แนะนำ NinjaOne แพลตฟอร์มจัดการ Endpoint อันดับหนึ่งสำหรับองค์กร โดย Crayon

หากคุณเป็นแอดมินหรือทีมงาน Managed Service Provider ที่กำลังมองหาตัวช่วยเพื่อการรีโมตจัดการ Endpoint ให้ลูกค้าหรือภายในองค์กร โอกาสมาถึงแล้ว เพราะในบทความนี้เรากำลังจะพูดถึงคลาวด์แพลตฟอร์ม Remote Monitoring and Management(RMM) อันดับหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘NinjaOne’ โดยมี Crayon (หรือชื่อเดิมที่รู้จักกันในนาม rhipe Technology) เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย

มาติดตามกันว่าอะไรที่ทำให้ NinjaOne ถูกยกย่องให้เป็นเครื่องมือ RMM อันดับหนึ่งจากผลโหวตของผู้ใช้งานมากมาย 

Crayon เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาและบริการนวัตกรรมด้านไอทีที่มีพนักงานกว่า 4,000 คนใน 46 ประเทศ โดยเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมาได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ rhipe ที่ให้บริการด้านไอทีเช่นเดียวกัน จากเวลานั้นผ่านมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ทั้งสองได้ผนึกกำลังกันอย่างสมบูรณ์เพื่อนำส่งนวัตกรรมดิจิทัลที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถข้ามผ่านยุคแห่งความท้าทายทางเทคโนโลยีได้

หนึ่งในโซลูชันที่ Crayon ได้นำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยสักระยะหนึ่งแล้วก็คือ NinjaOne ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางทีมงาน TechTalkThai ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังทีมงานจากทั้งสองที่มาให้ความรู้และนำเสนอโซลูชันอย่างเจาะลึก จึงเป็นที่มาของการส่งต่อความรู้ในครั้งนี้

ในอดีตยุคหนึ่งสมัยหนึ่งก่อนจะมีซอฟต์แวร์สำหรับการรีโมตเกิดขึ้น เชื่อว่าแอดมินหรือผู้ปฏิบัติงานไอทีในสมัยนั้นคงผ่านความยากลำบากมาไม่น้อย เพราะต้องวิ่งเข้าไซต์เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะไม่ว่าปัญหานั้นจะง่ายจนแทบไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาก็ตาม

อนึ่งแม้จะมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ทีมงานไอทีเริ่มมีความสะดวกสบายสามารถรีโมตแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่น TeamViewer, Connectwise ScreenConnect และอื่นๆ ความท้าทายของการดูแล Endpoint ระดับองค์กรก็ยังคงไม่ถูกแก้ไขได้ในทั้งหมด เมื่อพิจารณาจากจำนวน Endpoint ที่ต้องจัดการ และความสามารถในการทำงานโดยอัตโนมัติที่ยังขาดไป

ด้วยเหตุนี้การมีเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาให้สามารถจัดการกลุ่มก้อนของ Endpoint จำนวนมหาศาลได้แบบพร้อมๆกันจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่จะทำให้การบริหารจัดการแบบรีโมตแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ทั้งเรื่องการปฏิบัติการรายวัน เช่น การอัปเดตแพตช์ การ deploy ซอฟต์แวร์บนเครื่อง และการมองเห็นถึงประสิทธิภาพการทำงาน เครื่องที่อยู่ในองค์กร ตลอดจนความสามารถที่จะทำให้งานเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างอัตโนมัติตอบสนองต่อปัญหาได้แบบเรียลไทม์ก่อนที่จะส่งผลร้ายแรงต่อระบบ นั่นจึงเป็นที่มาของโซลูชันในกลุ่ม Remote Monitoring and Management

Remote Monitoring and Management(RMM) มีความหมายอย่างตรงไปตรงมาตามชื่อภาษาอังกฤษข้างต้น 2 ส่วน โดยส่วนแรกหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้แอดมินได้รับข้อมูลจาก Endpoint และเครือข่ายเพื่อประเมินสุขภาพและประสิทธิภาพของการใช้งานที่เกิดขึ้นกับสินทรัพย์ไอทีในองค์กร อีกส่วนหนึ่งคือการช่วยให้แอดมินสามารถปฏิบัติการบางอย่างได้จากทางไกลโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน

กลไกของ RMM มีเพียงการติดตั้ง Agent สำหรับเครื่อง Endpoint เพื่อให้ระบบสามารถสั่งการงานต่างๆไปยังปลายทางได้ โดยนั่นหมายถึงการที่โซลูชันจะต้องรองรับ Endpoint ได้อย่างหลากหลาย ซึ่ง NinjaOne มีคุณสมบัตินี้(ที่จะได้เห็นในหัวข้อถัดๆไป) แต่ประเด็นสำคัญของทั้งหมดก็คือ RMM ได้เปิดทางให้องค์กรสามารถควบคุมดูแลและติดตามกิจกรรมการทำงานของ Endpoint ต่างๆได้แบบรวมศูนย์ มองเห็นภาพรวมที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีและตอบคำถามด้าน Compliance ได้อย่างมั่นใจ ซึ่งหัวข้อด้าน Security เป็นหนึ่งในความแข็งแกร่งนั้น

RMM ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการ Endpoint ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งในการใช้งานที่มี Endpoint จำนวนมาก RMM จะยิ่งมีความคุ้มค่ามากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่แอดมินต้องค่อยๆเข้าไปจัดการเครื่องที่ละเครื่องที่หน้างาน และถ้ามีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ความซับซ้อนจะยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทั้งนี้การจัดการทั้งหมดจะทำได้จาก Console เดียว

หากพิจารณาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น RMM ได้ช่วยแก้ปัญหากิจกรรมทั่วไปของแอดมินได้อย่างมากเช่น

  • การอัปเดตแพตช์บนเครื่อง Endpoint ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวระบบปฏิบัติการร่วมกับแอปพลิเคชันที่ติดตั้งอยู่ภายใน โดยต้องเริ่มตั้งแต่การรู้ให้ได้ว่ามี Endpoint กี่เครื่องที่ขาดการอัปเดต รวมถึงการเรียกคืนแพตช์ในกรณีที่พบข้อผิดพลาดหลังการอัปเดต
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพและสุขภาพของเครื่องปลายทางได้ตลอดเวลา โดยสามารถทำ Policy เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทำให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างอัตโนมัติ พร้อมออกรายงานเพื่อตอบโจทย์ Compliance
  • สามารถสร้างตารางการทำงานอย่างอัตโนมัติ ด้วยสคิร์ปต์ที่แอดมินคุ้นเคย เช่น PowerShell ใน Windows หรือ Shell Script ใน linux เป็นต้น เพื่อสร้างงานการสำรองข้อมูล ตั้งเวลาเพื่อรีสตาร์ทรับการเปลี่ยนแปลงอัปเดต เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆจะกลายเป็นที่ถูกใจของตลาดได้ก็คือความง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งโลกเราเคยได้เห็นแล้วครั้งหนึ่งจากการมาถึงของไอโฟนที่มี UI ที่เข้าใจได้ง่ายเมื่อครั้งอดีต และเช่นเดียวกัน NinjaOne ก็ได้ถูกออกแบบมาด้วยการคำนึงถึงโจทย์นั้นเป็นสำคัญ โดยสำนักจัดอันดับ G2 เผยว่าคะแนนโหวตของ NinjaOne ในแง่มุมต่อการใช้งานนั้นโดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันตัวอื่นๆ

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้คนคาดหวังก็คือ ต้องมีฟังก์ชันครอบคลุมต่อการใช้งาน โดย NinjaOne ทำคะแนนได้ถึง 8.7 และเมื่อประกอบกับคุณภาพของบริการหลังการขายที่คะแนนสูงถึง 9.7 ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ค่าคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าต่อ NinjaOne สูงถึง 98% ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นการการันตีถึงชื่อเสียงที่ NinijaOne ได้สร้างแรงกระเพื่อมที่ตลาดพึงพอใจ

Credit : https://www.g2.com/categories/remote-monitoring-management-rmm

โมเดลของความสามารถของ NinjaOne มีส่วนหลักและส่วนเสริมการใช้งาน(Add-ons) โดยความสามารถหลักที่มีให้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่เข้าใจได้ง่ายๆคือ

1.) Patch Management – เป็นส่วนสำหรับการติดตามแพตช์ระบบอย่างครบวงจรตั้งแต่หน้าแดชบอร์ดเพื่อสรุปผลการแพตช์ของเครื่อง Endpoint ซึ่งครอบคลุมทั้งระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชัน โดยสามารถเก็บ Log และการแจ้งเตือนกิจกรรมการแพตช์ด้วย กลไกอนุมัติการแพตช์ เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาหลังแพตช์ และการรีบูตระบบที่ตั้งเวลาได้

2.) Software Deployment – งานการติดตั้งและติดตามซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวไม่น้อย โดย NinjaOne ช่วยให้แอดมินติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องจำนวนมากได้ในไม่กี่คลิก นอกจากนี้ยังเปิดให้องค์กรสามารถเลือกแอปพลิเคชันเองได้ ตลอดจนการติดตั้งแอปพลิเคชันให้สอดคล้องกับแต่ละ Endpoint ซึ่งโซลูชันจาก NinjaOne สามารถรองรับซอฟต์แวร์ได้หลายร้อยตัวที่เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจ ทั้ง Windows, macOS และ Linux

3.) Monitoring & Alert – การจะจัดการสินทรัพย์ใดๆได้ต้องเริ่มจากการมองเห็นเสียก่อน ซึ่ง NinjaOne สามารถรู้จักกับ Endpoint ในระดับองค์กรได้ทั้ง Windows, macOS, Linux, Hyper-V, VMware และอุปกรณ์เครือข่ายผ่านทาง SNMP รวมถึงเครื่องบนคลาวด์ได้ ในมุมของการแจ้งเตือนยังสามารถทำได้หลายช่องทางทั้งในตัวแอปพลิเคชันของ NinjaOne, ผ่านแอปพลิเคชันมือถือ SMS อีเมล และ ระบบแอปพลิเคชันระดับองค์กรอย่าง Slack หรือ Teams

4.) Scripting & Automation – มีหลายกิจกรรมในชีวิตประจำวันของแอดมินระบบที่ต้องอาศัยการปรับแต่งอย่างพิเศษ ซึ่ง NinjaOne ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานเช่นนั้นได้ เช่น การจัดการ Antivirus, Backup และ การตั้งกำหนดการงานในช่วงเวลาต่างๆที่อาจต้องทำนอกเวลาทำการ

นอกเหนือจากการบริหารจัดการโดยภาพรวมแล้ว อีกหนึ่งในเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับงานแก้ปัญหาในระยะไกลก็คือการรีโมตเพื่อจัดการเครื่องด้วยเครื่องมือ Remote Access ซึ่ง NinjaOne ได้นำเสนอแง่มุมนี้ด้วยการทำงานร่วมกับเครื่องมือยอดนิยมในท้องตลาดหลายตัวอย่าง Connectwist ScreenSonnect, Splashtop, Teamviewer และ RDP โดย NinjaOne ได้เติมเต็มเหนือเครื่องมือเหล่านี้ในแง่ของการบริหารจัดการและความมั่นคงปลอดภัย

อีกหนึ่งงานสำคัญที่ผู้ใช้งาน NinjaOne สามารถทำได้ทันทีจากความสามารถของแพลตฟอร์มก็คือการสำรองข้อมูล ซึ่งอยู่ในลักษณะของ Add-ons โดยถือเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ดูแลระบบ ข้อดีคือท่านไม่ต้องมองหาเครื่องมือจาก Third-party เข้ามาเพิ่มความซับซ้อนในการดูแล

Bitdenfender ถือเป็นกลุ่มผู้นำในตลาดผลิตภัณฑ์ Antivirus มาอย่างยาวนาน ซึ่งยากที่จะสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ได้ โดย NinjaOne ได้อาศัยการผนวกการจัดการโซลูชัน Antivirus ของ Bitdefender เข้ามาจัดการในหน้าคอนโซลได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถป้องกันเครื่อง Endpoint ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้ามาใช้งานในองค์กรได้อีกด้วย

จากข้อมูลข้างต้นเราได้พาทุกท่านไปรู้จักกับประโยชน์และสาเหตุที่ท่านควรมีเครื่องมือเพื่อรีโมตบริหารจัดการ Endpoint ในองค์กร เนื่องจากช่วยลดงานของแอดมินได้เป็นอย่างมหาศาล ทั้งนี้ NinjaOne ได้นำเสนอโซลูชันที่เน้นการใช้งาน ฟังก์ชันครอบคลุมงานสำคัญๆไว้ภายในเครื่องมือเดียว ทั้งการควบคุมดูแลและติดตามการทำงาน บริหารจัดการ และแก้ปัญหาไว้อย่างครบครัน การันตีด้วยเสียงตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดีจากการจัดอันดับของ G2

ในมุมเทคนิค NinjaOne โดดเด่นตรงที่สามารถช่วยจัดการงานในชีวิตประจำวันของแอดมินได้อย่างครอบคลุม ทั้ง Patch Management, Software Management และ การแจ้งเตือน เสริมด้วยการทำงานอัตโนมัติด้วยสคิร์ปต์ที่คุ้นเคย ซึ่งหากต้องการความสามารถเสริมก็สามารถเปิดใช้เพิ่มได้ในลักษณะของ Add-ons จับคู่กับพันธมิตรที่มีความเก่งเฉพาะตัวอยู่แล้วทั้งในด้านของ Remote Access Tools และ Antivirus

สำหรับผู้สนใจ NinjaOne ทั้งในรูปแบบของ Managed Service ที่มีการดูแลลูกค้าแบบ B2B หรือการเป็น SI ที่ต้องการนำไปจัดการให้ลูกค้าของตน สามารถลงทะเบียนเพื่อเป็น Partner กับ Vendor ได้ที่ https://www.ninjaone.com/partner-program/

โดยการจำหน่ายและทำตลาดในประเทศไทยทาง Crayon พร้อมให้คำปรึกษาและดูพาร์ทเนอร์ทุกราย สนใจสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่

Crayon (Thailand) Co., Ltd.
88 The Parq Building, 7th Floor Room No.07-133 (WeWork)
Ratchadaphisek Road, Klongtoey Sub-district, 
Klongtoey District, Bangkok 10110
Email: contacts.th@crayon.com
Tel: +66 2 156 0303

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ขอเชิญร่วมงาน AWS Summit Bangkok 2025 สัมนนาใหญ่อัปเดต AWS พร้อมฉลองครบรอบ 10 ปี AWS ประเทศไทย [29 เม.ย. 2025]

AWS ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปี 2025 กับงาน AWS Summit Bangkok 2025 พร้อมการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของ AWS ประเทศไทย ด้วยการอัปเดตเทคโนโลยี นวัตกรรม …

Esri ชู ArcGIS แพลตฟอร์มวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เสริมแกร่งด้วย AI พร้อมใช้งานบน Cloud ได้อย่างมั่นใจ

Digital Transformation คือสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะ “ข้อมูล” คือหัวใจสำคัญที่จะต้องนำมาใช้ประโยชน์หรือหาข้อมูลเชิงลึก หากแต่เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบทั่วไปจะยังไม่เพียงพอต่องานในอีกหลายแขนง เช่น การวางแผนเมือง จัดการน้ำท่วม หรือโครงข่ายพลังงาน เป็นต้น นี่จึงเป็นที่มาของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS มากขึ้นเรื่อย …