นักวิจัยจากญี่ปุ่นได้นำเสนอผลงานวิชาการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสร้างสถิติใหม่ของการส่งข้อมูลที่ 319 เทระบิตต่อวินาที

ในเชิงของตัวเลขนั้นสถิติเดิมเมื่อปี 2020 บันทึกไว้ที่ 178 เทระบิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าวิธีการใหม่นี้สร้างสถิติใหม่เกือบเท่าตัว โดยนักวิจัยได้ทดลองวิธีการประสบความสำเร็จบนสายไฟเบอร์ออปติก ระยะทางกว่า 1,864 หรือกว่า 3,000 กิโลเมตร
ในทางเทคนิคนักวิจัยได้ใช้สายไฟเบอร์แบบพิเศษที่ภายในมี 4 Core โดยขั้นแรกจะทำการแบ่งการส่งข้อมูลผ่านหลายๆย่านสัญญาณ พร้อมกันด้วยเทคนิค WDM (wavelenght-division multiplexing) ทั้งนี้จะมีการยิงส่งสัญญาณใน 552 ชาแนลในหลายย่ายสัญญาณ รวมถึงมีการใช้เทคนิค dual polarization modulation (ทำให้แสงกระทบคนละมุม) ทำให้แสงในบางย่านสัญญาณจะออกไปก่อน เพื่อสร้าง Sequence ที่หลากหลาย ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่ถูกส่งตรงเข้ากับ Core หนึ่งในสาย
นอกจากนี้ทุกระยะราว 70 กิโลเมตร ข้อมูลจะถูกขยาย (Amplification) ให้ส่งต่อได้ไกลขึ้น ด้วยวิธีการใหม่ผ่าน thulium-doped และ erbium-doped ก่อนส่งต่อไปให้วิธีการ Amplification แบบเดิมๆ Raman Amplification ซึ่งทั้งหมดถูกแสดงอยู่ในงานวิจัยที่ชื่อ ‘319 Tb/s Transmission Over 3001 km With S, C and L Band Signals Over >120nm Bandwidth in 125 μm Wide 4-Core Fiber‘ ประเด็นคือสายไฟเบอร์ 4 Core ที่ใช้ทดลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับสายไฟเบอร์ 1 Core ทั่วไป นั่นหมายความว่ามีโอกาสต่อยอดใช้งานได้จริงในอนาคต
ที่มา : https://interestingengineering.com/japan-shattered-internet-speed-record-319-terabits