IBM Flashsystem

Stars Microelectronics พลิกกลับมากำไรด้วยกลยุทธ์การบริหารต้นทุนอย่างชาญฉลาด กับการใช้ SAP จาก NTT DATA Business Solutions Thailand เพื่อวางรากฐานด้านการเงินอย่างมั่นคง

โจทย์สำคัญของธุรกิจโรงงานและการผลิตในไทยและทั่วโลกนั้นโดยมากมักจะหนีไม่พ้นเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน ที่หากทำได้อย่างประสบความสำเร็จแล้ว ก็จะสามารถพลิกสถานะของธุรกิจและสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นได้อย่างทันที ซึ่ง Stars Microelectronics นั้นก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจโรงงานอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่สามารถพลิกธุรกิจให้กลับมามีกำไรได้ในระยะเวลาอันสั้น ด้วยการเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการบริหารต้นทุน

ในครั้งนี้ TechTalkThai ได้รับเกียรติพูดคุยกับคุณโชติศักดิ์ พรหมวาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท Stars Microelectronics (Thailand) PCL. ในการถ่ายทอดประสบการณ์ในการปรับกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการต้นทุนภายในบริษัทได้สำเร็จ พลิกธุรกิจให้กลับมามีกำไรได้ภายในเวลาเพียงปีเดียว พร้อมเล่าถึงวิสัยทัศน์ในการนำ SAP เพื่อวางระบบบริหารจัดการธุรกิจในแบบดิจิทัลให้ได้อย่างยั่งยืน 

Stars Microelectronics ผู้ให้บริการโซลูชันระบบอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตประกอบ Semiconductor แบบครบวงจร

Stars Microelectronics (Thailand) PCL. หรือชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ SMT เป็นธุรกิจผู้ให้บริการโซลูชันด้านการผลิตอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ที่มีบริการ Outsource ทางด้านการประกอบ และทดสอบ (OSAT) รวมถึงบริการด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (EMS) ซึ่งมีสาขาหลักอยู่ที่ประเทศไทย โดยมีอายุมานานกว่า 20 ปี

ความสามารถในการผลิตของ SMT นั้นครอบคลุมตั้งแต่การทำ Wafer Processing, IC Assembly, PCB Assembly และการประกอบรวมผสานระบบทั้งหมดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ และมีศักยภาพในการออกแบบ, การผลิตจำนวนมาก และการกระจายสินค้า ไปจนถึงการบริการในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่สถานะ End-of-Life ได้แบบครบวงจร รองรับการให้บริการให้กับธุรกิจได้หลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งบริการที่ครบถ้วนครอบคลุมทุกความต้องการได้นี้เอง ก็ทำให้ SMT มีลูกค้าอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, ยุโรป, จีน และญี่ปุ่น

แน่นอนว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นี้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ทั่วโลก และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก ทาง SMT ในฐานะของธุรกิจสัญชาติไทยที่มีวิสัยทัศน์ด้านการเติบโตในตลาดระดับนานาชาติมาโดยตลอด จึงได้มีการพัฒนาบริการและทำการวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจไทยที่น่าจับตามอง

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://starsmicro.com/

เมื่อธุรกิจมีความซับซ้อนสูง การบริหารจัดการด้านการเงินและต้นทุนจึงเป็นหัวใจสำคัญ

 

คุณโชติศักดิ์ได้เล่าถึงสถานการณ์ของ SMT ว่าถึงแม้จะอยู่ในตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตอยู่ตลอด แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา SMT กลับประสบปัญหา และต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้กิจการสามารถพัฒนาและรองรับการเจริญเติบโตในอนาคตต่อไปได้ ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นโจทย์สำคัญที่คุณโชติศักดิ์ในฐานะของประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินต้องเข้ามาปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริษัทกลับมามีกำไรให้ได้

ความท้าทายของ SMT นั้นก็คือการที่ธุรกิจโรงงานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความซับซ้อนที่สูงมาก การผลิตสินค้าใดๆ ตามที่ลูกค้าสั่งมานั้นอาจต้องประกอบไปด้วยชิ้นส่วนปลีกย่อยจำนวนมากที่ต้องสั่งซื้อจากโรงงานหลายแห่งมาทำการประกอบรวมกัน ซึ่งธุรกิจที่มีความซับซ้อนสูงนี้เองก็ทำให้การบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพนั้นทำได้ยาก อีกทั้งการรวบรวมข้อมูลเชิงธุรกิจเพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ก็ยังขาดความรวดเร็วแม่นยำ ดังนั้นผู้บริหารของ SMT จึงให้ความสำคัญกับประเด็นด้านการปรับปรุงการบริหารจัดการภายในให้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น

พลิกธุรกิจสู่กำไรท่ามกลางวิกฤต ด้วยหลักการบริหารธุรกิจที่ดี

ถึงแม้ในช่วงปี 2020 – 2021 ที่ผ่านมานี้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก และ SMT เองก็มองเห็นว่าบริษัทจะต้องมีการวางระบบใหม่นอกเหนือจากการ วางแผนด้านการบริหารจัดการที่ดี และปฏิบัติอย่างจริงจังภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนและการดำเนินงานภายใน ก็ทำให้ภายในปี 2020 เพียงปีเดียว ธุรกิจนั้นก็มีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 300% ได้แม้มีการขยายตัวของลูกค้าใหม่ไม่มากนัก และในปี 2021 เอง SMT ก็ยังคงเติบโตต่อเนื่องและมีผลกำไรมากขึ้นอีก มากกว่า 150% เลยทีเดียว

คุณโชติศักดิ์ได้เผยถึงกุญแจสำคัญที่ทำให้ SMT พลิกกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเคล็ดลับ 3 ประการ ดังนี้

  • เร่งเสริมคุณภาพในเชิงรายได้ของบริษัทให้ดี รายได้ต้องมาจากงานที่มีความมั่นคง มีผลกำไร และบริหารจัดการได้ดี
  • ต้องควบคุมต้นทุนและคุณภาพของวัตถุดิบให้ได้ แม้การผลิตจะมีความซับซ้อนที่สูง แต่ยิ่งการผลิตมีความซับซ้อนเท่าใด การบริหารต้นทุนก็ยิ่งสำคัญมากเท่านั้น
  • ต้องปรับปรุงให้มีพื้นฐานการบริหารงานที่ดี การดำเนินงานต้องมีความคุ้มค่า และเร่งปรับปรุงระบบพื้นฐานของธุรกิจให้ดีเพื่อให้ส่งผลต่อการดำเนินงานโดยรวม

การเร่งปรับปรุงเหล่านี้ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากของ SMT เนื่องจากช่วงสองปีที่ผ่านมา เป็นช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมพอดี ซึ่งถึงแม้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเผชิญกับทั้งประเด็นด้าน Trade War ระหว่างประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ก่อนช่วง COVID-19 แพร่ระบาด แต่เมื่อโรคระบาดมาก็ทำให้ตลาดเติบโตมากยิ่งขึ้น จากเดิมหลายธุรกิจที่ไม่เคยต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เริ่มหันมาลงทุนในส่วนนี้ แต่ประเด็นนี้เองก็เป็นดาบสองคมที่ทำให้เกิดภาวะ Supply Shortage ทั่วโลก ซึ่งก็เป็นอีกโจทย์ที่ SMT ต้องเผชิญและเอาชนะมาได้ด้วยการบริหารจัดการธุรกิจที่ดีนั่นเอง

คุณโชติศักดิ์ยังได้ยกตัวอย่างในการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การทำงานร่วมกับ Supplier หลายเจ้ามากขึ้นเพื่อให้บริษัทมีทางเลือกในการจัดซื้อวัตถุดิบในหลากหลายราคาและหลากหลายช่องทาง, การวางโมเดลในการคำนวณต้นทุนสำหรับการผลิตแต่ละรอบหรือแต่ละโครงการในหลายแง่มุม เพื่อให้สามารถประเมินความคุ้มค่าได้ครบถ้วนทุกมิติ, การรวบรวมข้อมูลด้านการเงินและการลงทุนในแต่ละการผลิตให้ได้อย่างครบถ้วน เพื่อให้การเก็บเงินในแต่ละโครงการมีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เองก็เป็นไปได้ทั้งด้วยแผนการบริหาร และการเลือกนำ Software บริหารจัดการธุรกิจที่ตอบโจทย์มาใช้

วางรากฐานครั้งสำคัญ ลงทุนครั้งใหญ่วางระบบ SAP เพื่อความยั่งยืน

ในปี 2020 ทาง SMT ยังมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการบริหารจัดการเป็นหลัก และวางแผนที่จะนำระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP เข้ามาใช้งานด้วย โดยมอง SAP เอาไว้ทั้งในฐานะของเครื่องมือที่เหล่าผู้บริหารคุ้นเคย, เป็นระบบที่มีชื่อเสียงในระดับโลก, มีนักพัฒนาระบบที่สามารถดูแลและปรับปรุงระบบได้มากกว่า ERP รายอื่นๆ และยังเป็นระบบที่ลูกค้าหรือคู่ค้าของ SMT หลายรายใช้งาน ทำให้การตั้งธงใช้ SAP นั้นนอกจากจะช่วยปรับปรุงการบริหารธุรกิจให้เป็นแบบดิจิทัลได้แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะสามารถผสานระบบเข้ากับลูกค้าหรือคู่ค้าเพื่อทำการค้าขายแบบ Automation ร่วมกันได้อีกด้วย

เหตุนี้เอง ทำให้ในปี 2021 ทาง SMT ได้ลงทุนในระบบ SAP เป็นงบประมาณถึง 60% ของทรัพย์สินที่มีการลงทุนทั้งหมด และแทบจะไม่ได้มีการลงทุนในเครื่องจักรเลย เป็นการลงทุนเพื่อการปรับปรุงการบริหารธุรกิจสำหรับการเติบโตในอนาคตอย่างแท้จริง ซึ่งคุณโชติศักดิ์ก็ระบุว่าการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เพราะการปรับปรุงระบบบริหารจัดการธุรกิจตั้งแต่ขั้นพื้นฐานนี้จะทำให้ธุรกิจได้เห็นข้อมูลต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Capacity ของเครื่องจักร, การ Utilize ของการทำงานในส่วนต่างๆ, การวางแผนลงทุนในโรงงานแต่ละแห่ง, การปรับกลยุทธ์ในเชิงลูกค้า รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนและการเงินทั้งในภาพรวมและเชิงลึกของธุรกิจไปพร้อมๆ กัน

คุณโชติศักดิ์เผยว่าตั้งแต่เริ่มใช้ SAP มาเห็นผลกระทบในทางบวกต่อธุรกิจหลากหลายประเด็น เช่น

  • การรวบรวมข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายในแต่ละโครงการได้อย่างครบถ้วน ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าทุกๆ การทำงานนั้นมีต้นทุนเท่าใด และมีผลกำไรเท่าไหร่ ช่วยให้ทุกๆ การขายและการผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเชื่อมต่อระบบ SAP ของ SMT เข้ากับ SAP ของลูกค้าและคู่ค้าผ่านทาง API ทำให้กระบวนการด้านการจัดซื้อและการขายเป็นไปแบบอัตโนมัติ โปร่งใส มีข้อมูลครบถ้วน โดยทาง SMT ได้ปรับระบบให้สามารถดึงราคาต้นทุนจากคู่ค้าแต่ละรายในชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่ต้องใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้ทุกๆ การจัดซื้อเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าสูงสุด
  • ในการพูดคุยกับลูกค้าแต่ละราย เมื่อต้องมีการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบหรือรายละเอียดในการผลิต พนักงานภายในโรงงานก็จะมีข้อมูลอย่างครบถ้วนในการดำเนินงาน ในขณะที่ฝ่ายขายเองก็จะมีข้อมูลหลักฐานการทำงานทั้งหมดอย่างครบถ้วนในการพูดคุยกับลูกค้า ทำให้โดยรวมแล้วการทำงานเป็นไปได้อย่างถูกต้องโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ได้รับความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกับลูกค้าจากนานาชาติมากยิ่งขึ้นในระยะยาว
  • การบริหารจัดการคลังสินค้าที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถนำของที่มีอยู่ในคลังสินค้ามาใช้ผลิตในแต่ละโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตรงส่วนนี้ในอนาคตก็ยังสามารถปรับปรุงได้อีกมาก
  • การมองเห็นค่าใช้จ่ายและรายรับได้อย่างทันทีและแม่นยำ ทำให้ทางบริษัทสามารถปรับระบบบัญชีให้ดีขึ้นได้ โดยในอนาคตตั้งเป้าหมายว่าระบบบัญชีจะต้องมีความเป็นอัตโนมัติและใช้งานได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

คุณโชติศักดิ์เชื่อว่าเมื่อมีการใช้งาน SAP ไปได้ระยะหนึ่งจนมีข้อมูลและกระบวนการที่ครบถ้วนแล้ว SMT ก็จะสามารถทำการรับรู้รายได้หรือการออก Financial Statement ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก รวมถึงยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ Management Dashboard เพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ต่างๆ ให้แม่นยำมากยิ่งขึ้นหลังจากนี้

เลือก  NTT DATA Business Solutions Thailand ร่วมเรียนรู้และพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ในแบบดิจิทัล

แน่นอนว่าอีกโจทย์สำคัญในการเลือกใช้งาน SAP นั้นคือการหา SAP Implementer ที่ไว้วางใจได้มาร่วมงานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนสูงอย่าง SMT ยิ่งต้องเลือกใช้ Implementer ที่มีประสบการณ์และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนระบบให้สอดคล้องต่อความต้องการที่เฉพาะตัว ในขณะที่คนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เองก็มี Turn Over Rate ที่สูง ทำให้ Implementer ที่มาทำงานร่วมกันนี้ต้องช่วยบริหารจัดการในส่วนนี้ให้ได้ เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ด้วยเหตุนี้ ทีมผู้บริหารของ SMT จึงได้ตัดสินใจเลือกใช้บริการนี้จาก NTT DATA Business Solutions Thailand  (เดิมชื่อ  ISS Consulting) ที่มีทีมงานมืออาชีพซึ่งเข้าใจในข้อจำกัดของ SMT เป็นอย่างดี โดยถึงแม้ในช่วงที่มีการพูดคุยแรกเริ่มกันนั้น ทาง  NTT DATA Business Solutions Thailand จะยังไม่มีประสบการณ์ในการวางระบบ SAP ให้กับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนมากนัก แต่ด้วยการทำงานและการวางแผนที่ดี รวมถึงความพร้อมในการเรียนรู้ความต้องการของ SMT ที่จะพัฒนาระบบร่วมกัน ทำให้สุดท้ายแล้ว SMT ก็ตัดสินใจที่จะร่วมงานกับ NTT DATA Business Solutions Thailand

คุณโชติศักดิ์เผยว่าในระหว่างที่มีการร่วมงานกับทาง NTT DATA Business Solutions Thailand  นั้นมีการประสานงานและเข้ามาทำงานกันอย่างใกล้ชิดโดยตลอด มีการพูดคุยปรับเปลี่ยนแก้ไขระบบให้อย่างต่อเนื่อง โดยทีมผู้บริหารของ SMT นั้นก็ได้ลงมาร่วมในโครงการนี้ด้วยอย่างเต็มตัวเพื่อให้การตัดสินใจในส่วนต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อระบบเริ่มมีการใช้งานจริงๆ ก็ยังมีการรับฟังเสียงจากผู้ใช้งานและปรับเปลี่ยนระบบให้สอดคล้องกับการทำงานไปด้วย ในขณะที่ทาง NTT DATA Business Solutions Thailand    เองก็คอยเป็นผู้ประสานให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น และนำ Best Practice จาก SAP มาให้ความรู้และปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการภายใน SMT

เรียกได้ว่าถึงแม้โครงการนี้จะต้องมีการร่วมมือร่วมแรงและใช้เวลานาน ทั้งยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุด ก็สามารถดำเนินโครงการนี้ให้เป็นไปตามเป้าหมายของ SMT ได้เป็นอย่างดี และระบบ SAP นี้ก็จะกลายเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเติบโตของ SMT หลังจากนี้

บริหารจัดการธุรกิจด้วย Software คือกลยุทธ์ที่สำคัญ แต่ผู้บริหารต้องพิจารณาในหลายประเด็น

คุณโชติศักดิ์ได้ทิ้งท้ายถึงบทเรียนสำหรับผู้บริหารในธุรกิจอื่นๆ ที่มีแผนจะลงทุนในระบบ ERP เอาไว้ว่า โครงการระบบ ERP นี้สำคัญตั้งแต่การเลือก Software ที่ต้องเลือกให้สัมพันธ์กับทิศทางของธุรกิจในอนาคต สามารถทำงานร่วมกับลูกค้าหรือคู่ค้าได้แบบอัตโนมัติ สามารถนำมาใช้งานได้โดยไม่เกินกำลังการลงทุนของธุรกิจ โดยต้องตั้งเป้าว่าท้ายที่สุดแล้วระบบจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ซึ่งก็ย่อมจะทำให้ระบบเองต้องเติบโตตามธุรกิจ และรวบรวมองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจเอาไว้ในระบบให้มากที่สุด ลดการยึดติดกับบุคลากรคนใดคนหนึ่งให้น้อยลงไป

และแน่นอนว่าการลงทุนในระบบ ERP นี้ย่อมต้องกระทบกับพนักงานด้วย ซึ่งธุรกิจเองก็ต้องพยายามผลักดันให้พนักงานทำการส่งต่อความรู้เข้าสู่ระบบ เปลี่ยนวัฒนธรรมและมุมมองในการทำงานของพนักงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนหันมาสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือการสื่อสารให้พนักงานเกิดความเข้าใจถึงข้อดีในการนำระบบ ERP มาใช้ และการวาง Workflow ที่เป็นมาตรฐานชัดเจนในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งธุรกิจที่ทำงานเป็นระบบมากขึ้น และพนักงานที่สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำพร้อมมีผลลัพธ์ในการทำงานที่ดีขึ้นไปด้วยในเวลาเดียวกัน

เกี่ยวกับ NTT DATA Business Solutions (Thailand) Ltd. เดิมชื่อ บริษัท ISS Consulting (Thailand) Ltd.

 

บริษัท NTT DATA Business Solutions  (Thailand) Ltd. ภายใต้กลุ่ม บริษัท NTT DATA ผู้ให้บริการระบบ SAP และ Data Center ระดับโลก และเป็นผู้นำทางด้าน Digital Transformation และเป็นสมาชิก SAP Global Partner ที่พร้อมคำปรึกษา และบริการด้านการออกแบบ พัฒนา ติดตั้งโซลูชัน SAP Solution และ IT Solution อื่น ๆ ให้กับลูกค้าในประเทศไทย เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กรในทุกกลุ่มประเภทธุรกิจ

สำหรับธุรกิจที่ต้องการปรึกษาด้านโซลูชั่น SAP เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กรให้ดีขึ้น NTT DATA Business Solutions Thailand  พร้อมให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มประเภทธุรกิจ ติดต่อได้ที่ โทร 02 237 05553 หรือติดตาม ได้ที่ email: marketing-solutions-th@nttdata.com หรือ www.nttdata-solutions.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วางรากฐานครั้งสำคัญ ลงทุนครั้งใหญ่วางระบบ SAP เพื่อความยั่งยืน

About Maylada

Check Also

โลกดิจิทัลหมุนเร็วจนน่าตกใจ! ทรูห่วงใย พร้อมปกป้องลูกค้าทุกคนจากภัยไซเบอร์ ทั้งแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มกับ True CyberSafe และแบบจัดพิเศษเมื่อใช้งานนอกเครือข่าย กับ F-Secure for True [PR]

ท่ามกลางความเสี่ยงในโลกยุคดิจิทัลที่ภัยออนไลน์คุกคามอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งรูปแบบลิงก์หลอกลวงทาง SMS โทรหลอกลวง ไปจนถึงเว็บไซต์อันตราย  ทรู คอร์ปอเรชั่น ลงทุนพัฒนานวัตกรรมบริการเพื่อป้องกันภัยไซเบอร์ให้ลูกค้าทรู ดีแทค และทรูออนไลน์ทุกคน  ด้วย 2 โซลูชันความปลอดภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง

สรุปข่าวเด่น Enterprise IT ประจำสัปดาห์ [21 – 25 เม.ย.2025]

หลังจากผ่านเทศกาลสงกรานต์กับอากาศที่ร้อนระอุ สถานการณ์สงครามภาษี Tariff War ก็ยังคงร้อนแรงอย่างต่อเนื่องที่ดูยังคงไม่มีความชัดเจนแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในอนาคตอันใกล้นี้ ส่งผลกระทบให้ทั้งโลกปั่นป่วน องค์กรล้วนจำเป็นต้องวางแผนจัดการกับสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้แบบรายวันเลยทีเดียว สำหรับสัปดาห์นี้ ดูเหมือนว่า “Model Context Protocol” หรือ MCP มาตรฐานใหม่ในการเชื่อมโยงผู้ช่วย …