มีแพตช์แล้วไม่อุด! แฮ็กเกอร์แจก Credential พร้อมไอพีของเซิร์ฟเวอร์ VPN กว่า 900 แห่ง

กลุ่มแฮ็กเกอร์ได้แจกฟรีลิสต์รายการของ Credential พร้อมข้อมูลอื่นๆ ที่ได้มาจากเซิร์ฟเวอร์ VPN ของ Pulse Secure กว่า 900 ตัวที่ยังไม่แพตช์ช่องโหว่จากปีก่อน

Credit: Andrey Popov/ShutterStock

รายละเอียดของข้อมูลที่ถูกปล่อยออกมามีดังนี้

  • IP ของเซิร์ฟเวอร์
  • Firmware Version
  • SSH Keys
  • ลิสต์ของ Local User และ Password Hash
  • รายละเอียดของบัญชีระดับแอดมิน
  • การล็อกอินล่าสุด (Username และรหัสผ่านในรูปแบบ Cleartext)
  • VPN Session Cookie

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์แล้วพบว่า Pulse Secure ที่ตั้งเป็น VPN Server มีสิ่งที่ร่วมกันคือใช้ Firmware ที่ยังไม่ได้แพตช์ช่องโหว่ CVE-2019-11510 โดยเชื่อว่าแฮ็กเกอร์น่าจะไล่สแกนช่วง IPv4 เพื่อหาเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดอยู่และใช้ช่องโหว่นี้ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายนถึง 8 กรกฏาคม จนกระทั่งสามารถเข้าไปยังระบบและเก็บข้อมูลที่ต้องการออกมา 

อันที่จริงแล้ว Bad Packet ได้เคยออกมาเตือนกันครั้งแรกตั้งแต่สิงหาคมปีก่อนแล้วถึงเรื่องช่องโหว่นี้ โดยพบว่า 677 จาก 913 ไอพีในครั้งนี้ ก็คือเครื่องเดิมๆ ที่ Bad Packet เคยพบแล้วเมื่อปีก่อน นั่นหมายความว่าตลอดระยะเวลา 1 ปีนั้น ไม่ได้มีการแพตช์ช่องโหว่เลย ทั้งนี้เมื่อแฮ็กเกอร์ได้แจกฟรีข้อมูลออกไปแล้ว เตรียมตั้งตารอการมาเยือนของแรนซัมแวร์กันได้ต่อไปและแม้จะอัปเดตกันหลังจากนี้ก็ต้องไล่เปลี่ยนรหัสผ่านที่ถูกแฉออกไปแล้วด้วยครับ

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/hacker-leaks-passwords-for-900-enterprise-vpn-servers/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน