Microsoft พัฒนา Windows Server 2016 รุ่น ARM สำเร็จแล้ว ทำงานกับ Qualcomm Centriq ได้

ในงาน OCP Summit 2017 ทาง Microsoft ร่วมกับ Qualcomm ได้ออกมาเปิดเผยถึงความสำเร็จในการพัฒนา Microsoft Windows Server 2016 ให้รองรับต่อสถาปัตยกรรม ARM ได้เป็นที่เรียบร้อย

Credit: https://www.theregister.co.uk/2017/03/08/microsoft_windows_server_qualcomm/

ในงานได้มีการสาธิตการใช้งาน Microsoft Windows Server 2016 บน ARM Server ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับโครงการ Open Compute Project (OCP) ที่ติดตั้งหน่วยประมวลผล Qualcomm Centriq 2400 ขนาด 64-core ทำให้อนาคตนั้น ARM ก็สามารถที่จะรุกเข้าสู่ตลาด Data Center ระดับองค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลัก แข่งขันกับสถาปัตยกรรม x86 จาก Intel ที่กำลังขับเคี่ยวกับ AMD อยู่ในขณะนี้

จริงๆ แล้วทิศทางนี้ไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก เพราะก่อนหน้านี้ Microsoft ก็ได้รองรับ ARM ใน Windows 10 ไปแล้ว และ Microsoft เองที่ร่วมโครงการ OCP ก็พยายามสนับสนุน CPU ค่ายต่างๆ และสถาปัตยกรรมใหม่ๆ มาโดยตลอด เพื่อเปิดทางเลือกใหม่ๆ ให้กับตลาด Data Center ทั่วโลกมากขึ้นด้วยนั่นเอง

ทั้งนี้ Qualy ธุรกิจออกแบบชิปนั้น ก็ได้ส่งแผนผังของ Centriq Motherboard รุ่นที่สามารถทำงานกับ Microsoft Project Olympus ระบบ Open Compute Server ให้กับทาง OCP อยู่ และถ้าหากกรรมการตรวจสอบว่าผ่านแล้ว ผังนี้ก็จะถูกเปิดเผยเป็น Open Source ให้เราได้ศึกษาและนำไปใช้งานกันในอนาคต

ส่วนผู้ที่รอคอย Microsoft Windows Server 2016 บน ARM อาจต้องรออีกซักพัก เพราะปัจจุบันทาง Microsoft ยังใช้งานกันเป็นการภายในเท่านั้นอยู่

 

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2017/03/08/microsoft_windows_server_qualcomm/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน