IBM ได้เผยนวัตกรรมใหม่ซึ่งได้สร้างหน่วยประมวลผลที่อาศัยคุณสมบัติของแสงได้สำเร็จ โดยคุยว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่าสัญญาณไฟฟ้าแบบเดิมอย่างหาที่เปรียบมิได้

อย่างที่รู้กันปกติแล้วหน่วยประมวลผลของเราอาศัยสัญญาณไฟฟ้า แต่เชื่อหรือไม่ว่าล่าสุดทีมงานนักวิจัยของ IBM ได้อาศัยคุณสมบัติของแสงมาสร้างเป็นชิปตัวใหม่ที่แรงกว่าชิปแบบเดิมอย่างเทียบกันไม่ได้
ในแผนกวิจัยและค้นคว้าของ IBM ได้มีการศึกษางานเรื่อง In-memory Computing มาระยะใหญ่แล้ว โดยเมื่อปี 2020 เพิ่งมีการประกาศความสำเร็จในการพัฒนาการประมวลผลแบบ in-memory ที่ไส้ในเป็นอนุภาคแสงทั้งหมด ล่าสุดทีมงานของหน่วยได้เปิดเผยนวัตกรรมใหม่ ที่คาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการ AI เพราะมีการพัฒนาหน่วยประมวลผลที่ทำโดยอนุภาคแสงหรือ Light-based Tensor Core ขึ้นมาได้แล้ว
แม้ว่าผลงานใหม่จะยังอยู่ในต้นและต้องมีการทดสอบอีกมาก โดยสำหรับประสิทธิภาพของชิปใหม่จะสามารถปฏิบัติการประมวลผลทางคณิตศาตร์หรือ multiply-accumulate (MAC) operations ได้กว่า 1,000 ล้านล้านคำสั่งต่อวินาทีในขนาดชิปเพียงไม่กี่ ตร.มิลลิเมตร ไม่เพียงเท่านั้น Tensor Core ตัวใหม่ยังเหมาะกับการคำนวณเมทริกซ์และมี Operation ที่เหมาะกับการประมวลผล Visual Data ด้วย Operation ที่ชื่อ ‘Convoluation’
สำหรับในทางการใช้งานในกลุ่มของงานด้าน AI นักวิจัยเชื่อว่าการประมวลผลในเทคโนโลยี Self-driving Car จะเหมาะกับ Core ใหม่นี้มาก สาเหตุเพราะเมื่อรถมีความเร็วสูงก็จำเป็นต้องประมวลผลตรวจจับวัตถุให้ทันเวลา