CDIC 2023

[Guest Post] หัวเว่ยชี้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องปลดล็อกศักยภาพเครือข่ายเพื่อกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ

Ryan Ding กรรมการบริหารบริษัทหัวเว่ยและประธานของ Huawei Carrier BG ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานประชุม Better World Summit 2020 วันนี้ โดยระบุว่า ขณะที่วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปทั่วโลกเช่นปัจจุบัน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาธุรกิจใน 4 ด้าน เพื่อปลดล็อกศักยภาพของเครือข่ายและกระตุ้นให้ธุรกิจเติบโตได้ต่อไป

Ryan Ding กรรมการบริหารบริษัทหัวเว่ยและประธานของ Huawei Carrier BG
  1. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเพิ่มมูลค่าของเครือข่ายที่มีอยู่แล้วให้ได้มากที่สุด โดยใช้เครือข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งเพิ่มสมรรถนะของเครือข่ายอย่างรวดเร็วด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ ขยายบอร์ดเครือข่าย หรือเปลี่ยน RPU ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับมือกับการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤตโรคระบาดและเป็นการใช้ต้นทุนการเป็นเจ้าของอย่างคุ้มค่าที่สุด
  2. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมควรมุ่งเน้นประสบการณ์ของผู้ใช้งานและสร้างเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุด  ประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายที่ดีที่สุดจะนำมาซึ่งความสำเร็จสูงสุดในเชิงพาณิชย์ ยกตัวอย่างเช่นในเกาหลีใต้ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้รับผลกำไรอย่างสูงจากการสร้างเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดและมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า โดยหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าและสร้างผลกำไรทางการเงินจากสมรรถภาพของเครือข่าย 5G
  3. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเร่งดำเนินการเชิงพาณิชย์เกี่ยวกับ 5G ในการค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 5G กำลังเข้าสู่ระยะใหม่ของการพัฒนา การดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) เป็นตลาดสำคัญสำหรับความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องเลือกอุตสาหกรรมที่เหมาะสมและสร้างสมรรถภาพใหม่ ๆ ของ 5G โดยมุ่งเป้าที่การค้าระหว่างธุรกิจด้วยกัน นอกจากนี้ยังต้องผลักดันให้เกิดมาตรฐานร่วมกันในอุตสาหกรรมเพื่อเร่งให้เกิดการใช้งาน 5G ของธุรกิจ B2B ในวงกว้าง
  • เพื่อสร้างความสำเร็จในธุรกิจแบบ B2B การเลือกอุตสาหกรรมที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ การเชื่อมต่อผ่านระบบส่วนบุคคลเป็นกรณีการดำเนินธุรกิจที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็วสำหรับ 5G ในธุรกิจ B2B โดยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 15 รายที่มีบริการการเชื่อมต่อ 5G แบบส่วนบุคคล สำหรับการตัดสินใจว่าจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมใด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมควรพิจารณา 3 ปัจจัย ได้แก่ ความน่าดึงดูดของอุตสาหกรรม ศักยภาพเชิงพาณิชย์ และศักยภาพเชิงเทคนิค โดยหัวเว่ยแนะนำว่าในการพัฒนาบริการ 5G สำหรับการดำเนินธุรกิจแบบ B2B นั้น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมควรมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเหมือง เหล็กกล้า ท่าเรือ และบ่อน้ำมัน  
  • ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องมีการวางแผน การสร้าง การบำรุงรักษา และการพัฒนาเครือข่าย ตลอดจนมีสมรรถภาพในการดำเนินธุรกิจแบบ B2B ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาสมรรถภาพในการวางแผนเครือข่ายที่มุ่งเน้นสภาวะแวดล้อมในการผลิตที่หลากหลายสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ และให้บริการผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ตอบโจทย์ของอุตสาหกรรมนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาบริการและแพลตฟอร์มที่เอื้อให้เกิดระบบนิเวศ มีสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน และสร้างโมเดลการทำธุรกิจที่ใช้งานได้จริง
  • ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องผลักดันให้เกิดมาตรฐานร่วมกันในอุตสาหกรรม มาตรฐานร่วมกันในอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐานของการพัฒนา 5G ในการดำเนินธุรกิจแบบ B2B ในวงกว้าง ซึ่งขณะนี้เริ่มมีความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมแล้ว โดยในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองและอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ได้เริ่มสื่อสารมาตรฐานของอุตสาหกรรมผ่านการตีพิมพ์สมุดปกขาว การก่อตั้งพันธมิตรในระบบนิเวศ และการเข้าร่วมการหารือเกี่ยวกับมาตรฐานต่าง ๆ
  1. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องสร้างเครือข่ายที่มุ่งสู่อนาคต อุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่าเครือข่ายของตนเองจะปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของผู้ใช้งานรายเดี่ยว ครอบครัว และธุรกิจได้อย่างไร และจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิทัลอย่างไรได้บ้าง หัวเว่ยมุ่งช่วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมสร้างเครือข่ายที่มุ่งสู่อนาคตต่อไปเพื่อส่งเสริมความสำเร็จที่ต่อเนื่องของพวกเขา

วิทยากรท่านอื่น ๆ ในงานวันนี้ประกอบด้วย Liang Baojun รองประธานอาวุโสบริษัท China Unicom, Liu Jian ผู้จัดการทั่วไปแผนกบริการรัฐบาลและวิสาหกิจบริษัท China Mobile, Choi Yoon Ho รองประธานแผนกบริการ AR/VR บริษัท LG U+, Phil Kendall กรรมการบริหารบริษัท Strateg Analytics และ Peng Honghua ประธานฝ่าย 5G Product Line ของหัวเว่ย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Better World Summit 2020 ได้ที่ https://bws2020.carrier.huawei.com/en/better_world_summit_2020_live.html

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย เป็นผู้นำของโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ ด้วยโซลูชันครบวงจรที่ครอบคลุม 4 ขอบข่ายหลัก ได้แก่ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที อุปกรณ์อัจฉริยะ และบริการคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างแท้จริง หัวเว่ย ให้บริการครบวงจรทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการ โดยมาพร้อมความสามารถในการแข่งขันและความปลอดภัย เราทำงานร่วมกันอย่างเปิดกว้างกับพันธมิตรในระบบนิเวศ เพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนสำหรับลูกค้า สร้างพลังให้กับผู้คน เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตในบ้าน ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์กรทุกขนาดและทุกรูปแบบ นวัตกรรมของหัวเว่ยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้า เราลงทุนมหาศาลในการวิจัยพื้นฐาน และมุ่งมั่นกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน และดำเนินงานในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก หัวเว่ยเป็นบริษัทเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2530 และพนักงานทุกคนเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกันอย่างแท้จริง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวเว่ยได้ที่ www.huawei.com


About Maylada

Check Also

ACSI ยกไทยเป็นหัวหอกอาเซียน  ปักธงเปิดสำนักงานในประเทศไทย นำเสนอโซลูชั่นและบริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับมืออาชีพ [Guest Post]

2 ตุลาคม 2566 – เอเซอร์ ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ อิงค์ (Acer Cyber Security Inc. : ACSI) ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับมืออาชีพ …

CloudCampus 10 Gbps คุณภาพสูงของหัวเว่ยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกอัจฉริยะในอุตสาหกรรมต่าง ๆ [Guest Post]

ในระหว่างงานหัวเว่ย คอนเนกต์ (Huawei Connect) ประจำปี 2566 หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 10 Gbps คุณภาพสูงเวอร์ชันอัปเกรดใหม่ที่มาพร้อมกับ 4 ฟีเจอร์สุดพิเศษ ได้แก่ การเข้าถึงความเร็วสูง, สถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย, สุดยอดประสบการณ์ และการดำเนินงานและการบำรุงรักษาแบบเรียบง่าย (O&M) โดยโซลูชันดังกล่าวพร้อมรองรับอนาคต มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทั่วโลกในการสร้างเครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูง “ความเร็ว 10 Gbps สำหรับสำนักงาน, 10 Gbps สำหรับการผลิต และ 10 Gbps สำหรับสาขา” เพื่อเร่งความเร็วในการเดินทางเปลี่ยนผ่านจากยุคดิจิทัลไปสู่ยุคระบบอัจฉริยะ