ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยให้สูงขึ้นจากเดิมด้วยเทคโนโลยี EDR [Guest Post]

รู้หรือไม่ว่า Ransomware เป็นมัลแวร์ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ

เป้าหมายหลักของ Ransomware คือ การนำข้อมูลที่ได้ไปขาย หรือเข้ารหัสไฟล์บนอุปกรณ์ทำให้ไฟล์ใช้งานไม่ได้อีกต่อไป แฮกเกอร์จึงเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับการถอดรหัสคืนข้อมูลสำคัญเหล่านั้นให้กับเหยื่อ

การโจมตีของ Ransomware มีจำนวน และความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละปี เหตุการณ์พาดหัวข่าวในช่วงหลังเองก็ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และแฮกเกอร์เองก็เลือกเหยื่อมากขึ้นโดยดูจากธุรกิจหลักของเหยื่อ ว่ามีพันธมิตรทางธุรกิจที่โดนผลกระทบจากความเสียหายมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นกดดันให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงัก

เครื่องมือการป้องกันแบบเดิม ไม่ใช่การป้องกันที่ดีที่สุดอีกต่อไป

ตัวเลขไม่เคยโกหก

Credit: European Union Agency for Cybersecurity (ENISA)

ข้อมูลจากรายงาน European Union Agency for Cybersecurity (ENISA) ทำให้เห็นว่าการโจมตีด้วย ransomware เป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2020 และยังคงเพิ่มขึ้น เพราะ ransomware มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกวันโดยผู้ไม่หวังดีมากมายทั่วโลก ทำให้การป้องกันด้วยระบบฐานข้อมูลไวรัส ไม่สามารถตรวจจับ ransomware ได้ทุกตัวที่เกิดใหม่บนโลกได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่ทุกนาทีในระบบฐานข้อมูล ซึ่งการนำข้อมูลไวรัสตัวใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบค่อนข้างใช้เวลาในการอัปเดทข้อมูลขึ้นระบบ ถึงแม้ว่าจะมีการอัปเดทข้อมูลไวรัสใหม่ชั่วโมงที่แล้วก็กลายเป็นตัวเก่าได้อย่างรวดเร็ว เพราะตัว ransomware เกิดใหม่ทุกนาที ทำให้แฮกเกอร์มีช่องทางที่ใช้ทำการโจมตีได้นั้นเอง

องค์กรของคุณมีการป้องกันที่เพียงพอหรือยัง ?

Ransomware เป็นช่องทางที่ทำให้อาชญากรรมไซเบอร์ร่ำรวย สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนเมื่อก่อนอาชญากรไซเบอร์ได้ข้อมูลที่มีค่าของเหยื่อ และนำไปขาย แต่ด้วย ransomware ผู้โจมตีไม่ต้องการขโมยข้อมูลไปขาย แต่ใช้ประโยชน์ความสำคัญของตัวข้อมูลที่ขโมยไปได้ เอามาเรียกค่าไถ่กับเหยื่อเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า

แม้ว่าข้อมูลอาจไม่ได้มีเนื้อหาสำคัญอะไรนอกจากข้อมูลส่วนตัว แต่บางครั้งข้อมูลที่ได้มากลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ และองค์กร เมื่อข้อมูลสำคัญต่อธุรกิจถูกขโมยไป บริษัทเองก็ต้องการข้อมูลคืนเพราะสิ่งที่เกิดสร้างความเสียหายในภาคธุรกิจได้สูงมากเมื่อเทียบกับการจากค่าไถ่ที่ถูกกว่าเลยทำให้มีการจ่ายเงินค่าไถ่ แต่ไม่มีอะไรการันตีว่าคุณจะได้ข้อมูลของคุณกลับมา

เมื่อแนวโน้มการโจมตีเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ทำให้มีแรงดึงดูดแฮกเกอร์ให้โจมตีองค์กรต่างๆ มากขึ้นไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็เป็นเป้าหมายของการโจมตีได้

เบื้องหลังของ Ransomware

ปัจจุบันผู้โจมตีไซเบอร์ใช้วิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง ransomware รูปแบบเดิม ซึ่งมีวิธีการตรวจจับอยู่มากมาย ต้องหาวิธีซ่อน ransomware ได้อย่างแนบเนียนไปกับตัวสภาพแวดล้อมของเป้าหมาย แฮกเกอร์เองต้องเข้าโจมตีผ่านเครือข่ายเพื่อขโมยข้อมูล ปล่อย ransomware ทำการเข้ารหัสข้อมูล สร้างความเสียหาย เมื่อได้สิ่งที่ต้องการแล้ว โดยมีการขู่เหยื่อว่าจะ ขายข้อมูล หรือปล่อยข้อมูลออกมาสู่สาธารณะหากไม่ได้เงินค่าไถ่

Ransomware ท็อป 3 ที่โจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

วิธีการโจมตีด้วย Ransomware ยอดนิยม 5 อันดับ

การเช่า Ransomware เพื่อนำไปปรับแต่งใช้ในการโจมตีบนระบบที่เต็มไปด้วยช่องโหว่ ยังคงเป็นอันดับ 1 ที่แฮกเกอร์เลือกใช้โจมตี 

ขั้นตอนการโจมตีด้วย Ransomware

Ransomware มีรูปแบบการโจมตีเฉพาะตัว ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการโจมตีเครื่องปลายทางเหยื่อ เก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือไฟล์สำคัญทางธุรกิจเพื่อใช้ในการเรียกเงินค่าไถ่

เริ่มต้นการด้วยการเชื่อมต่อ การโจมตีของแฮกเกอร์เองต้องหาระบบเครือข่ายขององค์กร โดยใช้วิธีการ

  • ขโมยรหัสผ่าน
  • Brute force 
  • ช่องโหว่ของซอฟท์แวร์
  • ฟิชชิ่ง
ขั้นตอนการโจมตีด้วย Ransomware

หลังจากได้ข้อมูลเหล่านั้นแฮกเกอร์จะทำการตรวจสอบข้อมูลประจำตัว และการยืนยันตัวตนรับรองการเข้าสู่ระบบ ทำให้หลบเลี่ยงระบบการป้องกันแบบเดิมไปได้ใช้มัลแวร์รูปแบบต่างแพร่กระจาย ผ่านฟิชชิ่งอีเมลที่แนบไฟล์อันตราย ส่วนมากจะเป็นโทรจันใน รูปแบบของ Office หรือเอกสาร PDF แต่มีมัลแวร์ฝังอยู่ภายใน เมื่อเปิดไฟล์เหล่านี้แล้ว และตัวมาโครที่ฝังเอาไว้ทำงานก็จะทำการเปิดมัลแวร์บนคอมพิวเตอร์ที่เอกสารอยู่ โดยส่วนใหญ่แล้วตัว ransomware มาจากแหล่งที่ดูน่าเชื่อถือไม่ว่าจะเป็น สำนักงานกฎหมาย รวมทั้งสถาบันการเงิน รัฐบาล หน่วยงานหรือผู้ใช้ภายในองค์กร

เหตุการณ์ที่เริ่มต้นด้วยการโจมตี จะเป็นการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ระบบที่มีการเปิดเผยทางอินเทอร์เน็ต ส่วนมากจะอยู่ในระบบการเข้าถึงระยะไกลเช่น remote desktop protocol (RDP) เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) และระบบปฏิบัติการอื่น หรือช่องโหว่ของซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่อยู่บนเครื่อง แฮกเกอร์ยังใช้การโจมตีแบบ Brute force ในการสุ่ม ชื่อ ข้อมูลประจำตัว และรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย เพื่อช่วยในการโจมตีด้วย

แฮกเกอร์ใช้เครื่องมือมากมายในการโจมตี

  • เครื่องมือที่ช่วยเรื่องการตรวจสอบ – ทำให้แฮกเกอร์รู้ว่าพวกเขาอยู่ตรงจุดไหนบนระบบเครือข่าย และบัญชีใครที่จะช่วยให้สามารถมุ่งสู่จุดหมายต่อไป ตัวอย่างเช่น Nmap, Process Hacker และ BloodHound
  • เครื่องมือการถ่ายโอนข้อมูลรับรอง – ช่วยเจาะเข้าสู่ระบบของบัญชีที่มีสิทธิพิเศษอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้เดินหน้าโจมตีให้ลึกเข้าไปภายในเครือข่าย ตัวอย่างเช่น Mimikatz และ ProcDump
  • โปรแกรมที่อยู่บนเครื่องเอง – เช่น PowerShell, Windows Management เครื่องมือวัด (WMI) และ PsExec นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยพบว่า WMI และคำสั่ง PSExec ใช้เพื่อลบข้อมูลสำรองในเครื่อง และ PowerShell ถูกใช้เพื่อสร้างแบ็คดอร์อันตราย

แฮกเกอร์ทำการโจมตีลึกเข้าไปเรื่อยๆ ภายในระบบเครือข่ายเมื่อได้บัญชีที่มีสิทธิพิเศษเหล่านั้น ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงตัวบัญชี ระบบเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐาน 

เมื่อถึงจุดนี้ แฮกเกอร์จะเลือกทำลายระบบความมั่นคงปลอดภัย และนำสิทธิพิเศษทั้งหมดไว้กับตัวเอง หนึ่งในเทคนิคที่พบบ่อยที่สุดคือการโจมตี ransomware ด้วยการใช้ประโยชน์จากบัญชีผู้ดูแลระบบ โดยบัญชีผู้ดูแลระบบเป็นเป้าหมายที่สำคัญของแฮกเกอร์ เพราะองค์กรมักจะมีรหัสผ่านที่สามารถเข้าถึงได้ทุกบัญชีที่ดูแลอยู่ ทำให้สามารถตั้งค่าปิดระบบ หรือกำหนดค่าความมั่นคงปลอดภัยในระบบ antivirus ที่ยังใช้ระบบเดิมได้ เข้าถึงตัวควบคุมโดเมนเปิดใช้งานเพื่อปล่อยมัลแวร์ให้ทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่ายได้ในครั้งเดียว

ผลกระทบต่อเป้าหมาย

ในขั้นตอนสุดท้ายของการโจมตีเปิดตัว ransomware ติดตั้งบนระบบเหยื่อเมื่อผู้โจมตี ตัวมัลแวร์เองก็ทำหน้าที่ของมันโดยกรองหาข้อมูลที่ละเอียดอ่อนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบ จากนั้นทำลายไฟล์สำรองข้อมูลองค์กร สุดท้ายจะทำการเข้ารหัสระบบ และข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจะขึ้นข้อความเรียกค่าไถ่บนหน้าจอของเหยื่อ

ซึ่งระบุจำนวนเงินค่าไถ่ วิธีการชำระเงินโดยส่วนมากจะเป็น cryptocurrency จากนั้นแฮกเกอร์จะคืนไฟล์ให้กับเหยื่อ (หรือไม่คืนก็ได้) ซึ่งตรงนี้เองแฮกเกอร์บางกลุ่มก็ใช้วิธีการเรียกค่าไถ่ 2 ชั้นคือ ถ้าปล่อยข้อมูลคืนให้แล้ว แต่ตัวแฮกเกอร์เองก็ยังมีไฟล์อยู่จะนำข้อมูลไปปล่อยสาธารณะ ถ้าองค์กรไม่ต้องการให้ข้อมูลสำคัญหลุดออกไปก็ต้องจ่ายค่าไถ่อีกรอบเพื่อให้แฮกเกอร์หยุด ซึ่งไม่มีอะไรการันตีได้ว่าแฮกเกอร์จะยอมทำตาม

WatchGuard สามารถช่วยคุณได้อย่างไร ?

ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยป้องกันให้สูงขึ้นจากเดิมด้วยเทคโนโลยี EDR

Watchguard Solution ที่ช่วยป้องกัน ransomware
  • ป้องกันก่อนที่จะเกิดการโจมตี

โดยเฉพาะการโจมตีด้วย ransomware วิธีป้องกันการโจมตีที่ดีที่สุดคือ หยุดยั้งการโจมตีก่อนที่จะเกิดขึ้น เมื่อองค์กรของคุณถูกโจมตี และเริ่มมีการเข้ารหัสไฟล์ในแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ และเซิร์ฟเวอร์อาจสายเกินไป ความเสียหายที่เกิดภายในองค์กรนั้นมีค่ามหาศาล ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ เพิ่มระดับชั้นความมั่นคงปลอดภัยที่แตกต่างกันถึง 10 ชั้นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อป้องกัน ransomware

  • ใช้ตัวจัดการรหัสผ่านที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง

ความมั่นคงปลอดภัยของรหัสผ่านมีความสำคัญต่อการป้องกันข้อมูลองค์กรของคุณ แต่หลายบริษัทล้มเหลวในการดำเนินการจัดการรหัสผ่านที่เหมาะสม ซึ่งในส่วนการจัดการรหัสผ่านที่ดีสามารถลดโอกาสที่ ransomware โจมตีได้มาก องค์กรที่ให้ความสำคัญในส่วนนี้มีโอกาสที่จะป้องกัน ransomware ได้สูงด้วยตัวจัดการรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบจัดการรหัสผ่านทั้งหมดในที่เดียวพร้อมมาสเตอร์คีย์ ใช้งานง่าย ซิงโครไนซ์รหัสผ่าน อัปเดตรหัสผ่าน ไม่ใช้รหัสซ้ำกัน โดยคีย์ที่ได้จัดอยู่ในระดับความมั่นคงปลอดภัยทางทหาร

  • เปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตน 2 ชั้น

การโจมตีของ ransomware มักเริ่มต้นด้วยการขโมยข้อมูลประจำตัวผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กร AuthPoint ตัวรับรองระบบยืนยันตัวตน (MFA) solution ช่วยให้แน่ใจว่าผู้โจมตีไม่สามารถขโมยข้อมูลประจำตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องใช้ระบบยืนยันตัวตนเพิ่มเติม ช่วยลดความเสี่ยงจากข้อมูลสูญหาย หรือถูกขโมยรหัสผ่าน

แม้ว่าข้อมูลประจำตัวจะถูกขโมยไป แต่ผู้โจมตีจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของเป้าหมายได้ไม่ว่าจะเป็นตัวคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายฐานข้อมูล เนื่องจากยังขาดการยืนยันตัวตนที่ถูกต้องจากระบบ AuthPoint

  • ตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามหน้าที่ของซอฟท์แวร์

ผลิตภัณฑ์ Endpoint Security ประกอบด้วยการตรวจจับพฤติกรรมเพื่อป้องกัน และบล็อกการโจมตีแบบไม่มีไฟล์ตามสคริปต์ที่ฝังอยู่ในไฟล์ Office ตัวแอปพลิเคชันสามารถตรวจจับการทำงานที่ผิดปกติที่ เพื่อป้องกันการโจมตีได้ หรือใช้ช่องโหว่จากเว็บเบราว์เซอร์ ของแอปอื่นๆ เช่น Java Adobe Reader, Adobe Flash, Office ฯลฯ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าความมั่นคงปลอดภัยที่ตั้งเอาไว้

Endpoint Security มีการตรวจสอบการทำงานตามหน้าที่เหล่านั้น เพื่อหยุดยั้งพฤติกรรมต้องสงสัยที่ไม่ควรมีจากแอป เป็นการตรวจจับเชิงรุกเนื่องจากไม่ได้ใช้ระบบฐานข้อมูลไวรัสแบบเดิม solution ของเรามีการเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสคริปต์และ macro ต่างๆ เพื่อปรับปรุงการป้องกันโดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์

  • Anti-exploit technology

ป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีสามารถย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างช่องทางในการโจมตีเข้ามาภายในระบบ โดยเพิ่มความสามารถในการแพตช์เสมือนไปที่ solution EDR เพื่อทำการอัปเดต solution ในการป้องกันแอปพลิเคชันที่ไม่ได้แพตช์เหล่านั้น เพื่อป้องกันอุดช่องโหว่ของตัว windows XP หรือ Windows 7 ที่ไม่มีการอัปเดตระบบอีกต่อไป

  • Zero Trust Application Service

ฟังก์ชั่นหลักของผลิตภัณฑ์ EDR ของเราที่สามารถจัดประเภทของกระบวนการทำงานในเครื่องได้ 100% แอปพลิเคชันที่ไม่รู้จักจะถูกบล็อกเอาไว้จนกว่าจะได้รับการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ โดยระบบเทคโนโลยี Machine learning (99.98%) หรือโดยเราผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกอีก (0.02%) การตรวจสอบเป็นแบบ real-time ทำให้มีความยืดหยุ่นสำหรับองค์กรที่มีการสร้างซอฟท์แวร์ขึ้นมาใช้ภายในเอง ทางผู้ใช้งานสามารถให้ระบบเรียนรู้การทำงาน และจัดเข้าไปอยู่ในฝั่งซอฟท์แวร์ที่มีการตรวจสอบ และผ่านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยได้

  • Threat Hunting service

แม้แต่ solution EDR ที่เข้มแข็งก็ยังต้องใช้มนุษย์เพื่อจับแฮกเกอร์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดพฤติกรรมผิดปกติและน่าสงสัย ตัวชี้วัดการโจมตีสูง อาจอยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือหาช่องทางในการโจมตีนี่ไม่ใช่มัลแวร์แต่เป็นตัวแฮกเกอร์เอง เราขอแนะนำให้คุณจำกัดจุดที่โดนโจมตีโดยเร็วที่สุด

  • การป้องกัน Remote desktop protocol (RDP)

การป้องกัน RDP เป็นส่วนนึงของ Threat Hunting ที่มีให้กับลูกค้าที่ใช้ solution EDR ของเรา การโจมตีด้วย RDP Brute Force เป็นสิ่งที่ผู้โจมตีนิยมใช้มากโดยเฉพาะระบบที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ในส่วนระบบ EDR solution ตรวจจับป้องกันเครือข่ายของเรามีระบบป้องกันการโจมตีด้วย RDP เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันด้วยระบบ EDR มีการพยายามเชื่อมต่อ RDP ล้มเหลวเนื่องจากมีข้อมูลไม่ถูกต้อง ซอฟต์แวร์จะตั้งค่าคอมพิวเตอร์เข้าสู่โหมดกักกัน ในโหมดนี้การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ถูกบล็อก IP นอกระบบเครือข่ายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

  • เทคโนโลยี Anti-malware 

Antivirus ยุคใหม่ Endpoint Security WatchGuard มีการอัปเดทฐานข้อมูลไวรัสแบบ real-time พร้อมทั้งการวิเคราะห์พฤติกรรม และเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อ ป้องกันการโจมตี ransomware

การโจมตีของ ransomware พยายามปิดการป้องกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์เหยื่อ ก่อนกระจายไวรัส มัลแวร์
ผ่านระบบเครือข่าย และเข้ารหัสไฟล์ทั้งองค์กร ดังนั้นเรามีระบบที่ป้องกันปิดการทำงานของ Endpoint Security ที่มีชื่อว่า anti-tamper protection ซึ่งรวมอยู่ใน Windows 10, Server 2019 หรือสูงกว่า

  • แพทช์เพื่อลดความเสี่ยงในการโจมตี

แฮกเกอร์มองหาช่องโหว่อยู่ตลอดเวลา คุณต้องพยายามอุดช่องโหว่ให้มากที่สุด ด้วยการอัปเดตระบบของคุณ ransomware อย่าง WannaCry และ Petya อาศัยช่องโหว่ที่ไม่ได้รับการแก้ไขกระจายไปทั่วโลก หรือ ransomware The Locky และ Cerber ใช้ข้อบกพร่องใน Adobe Flash เพื่อกระจายมัลแวร์ไปยังเครื่องของเหยื่อ

คุณสามารถป้องกันการโจมตีได้มากมายเพียงแค่อัปเดตแพทช์ของระบบปฏิบัติการ และแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานบนเครื่องของคุณอย่างน้อยเดือนละครั้ง

  • ป้องกันการฟิชชิ่ง

ฟิชชิ่งอีเมลเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดวิธีการทั่วไปในการเริ่มต้นโจมตีของ ransomware การบล็อกฟิชชิ่ง
URL จะช่วยลดโอกาสที่ผู้ใช้คลิกลิงก์ที่อันตรายได้

  • Isolation แยกเครื่องของคุณออกจากระบบ เพื่อจำกัดการโจมตี

กรณีของการติด ransomware ผู้โจมตีพยายามกระจายไวรัสให้ทั่วเครือข่าย คุณสามารถควบคุมการโจมตีโดยการแยกเครื่องที่ได้รับผลกระทบ และจำกัดการเข้าถึงเครือข่าย การแพตช์สามารถช่วยลดผลกระทบของการโจมตี และลดจำนวนไฟล์ที่อาจถูกเข้ารหัสในองค์กรของคุณ

  • กู้คืนความเสียหายที่เกิดด้วย Shadow copy

การโจมตี ransomware จำนวนมากเกิดขึ้นเพียงขั้นตอนเดียว ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากการเข้ารหัสไฟล์แล้ว ยังพยายามทำลายข้อมูลสำรองทุกประเภทที่ลูกค้าเก็บเอาไว้ ด้วย solution การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเรา คุณจะสามารถเสริมความแข็งแกร่งด้วย anti-tamper สำหรับการสำรองข้อมูลด้วย Shadow Copy ที่สามารถกู้คืนข้อมูลได้หลังจากโดน ransomware

โดยปกติผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีใช้ Shadow Copy เพื่อกู้คืนไฟล์จากระบบสำคัญล้มเหลว แต่เทคโนโลยีตัวนี้สามารถกู้คืนไฟล์ที่เข้ารหัสโดย ransomware ด้วยการเก็บไฟล์ข้อมูลสำรองใช้พื้นที่ประมาณ 10% ก็เพียงพอสำหรับข้อมูล

หากท่านสนใจทดลองใช้สามารถลงทะเบียนเพื่อขอทดลองได้ฟรี 30 วัน 

Credit: https://www.cisa.gov/
Credit: https://www.gartner.com/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Google Willow ชิปควอนตัมใหม่ล่าสุด ที่เอาชนะ Supercomputer แบบไม่เห็นฝุ่น และแสงสว่างสู่การใช้จริง

Google ได้อวดผลงานใหม่ล่าสุดกับงานวิจัยด้าน Quantum Computing กับชิปควอนตัมที่ชื่อว่า ‘Willow’ โดยใช้เวลาประมวลผลเพียง 5 นาทีแก้ปัญหาได้เท่ากับ Supercomputer ที่ต้องใช้เวลาที่เรียกได้ว่าตลอดกาล นอกจากนี้ทีมงาน Google ยังได้เพิ่มศักยภาพในการแก้ไขข้อผิดพลาดได้เจ๋งที่สุดตั้งแต่ทฤษฎีที่นำเสนอมาแล้วกว่า 30 …

Citrix ผนวก deviceTRUST และ strong.network เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัย Zero-Trust 

Citrix Systems หน่วยธุรกิจของ Cloud Software Group ประกาศเข้าซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์สองแห่ง ได้แก่ deviceTRUST และ strong.network เพื่อตอบสนองความท้าทายในการมอบความมั่นคงปลอดภัยแบบ Zero-Trust สำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด