWS, Openstack เป็นต้น หรือถ้าเป็น Developer ก็เริ่มใช้เครื่องมือพวกควบคุมการเปลี่ยนแปลงของโค้ด เช่น Github

สุดท้ายแล้วอยากจะฝากถึงน้องๆ หรือคนที่ต้องการเข้ามาเป็น DevOps ว่า “สมัยนี้เราต้องการคนที่ความเข้าใจทั้งสองฝั่งทั้ง Dev และ Ops แม้ว่าจะไม่ได้เจาะลึกที่สุด แต่ต้องเข้าใจในกระบวนการคร่าวๆ เช่น Ops ต้องเข้าใจว่าการเอาโค้ดขึ้นระบบจะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ไปที่ไหนอย่างไรแต่อาจจะไม่ต้องพัฒนาโค้ดยากๆ เอง ฝั่ง Dev เองต้องรู้ว่า Network มันทำงานอย่างไร หรือเรียกว่าทักษะแบบ T Shape นั่นเอง เป็น Expert อยู่อย่างเดียวไม่ได้แล้ว“–  คุณ จิรายุทธ กล่าว สามารถเข้าชมสไลด์ได้ที่นี่

นอกจากนี้ยังมีสไลด์ของเนื้อหาบรรยาย ‘How Kubernetes make Openstack&Ceph better’ ที่ลิ้งนี้ https://www.slideshare.net/mobile/justiceform/how-kubernetes-make-openstack-ceph-better จากคุณ Charnslip Chinprasert จาก Nipa Cloud และสุดท้ายสไลด์ Case Study ของอาจารย์ Wasit Limprasert จากม. ธรรมศาสตร์ เรื่อง Deep Learning

 


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม …