เทคโนโลยี Big Data ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจค่อนข้างมาก โดยมีบทบาทครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ไปจนถึงการจัดการ Inventory และการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ดี การเติบโตของการนำ Big Data มาใช้ในงาน Business Intelligence จะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง Gartner เองก็ได้ชี้แนวโน้มหลักๆ เอาไว้ด้วยกัน 3 ประการ ซึ่งสามารถสรุปคร่าวๆ เอาไว้ได้ดังนี้
1. ภายในปี 2020 ข้อมูลทั้งหมดจะถูกใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำธุรกิจและผลิตภัณฑ์กว่า 80% จากสิ่งที่มีอยู่เดิมในทศวรรษก่อน
ด้วยการมาของเทคโนโลยี Internet of Things จะทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในแบบ Real-time และสามารถสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคได้ ในขณะเดียวกันกระบวนการทำงานต่างๆ ก็จะสามารถทำแบบ Automated ได้มากขึ้นด้วยความพร้อมของข้อมูลและความเร็วในการรับข้อมูล ส่งผลไปถึงการตัดสินใจในระดับต่างๆ ให้มีระบบช่วยตัดสินใจแบบ Automated ได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ สินค้าต่างๆ ก็ยังสามารถให้บริการผู้บริโภคได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น รถยนต์ที่สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ด้วยตัวเอง หรือเรียกบริษัทประกันภัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งการสื่อสารที่มาพร้อมกับข้อมูลทีจำเป็นเหล่านี้จะช่วยลดการทำงานของมนุษย์ลงได้อย่างมาก
2. ภายในปี 2017 มากกว่า 30% จะนำข้อมูลจากส่วนกลางผ่านบริการ Data Broker มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลภายในองค์กร เพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ
ข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ภายในองค์กรเพื่อมาทำการวิเคราะห์จะไม่เพียงพออีกต่อไป ในอนาคตจะต้องมีบริการข้อมูลภายนอกองค์กรต่างๆ เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมในองค์กรได้ โดยผู้ให้บริการข้อมูลจะมีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลในแต่ละหมวดที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก มาจัดเป็นชุดๆ และมีการอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้
ตัวอย่างที่เห็นภาพได้อย่างง่ายดาย เช่น การวิเคราะห์ว่าสภาพอากาศในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อ Inventory อย่างไรบ้าง หรือวิเคราะห์จากการพูดคุยของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ใน Social Network ว่าควรจะมีการสำรองสินค้าใน Inventory มากน้อยเพียงใด เป็นต้น และแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดขององค์กรก็จะไม่ใช่ระบบ ERP หรือ CRM อีกต่อไป แต่จะเป็น Website และข้อมูลภายนอกเหล่านี้นั่นเอง
3. ภายในปี 2017 มากกว่า 20% ของธุรกิจจะมีการนำ Internet of Things มาใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์โดยตรง
Sensor จาก Internet of Things จะไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่การบอกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ แต่จะถูกนำมาติดตามการใช้งานในเชิงประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้าด้วย เช่น การติดตามการทำงานของเครื่องยนต์หรือเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ หรือการแจ้งเตือนให้ลูกค้าทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดงานของแบรนด์ต่างๆ ลงแล้ว การติดตามและแจ้งเตือนในเชิงลึกเหล่านี้จะยังช่วยให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับ Partner แต่ละรายของแบรนด์ เพื่อสร้างความภักดีต่อแบรนด์มากยิ่งขึ้นไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
การเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างครอบคลุมเป็นปัจจัยสำคัญ
การที่แต่ละองค์กรจะก้าวไปสู่การเป็น Digital Economy ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละองค์กรจะต้องบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ Big Data, Internet of Things, Social Media, ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐภายในและต่างประเทศ, ข้อมูลจาก Partner, ข้อมูลจาก Supplier, ข้อมูลจากลูกค้า และข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอกทั้งหมด โดยในปี 2015 นี้ ทั้งภาคธุรกิจและ IT จะต้องเริ่มพิจารณาความสำคัญของการสร้างคุณค่าจากข้อมูลต่างๆ เพื่อให้มีแนวทางในการจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ สำหรับการใช้งานในอนาคตได้
สำหรับผู้ที่สนใจระบบ Big Data Analytics หรือ Splunk และอยากพูดคุยเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติมหรือทดสอบระบบ สามารถติดต่อบริษัท STelligence ได้ทันทีที่ info@stelligence.com หรือติดต่อคุณธเนศ ฝ่ายขาย ที่โทร 084-662-8523 หรือโทร 02-938-7475 ได้ทันที