Black Hat Asia 2023

IT Certification กับ IT Certificate ความสำคัญต่างกันอย่างไร

Picture Credit : WBT Systems

การรับรองคุณวุฒิส่วนบุคคลสำหรับสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติที่สำคัญที่สามารถยกระดับความก้าวหน้าในการผลิตและพัฒนากำลังคนในประเทศไทย คุณวุฒิวิชาชีพด้านไอที เป็นการรับรองทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคคล และสามารถสร้างมาตรฐานการบริการให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน แล้วรูปแบบมาตรฐานของ การรับรองด้านไอที (IT Certification) กับ ใบรับรอง (Certificate) แตกต่าง และมีความสำคัญอย่างไร

ประเทศไทยมีการตื่นตัวในการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาให้คนไทยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ทั้งภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม จึงได้จัดแผนบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะยกระดับความก้าวหน้าและอัตราผลผลิตของกำลังคนในประเทศไทย จึงมีการร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ‘จัดทำมาตรฐานอาชีพ’ อีกทั้งยังรับรองทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคคลด้วยการสร้างมาตรฐานในการวัดสมรรถนะเพื่อรับรอง ‘คุณวุฒิวิชาชีพ’

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก :

file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf (dga.or.th)https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2018/08/file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdfสคช.เร่งยกระดับคุณวุฒิคนไอที…รับเปิดประชาคมอาเซียน (komchadluek.net)

Certification (รับรองคุณวุฒิ) และ Certificate (ประกาศนียบัตรรับรอง)การรับรองทั้งสองรูปแบบ ยังคงมีความสับสนในการเข้าใจถึงข้อเท็จจริงของความหมายและประโยน์ในการนำไปต่อยอด ซึ่งความจริงแล้ว มีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน

IT Certificate (ใบรับรองประกาศนียบัตร)

สถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่นๆ เป็นผู้ออกใบรับรองให้กับ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือ ผู้อบรม ที่สำเร็จการเรียนการอบรมครบถ้วนตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ของโปรแกรมประกาศนียบัตรนั้นๆ แม้ว่ากลุ่มนักเรียน นักศึกษา จะต้องได้คะแนนสอบผ่านตามเกณฑ์ของหลักสูตร แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มเหล่านี้ อาจจะไม่ต้องสอบเพื่อวัดผลตามหลักเกณฑ์เฉพาะวิชาชีพตามความชำนาญการเฉพาะทางอย่างเข้มงวดมากนัก

เช่นเดียวกับสาขาวิชาเอกของสถานศึกษา ใบรับรองจะมีลักษณะเฉพาะสำหรับสถาบันนั้นๆ ที่ได้รับ เพื่อให้ได้รับใบรับรองระดับปริญญาตรี หรือบัณฑิต ตามโปรแกรมที่ลงทะเบียน แม้ว่าใบรับรองจะเป็นใบรับรองทางวิชาการ แต่ก็ไม่ได้รับรองให้ทำงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งได้ อาทิ เช่น

  • เรียนจบสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ แต่ไม่สามารถเข้าทำงานในอุตสาหกรรมบางประเภทได้ ถ้าหากยังไม่มีใบรับรองอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ที่ออกให้โดย สภาวิศวกรรม (Engineer’s Certification)

ข้อดีของ Certificate (ใบรับรองประกาศนียบัตร)

  • ก้าวสู่สถานะทางการศึกษาระดับที่สูงขึ้น ตามหลักสูตรได้
  • ก้าวสู่ตำแหน่งงานสายไอทีระดับเริ่มต้น เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรใบรับรองประกาศนียบัตร

IT Certification (ใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ)

ทั้งสองชื่อ ออกเสียงคล้ายคลึงกันมาก แต่การรับรองและใบรับรองนั้นไม่เหมือนกัน IT Certification จะได้รับการรับรองจากสมาคมวิชาชีพ บริษัท และองค์กรอิสระ การรับรองเป็นหนังสือรับรองมาตรฐานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้กับบุคคลนั้น เพื่อการนำไปต่อยอดทำงานในอุตสาหกรรมที่มีการระบุคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ การรับรองคุณสมบัติของบุคคลในบางประเภทวิชาชีพ อาจจะรวมไปถึงข้อกำหนดการรับรองด้านการศึกษา (Certificate) และรับรองการสอบวัดผลตามเกณฑ์กำหนด (Certification) ควบคู่ด้วย

แม้ว่าใบรับรองจำนวนมากจะใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม แต่โดยทั่วไปแล้ว ใบรับรองเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำงานในสาขาใดสาขาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การรับรองบางอย่างอาจจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าในวิชาชีพนั้นๆ และก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะสามารถหางานทำในอุตสาหกรรมบางประเภทได้ หากไม่มีใบรับรอง (IT Certification) เพื่อให้สามารถประกอบวิชาชีพตามสาขานั้นๆ ได้ อาทิเช่น สายงานไอที สายงานด้านสาธารณสุข แพทย์ และ วิศวกร เป็นต้น

ตัวอย่าง 5 IT Certification หลักสูตรการรับรองด้านสายงานไอทีที่ทำให้มีโอกาสได้ทำงานในระดับเงินเดือนสูง และบริษัทส่วนใหญ่ให้การยอมรับ

  • Cisco Certified Network Associate (CCNA)
  • Microsoft Certified Solutions Associate (MCSA)
  • CompTIA Security+
  • IT Infrastructure Library (ITIL)
  • Certified Ethical Hacker (CEH)
Picture Credit : medium.com

เปรียบเทียบ เรื่องค่าใช้จ่าย

เมื่อเปรียบเทียบเรื่องค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรระหว่าง IT Certificate อาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า IT Certification (ขึ้นอยู่กับสถาบันฯ) แต่อย่างหลังจะต้องมีการลงทะเบียนอบรมเพื่อทบทวนการรับรองใหม่ทุกๆ สองหรือสามปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตรนั้น กำหนด

สรุป และเปรียบเทียบ เรื่องการนำไปต่อยอด

IT Certificate เป็นการอบรมและศึกษาตามหลักสูตรเพื่อการรับรองวุฒิการศึกษาในการนำไปสมัครงานในตำแหน่งสาย IT ที่รองรับ เช่น โปรแกรมเมอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์เฉพาะด้าน เป็นต้น ในบางอุตสาหกรรมมีการกำหนดคุณสมบัติทางการศึกษาของการรับสมัครตำแหน่งงานด้าน IT เพื่อความเหมาะสมในเรื่ององค์ความรู้ความสามารถและความชำนาญ ให้มีความสัมพันธ์กับบริบทของงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง การเปิดกว้างรับสมัครบุคลากรที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาด้านวิชาการด้าน IT อาจจะเป็นดาบสองคมที่ส่งผลเสียทั้งองค์กรและบุคคลกรที่เข้ามาทำงาน เพราะฉะนั้น จ้างบุคลากรให้เหมาะสมกับประเภทของงาน คือสิ่งที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ได้มากที่สุด

IT Certification เป็นการลงทุนซื้อประสบการณ์เพิ่มพูนด้านความรู้ความสามารถ ให้เกิดความชำนาญในระดับที่สูงขึ้น หรือความชำนาญการพิเศษเฉพาะด้าน บุคคลที่ผ่านการรับรอง IT Certification ในแต่ละด้าน ตามมาตรฐานและสถาบันระดับสากลเป็นผู้ออกให้ จึงสามารถการันตีและได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติความรู้ ความสามารถ และความชำนาญการพิเศษเฉพาะทางด้านสายงาน IT ตามประเภทที่ระบุในใบรับรอง Certification ทำให้สามารถทำงานควบคุมดูแลระบบงาน IT ในด้านนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : IT certification vs. certificate: What’s the difference? | ZDNet


About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

กลับมาอีกครั้ง! จีเอเบิล พร้อมปั้นคนเทคฯ สายงาน Data กับโครงการ “Tech Scoop Academy” รุ่นที่ 2 เฟ้นหาคนรุ่นใหม่สู่อุตสาหกรรมไอที [Guest Post]

ปัจจุบันความต้องการของคนทำงานที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพิ่มสูงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์กรทั่วโลกต่างต้องปรับตัว เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร ให้เข้ามาทำงาน รวมทั้งต้องสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ติดอาวุธ และเพิ่มพูนทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีให้พนักงานได้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

5 เทรนด์เทคโนโลยีธุรกิจห้ามพลาดแห่งปี 2023-2025

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเป็นตัวกำหนดความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิต, ความรวดเร็วในการบริการ, ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน และการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวและอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งในบทความนี้ ทีมงานขอพาผู้อ่านไปพบกับ 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 – …