ปัจจุบัน Cybercrime หรือ อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นทุกวันและมีอัตราการโจมตีเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าในอดีต อีกทั้งอาชญากรรมไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการจู่โจม เทคนิคและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พร้อมแทรกซึมเข้าสู่องค์กรเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา
แล้วจะทำอย่างไร? ให้องค์กรของคุณ…สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
“Attackers are adapting and finding new ways to implement their techniques, increasing the complexity of how and where they host campaign operation infrastructure.” – Amy Hogan-Burney, General Manager, Digital Crimes Unit, Microsoft
- Malware Attack ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิกที่มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล และจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น Ransomwares ซึ่งหนึ่งในภัยคุกคามที่ต้องระวังเป็นอันดับต้นๆในปี 2023
- Phishing Attack เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่มีมานาน โดยผู้โจมตีจะสร้างกับดัก เพื่อหลอกล่อให้คลิกลิงค์หรือติดตั้งมัลแวร์ ผ่านการปลอมแปลงอีเมล์จากบุคคลที่สามารถไว้วางใจและสั่งการได้ เช่น ผู้บริหาร หรือองค์ที่น่าเชื่อถือ
- Password Attack หรือการ Brute force หรือการทำ Password Spray ยังคงเป็นภัยคุกคามที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆและยังเป็นภัยคุกคามที่ยังมาแรงในปี 2023
- Man-in-the-Middle Attack เป็นการโจมตีแบบคนกลาง โดยจะทำการโจมตี หรือขโมยข้อมูลระหว่างที่มีการส่งข้อมูลหรือทำอะไรบางอย่างระหว่าง Device 2 เครื่อง ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ดังๆที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ การนำสาย USB ไปเสียบชาร์จตามสถานที่สาธารณะ และโดนขโมยข้อมูลภายในโทรศัพท์
- SQL Injection Attack เป็นการโจมตีเพื่อมุ่งหวังข้อมูล อาทิ เช่น ข้อมูลของลูกค้า, ข้อมูลส่วนบุคคล, หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลการเงิน เป็นต้น โดยผู้โจมตีจะโจมตีผ่านช่องโหว่บนเซิร์ฟเวอร์ SQL ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้มาก
- Denial-of-Service Attack เป็นการโจมตีแบบ DoS (Denial of Service) โดยผู้โจมตีจะใช้ IP ที่หลากหลายจากทั่วโลกในการเข้ามาสร้างความหนาแน่นของ Traffic ทำให้เซิร์ฟเวอร์หรือแอปพลิเคชัน หยุดชะงักและไม่สามารถใช้งานได้
- Insider Threat เป็นอีกภัยคุกคามที่ต้องให้ความสำคัญ นอกจากการพยายามปกป้องภัยคุกคามจากภายนอกองค์กรแล้ว เราต้องคำนึงถึงภัยคุกคามจากภายในองค์กร จากการกระทำของคนภายในองค์กร หรือความประมาทเลินเล่อของพนักงานเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสําคัญของการรั่วไหลของข้อมูลอีกด้วย
- Cryptojacking ภัยคุกคามรูปแบบใหม่และเป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่กำลังมาแรง โดยผู้โจมตีจะทำการ Compromised หรือ Hacked Account เพื่อขโมย User และ Password หรือแอบรันสคริปต์บางอย่างบนเว็บเบราเซอร์ของผู้ใช้งาน และนำทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรไปใช้ในการขุดเหมืองเงินดิจิทัล หรือที่เรียกกันว่าขุดบิทคอยน์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่แฮกเกอร์
- Zero-Day Exploit เป็นการโจมตีการโจมตีขั้นสูง เป็นช่องโหว่ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ ปัจจุบัน ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน, ระบบปฏิบัติ และแพลตฟอร์มต่างๆ ยังไม่มี Path ออกมารับมือกับการโจมตีลักษณะนี้ จึงยังไม่มีอะไรที่สามารถรับมือป้องกันภัยคุกคามนี้ได้
- Watering Hole Attack เป็นการเปรียบเทียบกับการที่ผู้ล่า เช่น สิงโตหรือหมาป่า จะดักรอเหยื่ออยู่บริเวณใกล้ๆ บ่อน้ำ เพราะมั่นใจว่าจะมีเหยื่อเข้ามาดื่มน้ำในบ่อน้ำนั้นแน่นอน โดยแฮกเกอร์จะทำการโจมตีเว็บไซต์ที่คาดว่าจะมีผู้ใช้งานจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ หรือเว็บไซต์ที่คนสนใจเป็นพิเศษ โดยทำการฝังสคริปต์บางอย่างไว้ที่หน้าเว็บไซต์
จาก 10 Types of Cyber Attacks ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า การโจมตีส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ Identity มากสุด ไม่ว่าจะเป็น Malware Attack, Phishing Attack หรือแม้กระทั่ง Password Attack ต่างก็เป็นภัยคุกคามที่พุ่งโจมตีมาที่ Identity เพราะฉะนั้นการทำ Multi-Factor Authentication หรือ MFA รวมถึงการทำ Account Verify Review เป็นประจำให้กับกลุ่มผู้ใช้งาน Role Admin ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft365/Office365 Global Admin, Azure Admin, Account Owner Subscription และ Azure Contributor เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยง และปิดช่องโหว่การโจมตีทางไซเบอร์ด้าน Identity โดยเฉพาะ รวมถึงปกป้อง Endpoint ให้ปลอดภัยด้วยการอัปเดต Patching อย่างสม่ำเสมอ และเร็วที่สุด (แนะนำไม่เกิน 48 ชั่วโมง) และการนำ Data Loss Prevention มาใช้งานภายในองค์กร เพื่อเสริมความปลอดภัยในกับองค์กรมากยิ่งขึ้น
5 เคล็ดลับช่วยให้องค์กรของคุณปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
Microsoft Digital Defense Report 2022 บอกว่า “การเพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นให้กับองค์กรสามารถช่วยการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์มากถึง 98%” ทาง Microsoft แนะนำแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์ ดังนี้
- Enable Multifactor Authentication : เปิดใช้งาน MFA ทุก Role และทำ Account Verify Review สม่ำเสมอ
- Apply Zero Trust Principles : นำหลักการ Zero Trust มาใช้
- Use Modern Anti-Malware : เปลี่ยน Legacy มาเป็น Modern
- Keep Up to Date : ทำการอัปเดต Patch สม่ำเสมอ
- Protect Data : มีระบบปกป้องข้อมูลภายในองค์กรที่ดี
ปกป้ององค์กรของคุณด้วย Microsoft Security
ธุรกิจต่างๆ กำลังประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งด้านปริมาณและความซับซ้อน ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็วและการทำงานแบบไฮบริดที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดด้านทรัพยากร งบประมาณ และช่องว่างของทักษะด้านการรักษาความปลอดภัยเฉพาะทาง Microsoft ได้พัฒนา Security Solutions ต่างๆ อาทิ เช่น Microsoft Defender, Microsoft Sentinel, Microsoft Entra, Microsoft Purview, Microsoft Priva และ Microsoft Endpoint Manager ครอบคลุมการจัดการกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ
ยกระดับความปลอดภัยให้กับองค์กรของคุณ ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัล ด้วย Cyber Security Services by Metro Systems
จากที่กล่าวมาข้างต้น.. เมื่อเรารู้จักถึงภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ, การปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นต้น และการมีเทคโนโลยีที่ดีอย่าง Microsoft Security มาช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรของคุณแล้ว กุญแจสำคัญของการยกระดับความปลอดภัยให้กับองค์กร คือ การดูแลระบบ ซึ่งเมโทรซิสเต็มส์ฯ ตระหนักถึงภัยคุกคามที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงพัฒนาบริการในด้านการักษาความปลอดภัย เพื่อให้องค์กรของท่านสามารถทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยบริการ Super Services ดังนี้
- Reactive Support : บริการแก้ไขปัญหาเมื่อพบภัยคุกคามอย่างเร็วที่สุด
- Proactive Support : บริการตรวจสอบช่องโหว่ และ IT Health Check เพื่อป้องกันและปิดช่องโหว่ก่อนการเกิดภัยคุกคามในอนาคต ทั้งแบบ Online และ Onsite Services
- Advisory Consultation : บริการคำปรึกษาด้าน Security และ Infrastructures ด้านอื่นๆ รวมถึงบริการ Change Management
- SOC – Manage Security : บริการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ แบบ 24×7 ไม่ว่าจะเป็น Monitor, ตรวจสอบ Logs, Alert รวมถึงการทำ Malware Analysis เป็นต้น
- Outsource : บริการ Helpdesk, Service desk และ Rollout จากทีมงานที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
- Cloud Managed Services : บริการบริหารจัดการ Cloud Services ทั้งแบบ Public Cloud และ Private Cloud ทำให้สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปกติ ป้องกันการขโมยใช้ทรัพยากรภายในองค์กร
นอกจากนี้เมโทรซิสเต็มส์ฯ ในฐานะพาร์ทเนอร์ของ Microsoft และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้าน Microsoft Security ให้กับองค์กรชั้นนำในประเทศไทย และเป็นพาร์ทเนอร์รายแรกใน APAC ที่ได้รับ Microsoft Security Specialization ครบทุกด้านของ Microsoft Security รวมถึงเป็นผู้มีส่วนช่วยพัฒนาและผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกใช้ Microsoft Security ที่เหมาะสมมาช่วยบริหารจัดการความปลอดภัยภายในองค์กร และด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมงานทำให้องค์กรชั้นนำ เชื่อมั่น และไว้วางใจให้เมโทรซิสเต็มส์ฯ ดูแลและให้บริการด้าน Microsoft Security แบบครบวงจร ทำให้เมโทรซิสเต็มส์ฯ คว้ารางวัล Security Partner of the Year 2021-2022 จาก Microsoft ถึง 2 ปีซ้อน ตอกย้ำความเป็นผู้นำในการให้บริการ Microsoft Security สำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัลของเมืองไทย
ปัจจุบันหลายๆ องค์กรอาจมองข้ามเรื่องความปลอดภัยของระบบต่างๆ ที่นำมาใช้งานเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ จึงทำให้หลายๆองค์กรโดนโจมตีทางไซเบอร์ และเกิดความเสียหายต่อองค์กรและธุรกิจ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และหมั่นตรวจเช็คความปลอดภัยภายในองค์กรของท่านว่า องค์กรของท่านมีโซลูชั่นมาช่วยป้องกันความปลอดภัย (Security) ครอบคลุมการดำเนินการธุรกิจของคุณแล้วหรือยัง?
ลดความเสี่ยง ป้องกันภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และยกระดับความปลอดภัยให้กับองค์กรของท่านพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย Microsoft Security และ Cyber Security Service จากเมโทรซิสเต็มส์ฯ
Think Security, Think MSC
สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจบริการ Microsoft Security หรือ Cyber Security Service สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-0894431 / thachpan@metrosystems.co.th
#Microsoft #Metrosystems #Microsoft365 #MicrosoftSecurity #Security #cybersecurity #Identityandaccessmanagement #MFA #EndPoint #Endpointprotection #SCCM #Intune #EDR #InformationProtection #SecurityManagement #SecurityPosture #CyberSecurityService