CDIC 2023

Google ChromeOS ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Data Control และ Security

Google ChromeOS ได้ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ด้าน Data Control และ Security จำนวนมาก เพื่อให้เป็นไปตามแนวทาง Secure by Design, Secure by Default ของ CISA โดยความสามารถที่เพิ่มเข้ามามีดังนี้

  • เพิ่ม Verified Boot ช่วยตรวจสอบการโจมตีระดับ OS ในระหว่าง Start up รองรับการ Revert ระบบไปใช้งานเวอร์ชันที่ปลอดภัย
  • ป้องกันการรันไฟล์ที่ไม่ปลอดภัยแบบ Default
  • ทำการเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์ให้น้อยที่สุด โดยจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้บน Cloud เป็นหลัก ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยและสำรองข้อมูล ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
  • ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบ Extension และ Policy ของ Google Chrome ได้จากส่วนกลาง พร้อมทั้งระบบ Approval Workflow สำหรับร้องขอการติดตั้ง Extension ที่อยู่นอกเหนือจากรายการได้ ใช้ CRXcavator และ Spin.AI ในการตรวจสอบความเสี่ยงของ Extension
  • เพิ่ม ChromeOS Data Controls แบบ General Availability (GA) ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างนโยบายรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้จากศูนย์กลาง รองรับการปรับแต่งหลากหลาย เช่น ป้องกันการ Copy/Paste, Screen Capture, Screen Sharing และ Printing จากอุปกรณ์
  • เพิ่ม Chromebook Camera/Microphone Privacy Control สำหรับผู้ใช้งาน
  • ปรับปรุง Chrome Enterprise connectors framework ให้รองรับผลิตภัณฑ์จากรายอื่นมากขึ้น เช่น CrowdStrike, Palo Alto Networks และ Netskope
  • รองรับ Azure Active Directory Conditional Access บน ChromeOS ผ่านทาง Netskope Intelligent SSE หรือ Microsoft Defender for Cloud Apps เพื่อทำ Identity และ Access Management

ที่มา: https://cloud.google.com/blog/products/chrome-enterprise/protect-business-data-chromeos-data-controls-and-new-security-integrations


About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนมือใหม่ผู้หลงใหลใน Enterprise IT และซูชิ

Check Also

Sirisoft ผนึกกำลัง Red Hat และ VST ECS นำเสนอ Red Hat OpenShift Platform Plus [Guest Post]

Sirisoft (สิริซอฟต์) ผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของไทย ผนึกกำลัง Red Hat (เร้ดแฮท (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก และ VST ECS (วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) …

ความท้าทายของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าข้อมูลอินเทอร์เน็ตกว่า 97% ต้องพึ่งพาอาศัยเคเบิ้ลที่เดินข้ามมหาสมุทรให้เราทุกคนในโลกสามารถพูดคุยกันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าตัวสายเคเบิ้ลใต้น้ำเองก็มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในแง่ของการชำรุดเสียหาย หรือความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่ทราบมาก่อน