CDIC 2023

Ericsson รายงาน ปี 2022 มียอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลก 1 พันล้านราย คาดแตะ 4.4 พันล้าน ภายในปี 2027

Ericsson ออกรายงาน Ericsson Mobility Report ประจำปี 2022 คาดการณ์ว่า ยอดผู้ใช้งาน 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเติบโตสูงขึ้นสองเท่าจาก 15 ล้านบัญชีเมื่อปี 2021 และภายในปี 2022 จะมียอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกถึง 1 พันล้านราย

เนื้อหาสำคัญจากรายงาน Ericsson Mobility Report ชี้ว่า ปริมาณการใช้งานดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 มีจำนวนผู้ใช้ 5G มากถึง 620 ล้านราย และคาดว่าในปี 2027 จะมียอดผู้ใช้งาน 5G ถึง 4.4 พันล้านบัญชี ในขณะที่ยอดใช้งาน 4G ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และน่าจะเติบโตสูงสุดที่ 5 พันล้านบัญชีในปีนี้

Image credit: Ericsson

เมื่อเทียบการเติบโตของยอดผู้ใช้งานระหว่าง 4G กับ 5G แล้ว พบว่า ยอดผู้ใช้งาน 5G เติบโตมากขึ้นเร็วกว่า 4G รวมไปถึงเทคโนโลยีด้านเครือข่ายเคลื่อนที่รุ่นก่อนหน้าด้วย ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการนำ 5G มาใช้งานเร็วขึ้นก็คือ การใช้งานสมาร์ตโฟนและเครือข่ายบรอดแบนด์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลขององค์กรแม้จะเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม

รายงานยังเผยอีกว่า ประชากรโลกราว 1 ใน 4 สามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 มียอดผู้ใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นอีกราว 70 ล้านราย และคาดว่า ประชากรโลกราว 3 ใน 4 จะสามารถเข้าถึง 5G ได้มากขึ้นภายในปี 2027

Image credit: Ericsson

มร. อิกอร์ มอเรล  ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 GB ต่อเดือน ภายในปี 2027 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยที่มีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”

ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดย Ericsson คาดการณ์ว่า ในปี 2022 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2027 แตะระดับ 230 ล้านจุด

Image credit: Ericsson

ในแง่ของ Internet of Thing  (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2021 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด

เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2021 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2023

Image credit: Ericsson

อ่านรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเต็มได้ที่นี่


About nittaya

Previously worked as an English lecturer and eventually becomes an ADPT content writer to inspire readers under "ADAPT, ADEPT, ADOPT" concepts อดีตอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ผู้ผันตัวมาเป็นนักเขียน ADPT หวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านภายใต้แนวคิด "ADAPT, ADEPT, ADOPT"

Check Also

การ์ทเนอร์ชี้ 6 กลยุทธ์ที่ผู้นำทีม Software Engineering ต้องทราบในปี 2023

การมีกลยุทธ์ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะแนวปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรมีกรอบที่จะเป็นไป ให้อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงของกระแสเทคโนโลยี ในมุมของ Software Engineering การ์ทเนอร์ได้แนะนำ 6 กลยุทธ์ไว้ดังนี้

ความท้าทายของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าข้อมูลอินเทอร์เน็ตกว่า 97% ต้องพึ่งพาอาศัยเคเบิ้ลที่เดินข้ามมหาสมุทรให้เราทุกคนในโลกสามารถพูดคุยกันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าตัวสายเคเบิ้ลใต้น้ำเองก็มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในแง่ของการชำรุดเสียหาย หรือความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่ทราบมาก่อน