Leadership Vision: แนวโน้มระบบ Enterprise Storage สำหรับปี 2021 บทสัมภาษณ์คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ แห่ง NetApp

ข้อมูลกลายเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ แล้วระบบ Enterprise Storage ที่จะตอบโจทย์ธุรกิจของอนาคตได้ควรเป็นอย่างไร? บทบาทของ Storage ท่ามกลางโลก Hybrid Work นี้คืออะไร?

พบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ใน “Leadership Vision: แนวโน้มระบบ Enterprise Storage สำหรับปี 2021” บทสัมภาษณ์คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ แห่ง NetApp

ผู้ถูกสัมภาษณ์: คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์

บริษัท: NetApp (Thailand) Company Limited

ตำแหน่ง: กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ช่องทางการติดต่อ:

1. ในปี 2020 ที่ผ่านมาแนวโน้มของการลงทุนด้านระบบ Storage ในธุรกิจองค์กรไทยเป็นอย่างไร? และในปี 2021 นี้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิตอลเป็นเรื่องที่ธุรกิจไทยล้วนให้ความสำคัญ และในช่วงเวลาของการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างทุกวันนี้ คนไทยเองก็พึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิตอลในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น การสั่งอาหารผ่านบริการดิลิเวอร์ลี การเรียกรถรับส่ง และการใช้แอพพลิเคชันเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นจำนวนข้อมูลสะสมในโลกออนไลน์จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน ซึ่งส่งผลให้ตลาดมีรายได้จากระบบการเก็บข้อมูลดิจิตอล สูงขึ้นถึง 10.5 พันล้านบาทในปี 2020 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกถึง 10.8 พันล้านบาทในปี 2021 ตอนนี้ก็ผ่านปี 2021 มาครึ่งทางแล้ว เราจึงหวังว่าแนวโน้มของระบบการเก็บข้อมูลดิจิตอลดังต่อไปนี้ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนสุดปี 2021

แนวโน้มประการแรก รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นขึ้น ดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่จะยังคงใช้โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลจากซอฟต์แวร์ที่ยังพึ่งพาการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในขณะเดียวกันก็นำซอฟต์แวร์มาช่วยประสานงานและลดความซับซ้อนของระบบข้อมูล ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถลดการพึ่งพาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจนลงได้ หน่วยการจัดเก็บข้อมูลจากซอฟต์แวร์นี้ ไม่ได้เพียงแค่ทำให้สามารถใช้งาน x86 servers ได้เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการล็อคอินจากผู้ขาย เพิ่มชั้นความปลอดภัยภายทางไซเบอร์ (cybersecurity) จัดเตรียมข้อมูลอัตโนมัติ และสามารถปรับขนาดความจุตามความต้องการได้อีกด้วย

แนวโน้มถัดมา ธุรกิจจำนวนมากกำลังย้ายฐานข้อมูลเข้าสู่ระบบคลาวด์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามรถเข้าถึงตัวข้อมูลได้จากหลากหลายช่องทาง และเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการรวบรวม แยก และจัดเก็บข้อมูลได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากระบบภายในตัวองค์กร บนระบบคลาวด์ หรือใช้งานข้ามผ่านคลาวด์ก็ตาม ดังนั้นเครื่องมืออย่าง Kubernetes จะเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะสามารถช่วยจัดการปริมาณข้อมูลบนระบบคลาวด์แบบไฮบริดได้ และช่วยให้องค์กรใช้งานการจัดวางข้อมูลตามนโยบายของแต่ละองค์กร ผ่านพื้นที่จัดเก็บที่หลากหลายและข้ามผ่านคลาวน์ได้แบบอัตโนมัติ

แนวโน้มสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เนื่องจากเราจะเห็นได้ว่า flash storage ระดับองค์กรนั้นมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดหวังว่าธุรกิจต่าง ๆ จะลดการใช้ flash storage ระดับองค์กร ลงอีกเท่าหนึ่ง และใช้งานในพื้นที่จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงลดการใช้พลังงานและค่าจ่ายใช้ลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะสอดคล้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมและเสริมความเรียบง่ายในการใช้งานจริงให้มากขึ้น

2. บทบาทของเทคโนโลยี Enterprise Container และ Kubernetes ที่มีต่อธุรกิจไทยเป็นอย่างไร? และประเด็นนี้ได้สร้างความท้าทายใหม่ๆ บนโลกของ Storage อย่างไรบ้าง?

องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในไทยเริ่มนำเทคโนโลยี Kubernetes มาใช้งานเป็นเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อใช้ส่งข้อมูลที่ทันสมัยผ่านแอพพลิเคชันบนระบบคลาวด์ ที่มาพร้อมความเร็ว ความยืดหยุ่น และความคล่องตัวตลอดการใช้งาน นอกจากสามารถช่วยให้การจัดการคลังข้อมูลคอนเทนเนอร์และการบริการเป็นไปตามมาตรฐานและสะดวกต่อการใช้งานแล้วนั้น เทคโนโลยี Kubernetes ยังช่วยให้ผู้สร้างแอพพลิเคชันสามารถผลิตและปล่อยแอพพลิเคชันแบบพกพาที่ใช้งานได้บนทุกโครงสร้างตั้งแต่ข้อมูลรอบนอกไปจนถึงข้อมูลส่วนกลางบนคลาวด์ อย่างไรก็ตามถึงแม้ Kubernetes จะใช้งานได้บนแอพพลิเคชันแบบไม่ครบวงจร (stateless applications) – ซึ่งหมายถึง ‘ปรับขนาดได้ในแนวนอน’ โดยเชื่อมการใช้งานในแต่ละหน่วย (ชุดคอนเทนเนอร์จะใช้งานและปรับขนาดเข้าด้วยกัน) – แต่แอพพลิเคชันแบบครบวงจร (stateful applications) นั้นต้องการเครื่องการันตีว่าพื้นที่เก็บข้อมูลที่จะปลอดภัยและทนทานตลอดการใช้งาน เพราะส่วนใหญ่แล้วแอพพลิเคชันแบบครบวงจรจะใช้เก็บข้อมูลส่วนสำคัญของธุรกิจที่ไม่ต้องการให้ข้อมูลเกิดความสูญเสียหรือสูญหายเป็นอันขาด

สำหรับเทคโนโลยี Kubernetes นั้น persistent volumes ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มการดูแลข้อมูล และสามารถสร้างได้โดยใช้ storage provisioners จากหลายแหล่งช่องทาง ซึ่งบริการจัดเก็บข้อมูลที่แท้จริงของแต่ละ provisioners interfaces จะมาพร้อมกับหน้าที่รับผิดชอบการปกป้องข้อมูล เช่น มีระบบสำรองและเรียกคืนข้อมูล (backup and restore) และระบบการจัดการข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น นอกจากนี้ persistent volumes ของเทคโนโลยี Kubernetes ยังสามารถใช้สร้างชั้นช่องว่างระหว่าง pods และพื้นที่เก็บข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งทำให้สามารถแยกส่วนจัดการข้อมูลได้ ตัว pods ข้อมูลนี้จะใช้ persistent volumes claims เพื่อช่วยจัดหา storage ที่เหมาะสมกับ persistent volumes นั้น ๆ ผ่าน cluster ของ Kubernetes โดยการใช้ claim แบบ ‘คงไว้’ (retain) นั้น ตัว persistent volumes จะไม่ถูกลบหลังจากที่มีการใช้ persistent volumes claim แล้ว ดังนั้น หากเกิดกรณีสูญเสียข้อมูลระหว่างการย้าย pods ไปใส่ node ตัวอื่น เราก็ยังสามารถคงการเชื่อมต่อหรือเรียกคืนระหว่าง pod กับ storage ได้ ซึ่งการสร้าง persistent volumes ที่เหมือนกันไว้ก่อนหน้า จะเรียกว่า static provisioning ซึ่งต้องอาศัยค่าใช้จ่ายในการดูแลลระบบมากกว่า dynamic provisioning ที่สามารถปรับใช้กับ storage เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้อง persistent volumes ได้แบบอัตโนมัติ ทั้งนี้แอพพลิเคชันแบบครบวงจรสามารถใช้ประโยชน์จาก dynamic provisioning ได้อย่างครบวงจรเช่นกัน เพราะสามารถใช้รูปแบบการ claim volume เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลและเชื่อมโยงไดรฟ์ข้อมูลที่ได้รับเข้าไปใน pod ที่ต้องการได้โดยถาวร และหากพูดถึงกรณีของทั้งแบบ static และ dynamic provisioning แล้วนั้น แอพพลิเคชันแบบครบวงจรต้องการตัวเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้ กล่าวคือ storage นั้นต้องต้านทานได้หากระบบล่ม หรือมีระบบสำรองและเรียกคืนข้อมูลในตัวนั่นเอง โดยเครื่องมือและระบบอำนวยความสะดวกทั้งหมดนี้ จะไม่ได้ถูกจัดเตรียมโดย Kubernetes แต่จะมีให้สำหรับ provisioners ที่ใช้งานและมีอยู่ใน storage backend แทน ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องหาโซลูชันภายนอกเพื่อจัดการข้อมูล เช่น Trident, หน่วยคลาวด์บน ONTAP และ NetApp Astra เพื่อช่วยจัดการเพิ่มต่อไป

NetApp Trident คือ ระบบการให้พื้นที่จัดเก็บแบบไดนามิก (dynamic storage provisioner) สำหรับเทคโนโลยี Kubernetes ซึ่งเข้ามาช่วยเติมเต็ม persistent volume claim ที่ใช้งาน storage ที่จัดการโดย Cloud Volumes ONTAP ควบคู่ไปพร้อมกับระบบการจัดเก็บข้อมูลตัวอื่นในตัว NetApp เอง การใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ ส่งผลให้ผู้ใช้งานปลายทางของ Cloud Volumes ONTAP ได้เปรียบในเรื่องการป้องกันข้อมูลและการจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูล โดย Trident จะช่วยจัดหา persistent container storage อันใหม่ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการข้อมูลทั้งหมดของ NetApp ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้ชุดอุปกรณ์แบบครบวงจรนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการนำแอพพลิเคชันแบบครบวงจรมาใช้งานจริง เพราะสามารถเรียกใช้การดูแลและจัดเตรียมระแบบได้แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่ pod อันหนึ่งภายในวงจรแบบสมบูรณ์นี้พังลง Kubernetes จะเชื่อมโยงหน่วยอินสแตนส์ใหม่ใน pod ให้เข้าไปใน persistent volume แบบไดนามิกที่วงจรกำลังเรียกใช้ก่อนหน้านี้ให้โดนอัตโนมัติ นอกจากนี้ หากใช้ NetApp Astra ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแรกของโลกที่มีการจัดการข้อมูลในแอพพลิเคชันอย่างเต็มรูปแบบสำหรับระบบเทคโนโลยี Kubernetes แบบครบวงจร จะช่วยจัดการ ป้องกัน และเคลื่อนย้ายแอพพลิเคชัน Kubernetes ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งภายในและข้ามมัลติคลาวด์แบบไฮบริด อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาด้านการป้องกันข้อมูล การกู้คืนข้อมูล ตรวจสอบ และยกย้ายข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับแอพพลิเคชันสมัยใหม่ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจขององค์กรอีกด้วย

3. การมาของ AI Infrastructure ส่งผลอย่างไรต่อธุรกิจองค์กรไทยบ้าง?

เราจะเห็นได้ว่าองค์กรต่าง ๆ จากหลากหลายส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้พยายามนำระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้า ปลุกความตื่นตัวในสนามการแข่งขันธุรกิจ และลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ลงได้เมื่อมี AI เข้ามาแทนที่ แต่ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน AI ด้านการให้ข้อมูลอัตโนมัติ ด้านการเป็นต่อด้านการบำรุงรักษาที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ หรือเพื่อการมุ่งเน้นการวิจัยทางการแพทย์ก็ตาม การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จจากการใช้งาน AI ก็ยังต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่นและทันท่วงที ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยหลักที่บ่งชี้รูปแบบ ช่วยพัฒนาการคาดคะเนข้อมูลเชิงลึก และช่วยให้ระบบอัตโนมัติมีความแม่นยำเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่เราควรคำนึงถึงนั้นไม่ได้อยู่แค่ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บในฐานข้อมูลหลากรูปแบบเท่านั้น แต่จริงๆแล้วเราควรตระหนักว่า ข้อมูลมีอยู่ทุกที่ – ผ่านพื้นที่จัดเก็บที่หลากหลายบนระบบคลาวด์แต่ละแบบ และยังอยู่ในศูนย์ข้อมูลกลางของแต่ละแหล่งอีกด้วย โดยในความเป็นจริงแล้ว ตัวถังเก็บข้อมูลและความซับซ้อนทางเทคโนโลยีเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการนำ AI มาใช้ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบด้วยผู้ขายหลายรายและซอฟต์แวร์ที่เปิดให้คนภายนอกใช้งานได้ (open-source software) ต้องอาศัยทักษะพิเศษที่ไม่เหมือนกันในแต่ละองค์กร ในปัจจุบันธุรกิจจำนวนมากพยายามเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลในภายองค์กร (in-house data analysis) เพื่อต่อยอดธุรกิจ แต่องค์กรก็ไม่สามารถใช้รูปแบบการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานได้หากไม่มีแพลตฟอร์มไอทีที่เหมาะสม ดังนั้นองค์กรจึงต้องอาศัยผู้ที่สามารถออกแบบ กำหนด ติดตั้ง และสนับสนุนผลลัพธ์และทิศทางตามที่ต้องการ ซึ่ง NetApp เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงจับมือกับ NVIDIA เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ ยกตัวอย่างเช่น ระบบ NetApp ONTAP AI ควบคู่กับ ระบบ NVIDIA DGX™ A100 จากเครื่องประมวลผล AMD EPYC™ รุ่นที่สอง, NetApp AFF A-Series all flash storage, เครือข่าย NVIDIA, และอุปกรณ์ซอฟต์แวร์ขั้นสูงที่ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลอัดแน่นรบอนอก รวมถึงบนคลาวด์ เพื่อช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งาน AI ได้อย่างเต็มที่และรวมการใช้งานบนระบบคลาวด์อย่างราบรื่น เป็นต้น ทั้งนี้องค์กรสามารถเข้าถึงการทำงานแบบใหม่ที่ใช้งานง่าย และนำ AI มาใช้กับธุรกิจในการปฏิบัติงานจริงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งโซลูชันโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบครบวงจรนี้สามารถใช้ได้กับหลากหลายองค์ประกอบตามที่แต่ละองค์กรเห็นว่าเหมาะสมต่อปริมาณงานของ AI อีกทั้งการจัดซื้อจัดหาองค์ประกอบ การติดตั้ง และการจัดการระบบใหม่ให้เข้ากับความต้องการขององค์กรนั้น จะเป็นไปได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับความต้องการใช้งานมากที่สุดอย่างแน่นอน

4. ในอนาคตถัดจากนี้ไป ภาพของ Enterprise Storage จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด?

ระบบคลาวด์ DevOps, Everything-as-a-Service และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังเติบโตเช่น Kubernetes กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้ไอทีและปรับใช้แอพพลิเคชันที่ทันสมัย ความท้าทายที่สำคัญสำหรับทีมไอทีในปัจจุบัน คือการกำหนดวิธีที่พวกเขาส่งมอบพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลสำหรับสภาพแวดล้อมใหม่เหล่านี้ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทใดที่จะส่งผลต่อวิศวกรและผู้ดูแลระบบจัดเก็บข้อมูล ในขณะเดียวกัน ทีมไอทียังต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความจุ และความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือผู้บริโภคและความต้องการของบริการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นในการบริการ

ปัจจุบัน ทีมไอทีจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความเร็วของการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มมูลค่าสูงสุดของระบบแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับใช้แอพพลิเคชันที่รวดเร็วและต่อเนื่อง ในการทำเช่นนี้ทีมไอทีต้องใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์แบบไฮบริดที่จัดการผ่านแนวทางปฏิบัติของ Kubernetes และ DevOps โดยใช้โครงสร้างที่ใช้ไมโครเซอร์วิสที่ทำงานในคอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ด้วยความก้าวหน้าเหล่านี้ทำให้ผู้ที่เราพิจารณาว่าเป็น “ผู้ใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูล” (storage consumer) เปลี่ยนแปลงไปจากมุมมองของ NetApp โดยเราเปลี่ยนแนวทางเพื่อมุ่งเน้นในการมอบอิสระเพื่อการจัดเก็บข้อมูลผ่านโซลูชันอัตโนมัติสำหรับกระบวนการของระบบที่ใช้บริการพื้นที่จัดเก็บตามความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบัน ทีมไอทีควรให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรฐาน กฎ และระบบอัติโนมัติที่แพลตฟอร์มใช้เพื่อเก็บข้อมูล โดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่จัดเตรียมทรัพยากรหน่วยเก็บข้อมูลแต่ละรายการ เช่น ไดรฟ์ข้อมูล (volumes) เป็นต้น

ในขณะที่ลูกค้าของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและระบบอัตโนมัติก็มีความสำคัญต่อการให้บริการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย ดังนั้นเราจึงต้องทำเช่นกัน การสร้าง การบำรุงรักษา และการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานหน่วยเก็บข้อมูลแบบไดนามิกที่เข้าถึงได้จากโปรแกรมโดยกระบวนการบริการตนเองจำเป็นต้องใช้ทีมไอทีในการพัฒนาทักษะทางเทคนิคใหม่ ๆ นโยบายกำหนดค่าควรกำหนดไว้ในโค้ดและนำไปใช้กับระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ทีมไอทีมักพบว่าตัวเองกำลังสร้างโค้ดบางส่วนที่ใช้โดย orchestrator (ลูกค้า) เพื่อจัดเตรียมส่วนประกอบหน่วยเก็บข้อมูล ในฐานะผู้จัดการฝ่ายไอทีหรือวิศวกรจัดเก็บข้อมูล เราจำเป็นต้องใช้ทักษะใหม่ ๆ ที่เสริมสร้างจากความรู้ด้านการจัดเก็บข้อมูลของเรา สิ่งสำคัญคือต้องสร้างทักษะและความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่น Ansible และ Python และทำความเข้าใจเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ใหม่ ๆ เช่น Kubernetes เป็นต้น และกุญแจสำคัญคือเราต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เปิดใช้งาน เร่งความเร็ว และตอบโต้กับโครงสร้างพื้นฐานของ storage ได้อย่างไร นอกจากนี้ทักษะการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่จะยังคงมีความเกี่ยวข้อง แต่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานเป็นรหัส เราจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่ “ผู้บริโภค” ใหม่ และพัฒนาชุดทักษะของเรา คำแนะนำของผมสำหรับทีมไอทีวิศวกรจัดเก็บข้อมูลและผู้ดูแลระบบ คือ ไปเรียนรู้การเขียนโค้ด เรียนรู้วิธีจัดการโครงสร้างพื้นฐานของคุณด้วยโค้ด และทำความคุ้นเคยกับคุณสมบัติและเทคโนโลยีที่มีให้จากแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูล เช่น NetApp ONTAP โมดูล Ansible สำหรับ NetApp ONTAP ซอฟต์แวร์ NetApp Element และระบบ NetApp E-Series

5. NetApp จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยมั่นใจในความมั่นคงของข้อมูลได้อย่างไรบ้าง? ทั้งในเชิงของการปกป้องข้อมูลสำคัญจากการถูกโจมตีหรือถูกขโมย และการทำให้ข้อมูลสำคัญของธุรกิจนั้นยังคงสามารถถูกเข้าถึงและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง?

เนื่องจากปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากทำงานจากที่บ้านโดยนำข้อมูลของบริษัทและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้าไปไกลเกินขอบเขตขององค์กรแบบดั้งเดิม ดังนั้นการทำงานจากระยะไกลจึงตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ เพราะข้อมูลคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร และข้อมูลคือหัวใจสำคัญของ Zero Trust ซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาความปลอดภัยด้วยคำสั่งที่ไม่ผูกมัด “ยืนยัน แต่ไม่เชื่อใจ” ผู้ที่สมัครZero Trust – รวมถึง NetApp ด้วย – รับทราบว่าการควบคุมความปลอดภัยควรใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด และเหนือสิ่งอื่นใดนั้น การจัดการความปลอดภัยที่ดีควรได้รับการกำหนดไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลที่ดี ซึ่งควรอยู่ในทุกขั้นตอนของเส้นทางการรักษาความปลอดภัย ตั้งแต่การป้องกันไปจนถึงการตรวจจับเพื่อตอบสนอง และการได้รู้ว่าข้อมูลของคุณอยู่ที่ไหน รู้วิธีดึงข้อมูล และการทำงานร่วมกันระหว่างและนอกขอบเขตขององค์กร สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญต่อการปกป้องข้อมูลของคุณและข้อมูลที่มีค่าที่สุดของลูกค้า โดย NetApp มีแนวทางปฏิบัติที่ดีมากมายที่ธุรกิจควรนำไปปฏิบัติ โดยมีสามประการที่ผมอยากจะเน้น ดังนี้:

  • ประการแรก: โซลูชันการเข้ารหัสและการจัดการคีย์ที่ยืดหยุ่น ที่จะช่วยป้องกันข้อมูลที่ละเอียดอ่อนทั้งภายในองค์กร ในระบบคลาวด์ และระหว่างการส่งต่อ ในความเป็นจริงแล้วการเข้ารหัสจะมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อระบบสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐาน และระบบจะปลอดภัยอย่างแท้จริงก่อเมื่อใช้งานได้ในขณะส่งต่อข้อมูล ดังนั้น ด้วยโซลูชันต่าง ๆ เช่น NetApp Volume Encryption ที่สร้างขึ้นใน ONTAP องค์กรต่าง ๆ จะสามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพผ่านการเข้ารหัสไดรฟ์ข้อมูลใด ๆ บนระบบ AFF หรือ FAS โดยไม่จำเป็นต้องใช้ดิสก์เพื่อเข้ารหัสพิเศษ นอกจากนี้คุณสมบัติอื่น ๆ เช่น การพิสูจน์ตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multifactor Authentication) การควบคุมการเข้าถึงตามบทบาท (RBAC) และการจัดการข้อมูลสำคัญทั้งภายในและภายนอก จะสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลได้ ไม่ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายหรืออยู่ที่ใดก็ตาม
  • ประการที่สอง: ที่ตั้ง การทราบตำแหน่งของข้อมูลจะทำให้คุณสามารถเลือกสรรสิ่งที่จะเก็บ วิธีจัดประเภท และวิธีให้สิทธิการเข้าถึงได้ รวมถึงการพิจารณาข้อมูล และระดับความะเอียดอ่อนเกี่ยวเนื่องกับกฎระเบียบของรัฐบาล เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถวางมาตรฐานการป้องกันที่เหมาะสมได้
  • ประการที่สาม: การเข้าถึง การเข้าถึงไม่เท่ากับความไว้วางใจ ซึ่งแปลว่าเราควรใช้หลักการให้เรียบง่ายที่สุด โดยให้สิทธิการเข้าถึงพื้นฐานในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการใช้งานฟังก์ชันเฉพาะเท่านั้น โดย NetApp Data ONTAP มีบทบาทในการควบคุมการเข้าถึงที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับผู้ดูแลระบบ cluster และ Storage Virtual Machine (SVM) ทำให้คุณสามารถสร้างบทบาทการควบคุมการเข้าถึงเพิ่มเติมสำหรับ cluster หรือ SVM และปรับแต่งการเข้าถึงคำสั่ง หรือ command directories ได้

กล่าวได้ว่า ในยุคของ AI และการเรียนรู้เพื่อใช้เครื่องกลต่าง ๆ อย่างในปัจจุบัน หลายองค์กรแสวงหาการเปลี่ยนแปลงเพราะต้องการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ องค์กรที่ชาญฉลาดเริ่มใช้เครื่องมือเพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ไซเบอร์นับล้าน และใช้ในการระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นเพื่อพัฒนากลยุทธ์การป้องกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้นั้นแปลว่าบริษัทต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างข้อมูลที่ขจัดปัญหาคอขวด และช่วยให้มี model iteration ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้การออกแบบโครงสร้างข้อมูลนั้นเชื่อมโยงถึงการคิดแบบองค์รวมในเรื่องของท่อส่งขอมูล ตั้งแต่การนำเข้าข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากส่วนรอบนอก ไปจนถึงการจัดเตรียมข้อมูล การฝึกอบรมในศูนย์ข้อมูลหลัก และการเก็บแบบถาวรในระบบคลาวด์ ดังนั้น เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพของชุดข้อมูล และบริการข้อมูลที่จำเป็น ทั้งหมดนี้คือตอนที่ข้อมูลของ NetApp ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมและชุดบริการข้อมูลที่ให้ความสอดคล้องกันในตัวเลือกของอุปกรณ์ปลายทางที่ครอบคลุมภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์หลายแบบเข้าด้วยกัน กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยนำพาองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ไปสู่การรักาและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างที่ต้องการ ทั้งด้านความปลอดภัย รวดเร็ว และเต็มประสิทธิภาพ


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

งานสัมมนา : สร้างระบบธุรกิจให้กับองค์กร ด้วย Sage 300 ERP on Huawei Cloud

เรียนเชิญท่านลูกค้าที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา : Digital Transformation for your Business with Sage 300 ERP on Cloud   ERP – Manufacturing – Barcode …

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาออนไลน์ “SAP SuccessFactors Second Half 2023 Release Highlight” 21 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 – 11.00 น.

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างมาก นอกจากกการมีทีมงาน HR มืออาชีพเพื่อมาพัฒนาบุคลากรในองค์กรแล้ว การมีระบบหลังบ้านที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับ HR ในปัจจุบัน