CDIC 2023

IBM ประกาศ Open Source สำหรับ Quarks เครื่องมือช่วยพัฒนาแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์ IoT

IBM_Internet-of-Things

ถ้าพูดถึง Internet of Things (IoT) แล้ว การทำ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ส่งมาจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ปลายทางนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การส่งข้อมูลมาจากเซ็นเซอร์นั้นมีปัญหาค่อนข้างมาก เช่น ข้อมูลที่ส่งมามีจำนวนมาก, ใช้เวลาในการส่งข้อมูลนานเกินไป, ต้องใช้ระบบเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ล่าสุด IBM ได้ประกาศ Open Source สำหรับ Quarks เครื่องมือพัฒนาแอพพลิเคชันทางด้าน Internet of Things (IoT) ช่วยให้นักพัฒนาสามารถย้ายการทำ Analytics ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง (Edge Devices) ได้

Quarks ถูกพัฒนาโดย IBM เพื่อเป็นชุด SDK สำหรับการทำ Analytics ที่อุปกรณ์เซ็นเซอร์ปลายทาง และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Analytics ที่ศูนย์กลางได้ เช่น Apache Storm, IBM Streams ดังนั้นผู้ใช้งานจึงสามารถทำ Analytics ได้ตั้งแต่ปลายทางจนถึงศูนย์กลาง โดย Quarks จะช่วยให้อุปกรณ์ปลายทางสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รับเข้ามาได้ด้วยตัวเอง จากนั้นเมื่อทำ Analytics เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางต่อไป ซึ่งต่างจากเมื่อก่อน ที่อุปกรณ์ปลายทางจะทำการเก็บข้อมูลเอาไว้ แล้วรอช่วงเวลาที่จะส่งไปประมวลผลที่ศูนย์กลาง โดยวิธีการแบบเดิมจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ Real-Time ส่งผลให้การตอบสนองต่อเหตุการต่างๆทำได้ช้าลง

ibm-quarks

Quarks มาในรูปแบบ micro-kernel runtime ที่มีขนาดเล็ก สามารถทำงานได้บนอุปกรณ์ปลายทางได้หลากหลาย เช่น Raspberry Pi, หรือสมาร์ทโฟน โดยมี Connectors สำหรับเชื่อมต่อกับ MQTT, HTTP, JDBC, Apache Kafka และ IBM Watson IoT Platform

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://quarks-edge.github.io

 

ที่มา : https://developer.ibm.com/streamsdev/2016/02/16/streaming-analytics-center-edge/


About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนมือใหม่ผู้หลงใหลใน Enterprise IT และซูชิ

Check Also

GROW with SAP กับ I AM Consulting ช่วย SMEs ขึ้นสู่ ERP Cloud [Guest Post]

  กรุงเทพมหานคร, วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา – ในงาน DigiTech จัดขึ้น ณ อิมแพคเมืองทองธานี บริษัท …

nForce Secure เปิดตัวบริการ “Secure-IR Services” พร้อมโซลูชัน Cybersecurity ที่สนับสนุนด้วยเทคโนโลยี AI

เทคโนโลยี AI ณ วินาทีนี้เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่า AI จะมีคุณประโยชน์หลากหลาย แต่ในทางกลับกัน AI ก็อาจถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปใช้สร้างความเดือดร้อนได้เช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างมัลแวร์ (Malware) หรือการใช้เขียนอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing) เพื่อโจมตีบนโลกไซเบอร์ …