คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดรับสมัคร ป. โท–เอก ภาคการศึกษา 1/2559 พร้อมทุนการศึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท – เอก (หลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่) ภาคการศึกษาที่ 1/2559 มีให้เลือกเรียนทั้งแบบ Workshop พร้อม Certificate และแผน ก พร้อมทุนสนับสนุนการวิจัย เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 13 มิถุนายน 2559 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www4.sit.kmutt.ac.th/content/Master-PHD1-2559
Link การรับสมัคร: http://admission.kmutt.ac.th/master/archives/8772
สอบถามเพิ่มเติม: info@sit.kmutt.ac.th หรือ โทร. 024709850, 024709882
Website: https://www4.sit.kmutt.ac.th/
Facebook: https://www.facebook.com/SIT.Family
หมายเหตุ: ทุกหลักสูตรมีทุนสนับสนุนการวิจัยของคณะฯ http://www4.sit.kmutt.ac.th/student/node/1958 และทุนการศึกษาจากมจธ. http://www.kmutt.ac.th/financialaid/

kmutt_poster_A3_June

 

ระดับปริญญาโทจัดการเรียนการสอนเป็น 5 หลักสูตร ดังนี้

  1. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
  3. หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
  4. หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  5. หลักสูตรชีวสารสนเทศ (ร่วมกับคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ.)

 

ข้อมูลหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

  1. รับผู้จบปริญญาตรีทุกสาขา
  2. เป็นหลักสูตรนอกเวลาราชการสามารถเลือกเรียนได้ทั้งภาคค่ำ (ช่วงเย็นหลังเลิกงาน) ภาคเสาร์ – อาทิตย์
  3. เน้นให้ความรู้ใน 3 แขนง สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีเครือข่าย และการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. เน้นพัฒนาทักษะทางด้านวิชาชีพเพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้จริง
  5. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน หรือการเรียนเสริมทางสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์
  6. มีให้เลือกเรียนทั้งแบบแผน ก (การทำวิจัย) และ Workshop + IS Report การเรียนด้านสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์กับองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัทออราเคิลคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัทไมโครซอฟท์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 16,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 1,800 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ / ซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  • นักวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล
  • นักเขียนโปรแกรมประยุกต์
  • ผู้ดูและระบบเครือข่ายและแม่ข่าย
  • นักบูรณาการระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน อ่านเพิ่มเติมฉบับปรับปรุงปี 2558: http://is.gd/kbclda

 

ข้อมูลหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BIS)

  1. รับผู้จบปริญญาตรีทุกสาขา
  2. ควรมีความรู้และ/หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศหรือธุรกิจ
  3. เรียนเฉพาะเสาร์ – อาทิตย์
  4. การเรียนการสอน วิชาเรียนเน้นสร้างนักวิชาชีพที่สามารถประยุกต์ความรู้ด้านไอทีเข้ากับงานภาคธุรกิจสมัยใหม่ สร้างแนวความคิดในการมองเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงวิเคราะห์และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปใช้ในภาคธุรกิจอย่างใประสิทธิภาพ
  5. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน หรือการเรียนเสริมทางสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์
  6. มีให้เลือกเรียนทั้งแบบแผน ก (การทำวิจัย) และ Workshop + IS Report การเรียนด้านสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์กับองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัทออราเคิลคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัทไมโครซอฟท์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 18,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,000 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานธุรกิจฃ
  • นักวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ
  • ผู้จัดการโครงการระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
  • นักพัฒนาเว็บไซต์ประยุกต์ทางธุรกิจ
  • ผู้ประกอบการธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน อ่านเพิ่มเติมฉบับปรับปรุงปี 2558: http://is.gd/CUHHIw

 

ข้อมูลหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟท์แวร์ (SW)

  1. ผู้สมัครต้องจบปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์หรือเทียบเท่า
  2. เป็นหลักสูตรที่เรียนเฉพาะวัน ภาคเสาร์ – อาทิตย์
  3. เน้นในการพัฒนาความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และการบริหารวิศวกรรมซอฟต์แวร์ในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สามารถเข้าใจในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เน้นสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพเติมเต็มความรู้ด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
  5. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และ/หรือ การเรียนเสริมทางสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์
  6. มีให้เลือกเรียนทั้งแบบแผน ก (การทำวิจัย) และ Workshop +IS Report การเรียนด้านสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์กับองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัทออราเคิลคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัทไมโครซอฟท์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,200 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • วิศวกรซอฟต์แวร์
  • ผู้จัดการโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ / ระบบสารสนเทศ
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
  • นักวิชาการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • นักเขียนโปรแกรม
  • นักพัฒนาเว็บไซต์
  • ผู้ดูและระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  • นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน อ่านเพิ่มเติมฉบับปรับปรุงปี 2558: http://bit.ly/22pgG6F

 

ข้อมูลหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)

  1. ผู้สมัครต้องจบปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์หรือเทียบเท่า
  2. เป็นหลักสูตรที่เรียนภาคปกติ (จันทร์ – ศุกร์) เพื่อให้นักศึกษาทุ่มเทกับการสร้างงานวิจัย
  3. เป็นหลักสูตรที่เน้นสร้างนักวิจัยที่สามารถสร้างผลงานระดับสากล
  4. ผู้เรียนสามารถผลิตผลงานทางวิชาการ และพัฒนาศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
  5. สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญหาจากการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
  6. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และ/หรือ การเรียนเสริมทางสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์
  7. มีให้เลือกเรียนเฉพาะแผน ก (การทำวิจัย)
  8. มีสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์กับองค์กรชั้นนำ ได้แก่ บริษัทออราเคิลคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัทไมโครซอฟท์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,200 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • นักพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
  • ผู้ดูและระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  • นักวิจัย/นักวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน อ่านเพิ่มเติมฉบับปรับปรุงปี 2558: http://www4.sit.kmutt.ac.th/files/MSC_CS_54.pdf

———————————————————————————

 

ระดับปริญญาเอกจัดการเรียนการสอนเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้

  1. หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

 ข้อมูลหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)

  1. รับผู้จบปริญญาบัณฑิต หรือปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิศกรรมซอฟต์แวร์หรือเทียบเท่า และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 มีประสบการณ์การทำงาน หรือการวิจัยในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี
  2. เป็นหลักสูตรที่เรียนภาคปกติแบบเต็มเวลา (จันทร์ – ศุกร์) เพื่อให้นักศึกษาทุ่มเทกับการสร้างงานวิจัย
  3. เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษที่จัดทำขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย และนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูงได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล
  4. เน้นสร้างงานวิจัย ที่มีกระบวนการวิจัยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นองค์ความรู้ใหม่ ในการพัฒนาประเทศ
  5. มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ
  6. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และ/หรือ การเรียนผ่านสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,000 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักวิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • นักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • อาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน: https://www4.sit.kmutt.ac.th/phdcs

 

ข้อมูลหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

  1. รับผู้จบปริญญาบัณฑิต หรือปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิศกรรมซอฟต์แวร์หรือเทียบเท่า และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 มีประสบการณ์การทำงาน หรือการวิจัยในด้านเทคโนโลยีสารสนทเทศหรือที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี
  2. เป็นหลักสูตรที่เรียนภาคปกติแบบเต็มเวลา (จันทร์ – ศุกร์) เพื่อให้นักศึกษาทุ่มเทกับการสร้างงานวิจัย
  3. เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษที่จัดทำขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย และนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูงได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล
  4. เน้นสร้างงานวิจัย ที่มีกระบวนการวิจัยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นองค์ความรู้ใหม่ ในการพัฒนาประเทศ
  5. มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ
  6. ระบบการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน และ/หรือ การเรียนผ่านสื่ออิเล็กอิเล็กทรอนิกส์

อัตราค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา:

  • ค่าบำรุงการศึกษา ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท
  • ค่าลงทะเบียน หน่วยกิตละ 2,000 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • นักเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นักวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อาจารย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียดหลักสูตรและรายวิชาที่ต้องเรียน: http://www4.sit.kmutt.ac.th/phdit-more

 

หมายเหตุ: ทุกหลักสูตรมีทุนสนับสนุนการวิจัยของคณะฯ : http://www4.sit.kmutt.ac.th/student/node/1958

และทุนการศึกษาจากมจธ.: http://www.kmutt.ac.th/financialaid/

 

ประกาศประชาสัมพันธ์หลักสูตรกับทาง TechTalkThai ฟรีๆ

สำหรับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ต้องการประกาศประชาสัมพันธ์หลักสูตรทางด้าน IT และการบริหารจัดการ ติดต่อทีมงาน TechTalkThai ฟรีๆ ได้ตามรายละเอียดดังนี้เลยนะครับ https://www.techtalkthai.com/free-press-release-for-it-courses-from-thai-universities/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

NB-IoT คืออะไร?

NB-IoT คงเป็นศัพท์ที่หลายท่านได้เห็นในทางเลือกของการเชื่อมต่อระยะไกลของอุปกรณ์ IoT และเชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่า เหตุใดการโปรโมตบริการ NB-IoT จึงผ่านมาทางผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของ Narrowband IoT ให้รู้จักกันชัดๆ

Mfec เร่งช่วยลูกค้าปรับกลยุทธ์สู้เศรษฐกิจผันผวน มุ่งสู่ AI แต่ยังใส่ใจ Security

MFEC Inspire 2025 หรืองานใหญ่ประจำปีของ MFEC ได้มาพร้อมกับธีม “Simplify Your IT Investment for a Future-Ready Business” โดยได้รับความสนใจจากลูกค้านับพันราย …