CDIC 2023

[Guest Post] ครบสูตรการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ และทรัพย์สินในองค์กรด้วย KACE

หากคุณเป็นผู้ดูแลระบบไอทีที่ต้องดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรแล้วล่ะก็ ปัญหาที่คุณจะต้องเจอเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือทรัพย์สินทางด้านไอทีหรือไม่ใช่ไอทีก็ตาม นั้นดูจะเป็นเรื่องยุ่งยากและน่าปวดหัวเสมอ ทั้งเรื่องปัญหาการตรวจเช็คทรัพย์สินขององค์กร (Asset), ปัญหาเรื่องการตรวจสอบลิขสิทธิ์ที่ติดตั้ง (License), ปัญหาเรื่องการแพทช์ (Patch) ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (Patch) , ปัญหาการรับเรื่องแจ้งซ่อมจากผู้ใช้งาน (ServiceDesk) เป็นต้น

Credit: ShutterStock.com

หลายๆที่ ยังคงใช้ “คน” ในการเข้าไปแก้ไขปัญหาแก่เหล่าผู้ใช้งาน (Users)

เช่นการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ (Hardware Inventory) และรวมถึงรายละเอียดซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น (Software Inventory) หรือต้องการจะตรวจสอบจำนวนลิขสิทธิ์ที่ซื้อมานั้น ว่าได้ถูกติดตั้งไปยังคอมพิวเตอร์ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ครบหรือติดตั้งเกินกว่าจำนวนลิขสิทธิ์ที่ซื้อมาหรือไม่ เป็นต้น

หรือการจัดการรายละเอียดทรัพย์สิน (Asset) ซึ่งส่วนใหญ่หลายๆที่จะทำการเก็บหรืออัพเดทข้อมูลทรัพย์สินกันในช่วงปลายปีเพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน (Asset) ว่าถูกต้องครบถ้วนอยู่หรือไม่กับทางฝ่ายบัญชี และส่วนใหญ่เก็บข้อมูลใน MS Excel เมื่อส่งให้ฝ่ายบัญชีไปแล้ว ก็ไม่มีการอัพเดทอีกเลย ทำให้ข้อมูลไม่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้ามีการเรียกดูข้อมูล ทางผู้ดูแลก็ต้องไปทำการตรวจเช็คใหม่อีกครั้ง เป็นการเสียเวลาและทรัพยากรบุคคลทางไอทีอย่างใช่เหตุ

การแพทช์ (Patch) ระบบปฏิบัติการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น เพื่อปิดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งทางไมโครซอฟต์เอง ก็ได้ออกแพทช์ เป็นประจำทุกเดือน เพื่อปิดช่องโหว่นั้นๆ นี่ก็เป็นอีกปัญหานึง คือ จะทำอย่างไร ที่จะแพทช์ให้สำเร็จ ครบถ้วนสมบูรณ์
เรื่องการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ใช้งาน (HelpDesk) เรียกได้ว่าเป็นงานหลักและเพิ่มคุณค่าให้แก่ฝ่ายไอทีเป็นอย่างมาก หรือกรณีที่องค์กรมีข้อจำกัดด้านจำนวนคนของฝ่ายไอที ถ้าเรามีระบบรับแจ้งปัญหา (ServiceDesk) ในการรับเรื่อง/แจ้งปัญหาจากทางผู้ใช้งาน (Users) เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น และเก็บสถิติการรับแจ้งปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทางปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นในอนาคต หรือ สามารถนำมาประเมินประสิทธิ์ภาพในการทำงานของฝ่ายไอทีได้เป็นอย่างดี ว่าที่ผ่านมานั้น ฝ่ายไอทีได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้ทางผู้ใช้งาน (Users) เป็นอย่างไร

KACE โซลูชั่นในการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ครบสูตรในตัวเดียว

KACE เป็นโซลูชั่นชั้นนำจากทางแบรนด์ Quest Software ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร เช่น Desktop, Notebook, Server โดยรองรับระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, MacOS ซึ่งการบริหารจัดการที่ใช้งานง่ายและครบถ้วนในตัวเดียว ทำให้เหมาะกับความต้องการในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ในบ้านเรา

KACE System Management Appliance (SMA) นั้นเป็น Virtual Appliance (VMware, Hyper-V) ตัวเดียว ทำให้ทางผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมลิขสิทธิ์ OS หรือ Database ที่ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จำเป็นต้องใช้ เพียงแค่เราเตรียมทรัพยากรบนระบบ Virtualization (Vmware, Hyper-V) ตาม Sizing ที่กำหนด แล้วก็ทำการ Import Virtual Appliance ลงไป แล้วทำการเปิดเครื่อง กำหนดค่า Network จากนั้นก็เปิดหน้าจอ Web Console ใช้งานได้เลย เป็นอะไรที่ง่ายมากๆ

ความสามารถหลักๆ ของ KACE System Management Appliance (SMA) ประกอบไปด้วย

  • การเก็บข้อมูล Hardware Software Inventory ต่างๆบนเครื่อง รวมถึงประวัติ History Changed เช่น Hardware/Software มีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
  •  การบริหารจัดการทรัพย์สิน (Asset Management) ไม่ว่าจะเป็นของไอทีหรือไม่ใช่ของไอที
  • การบริหารจัดการลิขสิทธิ์ ซื้อ License มาเท่าไหร่ ติดตั้งไปแล้วเท่าไหร่ ขาดหรือเกินหรือไม่
  • ตรวจสอบความถี่ในการใช้งานโปรแกรม (Software Metering) ว่าติดตั้งไปแล้ว ได้เปิดใช้งานบ่อยหรือไม่
  • บล็อคการใช้งานโปรแกรมที่ไม่อนุญาต รวมถึงพวก Portable program (.exe)
  • ส่งซอฟต์แวร์ไปติดตั้งที่เครื่องปลายทางพร้อมๆกัน
  • ส่งข้อความไปที่เครื่องปลายทาง
  • การแพทช์ (Patch Management) รองรับ Microsoft , Mac (ทำงานด้วยตัวเองไม่ต้องใช้ WSUS)
  • ฟังก์ชั่นควบคุมหน้าจอ Remote Control (UltraVNC)
  • มีระบบรับแจ้งปัญหา (Service Desk) ทำเรื่องระบบการแจ้งซ่อม เพื่อเพิ่มประสิทธภาพของแผนกไอที
  • รายงานต่างๆ (Reporting)
  • KACE GO โมบายแอพพลิเคชั่น (iOS , Android) ให้ Admin , HelpDesk ในการบริหารจัดการ
ฟังก์ชั่นการทำงานหลักๆของ KACE System Management Appliance (SMA) เครื่องเดียว

Warrant Information ถ้าเป็นเครื่องยี่ห้อ Dell , HP , Lenovo ระบบสามารถจะตรวจสอบรายละเอียดการรับประกันไปยังผู้ผลิตได้ว่า เหลืออีกเท่าไหร่หรือจะหมดประกันเมื่อใด ดังรูป

Mobile Application (KACE GO) รองรับสมาร์ทโฟนทั้ง iOS , Android (ฟรี) สำหรับบริหารจัดการ ServiceDesk , Inventory , Asset , Barcode Scanning ดังรูป
*มีฟังก์ชั่นอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanning) เพื่อใช้ตรวจสอบทรัพย์สิน (Asset) ได้
**อ่านได้ทั้ง Barcode และตัว QR Code

ดาวน์โหลด KACE ไปทดลองใช้งานได้

ทาง Quest ได้เปิดให้ลูกค้าหรือผู้สนใจสามารถ Download ผลิตภัณฑ์ KACE ไปทดลองใช้งานได้ฟรีๆ ที่ https://www.quest.com/register/74480/

ติดต่อทีมงาน Quest เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ KACE ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันใดๆ ของ KACE สามารถติดต่อทีมงาน Quest ในประเทศไทยได้โดยตรง เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรุ่นต่างๆ หรือราคาได้ที่ ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย

  • บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ติดต่อคุณสิทธิกร บุญทัน โทร 0-2032-9999 ต่อ 1353 หรือ 09-0545-4559, E-Mail : Sitthikorn@vstecs.co.th
  • บริษัท เก็ต ออน เทคโนโลยี จำกัด ติดต่อคุณนิตเนต เจริญสุข โทร 0-2911-1999 ต่อ 0 หรือ 215 หรือ 08-1591-1771, E-Mail : nitnate@got.co.th

ผู้ที่สนใจโซลูชันของ KACE สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.quest.com/kace/
หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Quest ได้ที่ https://www.quest.com/

เกี่ยวกับ Quest

Quest ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1987 ในฐานะของผู้พัฒนาโซลูชันทางด้าน Software ที่ช่วยให้ระบบ IT ของธุรกิจองค์กรก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยให้การดูแลรักษาระบบ IT นั้นใช้เวลาน้อยลง และทำให้ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นไปที่การเติบโตได้อย่างเต็มที่ โดยปัจจุบันนี้ Quest มีลูกค้าธุรกิจองค์กรกว่า 130,000 รายในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และมีบริษัท 95% ใน Fortune 500 และ 90% ใน Global 1000 เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ Quest https://www.quest.com


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Threat Hunting’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

การต่อกรกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับเท่านั้น และหากทำได้ดีเราก็สามารถลงมือตอบสนองก่อนเกิดเหตุได้เช่นกัน ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งทีม Threat Hunting มีบทบาทอย่างมากในการทำงานร่วมกับระบบ SoC ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วทุกมุมโลกมาช่วยตรวจจับการโจมตีที่เกิดขึ้นได้  คำถามคือแล้วในงานเหล่านี้ควรมีทักษะเกี่ยวข้องในด้านไหนบ้าง Sosecure ขอชวนผู้สนใจในสายงานด้าน Cybersecurity ที่ต้องการรู้ลึก ทำได้จริง …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Cybersecurity Analyst’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

อาชีพด้าน Cybersecurity กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมากมาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองหาช่องทางใหม่ๆในสายอาชีพด้าน Cybersecurity หรือปฏิบัติงานอยู่แล้ว แต่อยากยกระดับตัวเองมากขึ้น วันนี้เราขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ ‘Cybersecurity Analyst’ โดย Sosecure ผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของเมืองไทย โปรโมชันพิเศษรอบ Early …