เมื่อเร็วๆ นี้ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้เข้าไปพูดคุยกับทีมงานของ Microsoft Thailand เกี่ยวกับมุมมองของตลาด Cloud Computing จากธุรกิจหลากหลายขนาดในประเทศไทย และพบว่ามีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจค่อนข้างเยอะทีเดียวที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ Startup ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่กำลังพิจารณาบริการ Cloud อยู่ จึงขอนำมาแบ่งปันกันดังนี้ครับ
มุมของนักพัฒนา: การเลือก Cloud คือการเลือกเทคโนโลยีสำหรับปัจจุบัน และอนาคต
ผู้ให้บริการ Cloud แต่ละรายเองนั้นต่างก็มีแนวทางในการนำเสนอบริการ Cloud ที่แตกต่างกันไป และสร้างจุดเด่นของตนเองขึ้นมาทั้งในเชิงของรูปแบบบริการ, ค่าใช้จ่าย, เทคโนโลยีเสริม และอื่นๆ อีกมากมาย การมองบริการ Cloud ให้เหนือขึ้นไปกว่าระดับของ Infrastructure as a Service ขึ้นไปนั้นจึงถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อการประเมินเทคโนโลยีของบริการ Cloud จากผู้ให้บริการ Cloud แต่ละราย เพื่อให้ระบบ IT ของเราที่พัฒนาบนบริการ Cloud เหล่านั้นสามารถต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในบริการ Cloud เหล่านั้นได้ในอนาคต ไม่ต้องวุ่นวายกับปัญหาทางด้านการส่งข้อมูลจากระบบต่างๆ ข้าม Cloud หรือต้องย้ายระบบไปยังผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นๆ ในภายหลัง เพียงเพื่อจะใช้เทคโนโลยีหรือบริการในส่วนที่ต้องการ
เทคโนโลยีที่ควรจะต้องพิจารณาเผื่ออนาคตในกรณีนี้ก็เช่น ความสามารถในการรองรับ Big Data Analytics, ความสามารถในการทำ Data Visualization, ความสามารถในการรองรับ Internet of Things, ความสามารถในการทำ Machine Learning, ความสามารถในการ Artificial Intelligence (AI), ความสามารถในการทำ Conversation as a Platform, ความสามารถในการทำ Chatbot, ความสามารถในการเชื่อมต่อกับ Business Application ต่างๆ, บริการเสริมเช่นระบบ Blockchain, สถาปัตยกรรมที่รองรับการทำ Hybrid Cloud ร่วมกับองค์กร, การผ่านการรับรองมาตรฐานต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ, ความสามารถในการรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ อีกมากมายที่อาจเปิดโอกาสและความสามารถใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ด้วยเทคโนโลยี
ความง่ายในการใช้บริการเหล่านี้เองก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน เพราะหากบริการ Cloud เหล่านี้เข้าถึงได้ยาก และไม่คุ้นเคยต่อผู้ใช้งานหน้าใหม่ ในอนาคตเมื่อธุรกิจหรือบริการ Cloud ของเราเริ่มเติบโตขึ้น การจัดจ้างคนมาเพื่อรองรับงานใหม่ๆ บน Cloud นั้นก็จะยากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
Microsoft Azure เองนั้นถือว่ามีข้อได้เปรียบกว่าบริการ Cloud อื่นๆ อยู่ค่อนข้างมาก ด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
- Virtual Machines บริการ VM ที่รองรับได้ทั้ง Windows และ Linux https://azure.microsoft.com/en-us/services/virtual-machines/
- Azure Container Service บริการสำหรับบริหารจัดการและใช้งาน Docker บน Microsoft Azure https://azure.microsoft.com/en-us/services/container-service/
- Functions ระบบ Serverless Architecture สำหรับการพัฒนาระบบจัดการเหตุการณ์ต่างๆ https://azure.microsoft.com/en-us/services/functions/
- App Service บริการ Platform สำหรับสร้าง Web Application และ Mobile Application ที่เรียกใช้งานได้จากทุกอุปกรณ์ https://azure.microsoft.com/en-us/services/virtual-machines/
- SQL Database บริการฐานข้อมูล SQL Database-as-a-Service ให้พร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทนทาน และปลอดภัย https://azure.microsoft.com/en-us/services/sql-database/
- DocumentDB บริการฐานข้อมูล No SQL Database-as-a-Service สำหรับจัดการ Unstructured Data โดยเฉพาะ https://azure.microsoft.com/en-us/services/documentdb/
- SQL Data Warehouse บริการระบบ Data Ware House สำหรับจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กร และเพิ่มขยายได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ https://azure.microsoft.com/en-us/services/sql-data-warehouse/
- Azure Active Directory บริการ Directory Service ที่เชื่อมต่อกับ On-premises Data Center ขององค์กรได้ เพื่อรองรับการทำ Single Sign-on ได้จากทุกระบบ https://azure.microsoft.com/en-us/services/active-directory/
- Backup สามารถ Backup ทั้ง Windows 10, Windows Server, Application ต่างๆ ของ Microsoft ทั้ง On-premises และ Cloud ขึ้นไปยัง Microsoft Azure ได้ทันที https://azure.microsoft.com/en-us/services/backup/
- HDInsight สร้าง Apache Spark และ Apache Hadoop สำหรับพร้อมใช้งานได้บน Cloud ทันที https://azure.microsoft.com/en-us/services/hdinsight/
- Data Factory ระบบบริหารจัดการ Data Pipeline แบบอัตโนมัติ เพื่อเตรียมข้อมูลดิบให้พร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์และประมวลผล https://azure.microsoft.com/en-us/services/data-factory/
- Data Lake Store พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับการทำ Big Data Analytics ขนาดใหญ่ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ https://azure.microsoft.com/en-us/services/data-lake-store/
- Data Lake Analytics ระบบวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล Big Data Analytics ด้วยภาษา U-SQL แบบคิดค่าใช้จ่ายการประมวลผลเป็นรายครั้ง https://azure.microsoft.com/en-us/services/data-lake-analytics/
- PowerBI Embedded ระบบ Data Visualization สำหรับแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบกราฟต่างๆ ได้อย่างสวยงาม และสามาถนำไปใช้ใน Application ได้หลากหลาย https://azure.microsoft.com/en-us/services/power-bi-embedded/
- API Management ระบบ API Gateway สำหร้บบริหารจัดการและให้บริการ API แก่ลูกค้า https://azure.microsoft.com/en-us/services/api-management/
- Azure IoT Hub ระบบตรวจสอบ, บริหารจัดการ และรวบรวมข้อมูลของอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานอยู่ทั่วโลกได้จากศูนย์กลาง https://azure.microsoft.com/en-us/services/iot-hub/
- Stream Analytics ระบบประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time สำหรับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ https://azure.microsoft.com/en-us/services/stream-analytics/
- Machine Learning บริการ Machine Learning บน Cloud ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Application ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย https://azure.microsoft.com/en-us/services/machine-learning/
- Cognitive Services บริการด้านภาษาและการสื่อสาร ครอบคลุมทั้งการทำความเข้าใจประโยคต่างๆ, การแปลภาษา, การวิเคราะห์คำ, การสร้างคำพูดหรือประโยค, การสร้างเสียงพูด, การค้นหา, การตรวจจับใบหน้า, การตรวจจับอารมณ์, Computer Vision, การทำนายผล, การหาความรู้, การให้คำแนะนำ และอื่นๆ https://azure.microsoft.com/en-us/services/cognitive-services/
- Azure Bot Services บริการ Bot สำหรับใช้โต้ตอบกับผู้คนโดยอัตโนมัติบนช่องทางระบบ Chat จากหลากหลายผู้ให้บริการ https://azure.microsoft.com/en-us/services/bot-service/
- Microsoft Dynamics 365 ระบบ ERP และ CRM ของ Microsoft ที่รองรับทุกกระบวนการการทำงานภายในธุรกิจองค์กรได้ทุกระดับ https://www.microsoft.com/en-us/dynamics365/home
- Blockchain as a Service รองรับการทำ Blockchain ได้ทันทีบน Cloud https://azure.microsoft.com/en-us/solutions/blockchain/
- Azure DevTest Labs พื้นที่สำหรับทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ของ Microsoft เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจได้ฟรีๆ https://azure.microsoft.com/en-us/services/devtest-lab/
- บริการทั้งหมดข้างต้นดังกล่าวนี้ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมดเสมือนเป็นระบบเดียวกัน รวมถึงยังสามารถเชื่อมต่อกับMicrosoft Office 365 ที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลกเป็นจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย
จะเห็นได้ว่าความครบเครื่องที่มีบริการหลากหลายสำหรับตอบโจทย์ความต้องการเชิงเทคนิค และความสามารถในการผสานบริการต่างๆ เข้าด้วยกันได้นั้น จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในทางธุรกิจขึ้นมาได้เป็นอย่างมาก
มุมของเจ้าของธุรกิจและ Startup: การเลือก Cloud คือการนำพาโอกาสใหม่ๆ มาสู่ธุรกิจ
โดยทั่วๆ ไปแล้วการเลือกใช้งานบริการ Cloud นั้น คนมักจะมองที่ระดับของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงการเลือกใช้บริการ Cloud นั้นยังจะส่งผลต่อธุรกิจและการเติบโตในอนาคตด้วยเช่นกัน
ในมุมมองที่ Microsoft ได้แบ่งปันมานั้น การเลือกใช้บริการ Cloud นั้นถือเป็นการจับมือกันในเชิง Business Partner แบบหนึ่ง ที่ทางผู้ให้บริการ Cloud เองนั้นนอกจากจะมีหน้าที่ในการให้บริการเชิงเทคนิคที่ดีแล้ว ก็ยังต้องช่วยให้เหล่าผู้ใช้บริการนั้นเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย เพื่อให้ในระยะยาวเมื่อธุรกิจของผู้ใช้บริการ Cloud เหล่านั้นเติบโตขึ้นแล้ว ก็จะกลับมาใช้บริการ Cloud มากขึ้น และทำให้ธุรกิจของผู้ให้บริการ Cloud นั้นเติบโตตามขึ้นไปด้วย
Microsoft เองนั้นมีฐานลูกค้าเป็นองค์กรกว่า 95% ทั่วประเทศไทย และยังมีฐานลูกค้าองค์กรอีกมากมายทั่วโลก ดังนั้นที่ผ่านมา Microsoft เองจึงได้พยายามช่วยเหลือเหล่าธุรกิจ Startup ที่มาใช้งาน Microsoft Azure ให้สามารถเข้าถึงธุรกิจของลูกค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น, แนะนำลูกค้ารายใหม่ๆ ให้อย่างต่อเนื่องผ่าน Sales Channel รวมถึงช่วยผลักดันกลยุทธ์ทางการตลาดให้ Startup เหล่านี้สามารถเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
มุมของนักการตลาด: การเลือก Cloud คือการเลือกช่องทางการเข้าสู่ตลาดที่คุ้มค่า
ไม่เพียงแต่ในเชิงของการร่วมผลักดันกลยุทธ์ทางธุรกิจเท่านั้น เมื่อผู้ใช้บริการ Cloud และผู้ให้บริการ Cloud ถือว่าเป็น Partner ร่วมกันแล้ว กิจกรรมทางการตลาดเองก็ถือเป็นอีกมุมหนึ่งที่ทั้งผู้ใช้บริการ Cloud และผู้ให้บริการ Cloud ควรทำร่วมกันอย่างแนบแน่น
ที่ผ่านมานั้น Microsoft มีการจัดงานสัมมนาและการออกบูธอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย และ Microsoft เองก็จะชักชวนให้เหล่าธุรกิจหรือ Startup ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการจัดงานแต่ละครั้งให้ไปออกบูธร่วมกันเพื่อเปิดตัวบริการใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักแก่ลูกค้ากลุ่มต่างๆ กันไป ทำให้ในมุมนี้ทางธุรกิจนั้นสามารถเติบโตได้ง่ายขึ้น, ได้พบปะลูกค้ารายใหม่ๆ มากขึ้น และยังได้รับฟังความคิดเห็นจากหลายแง่มุมเพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้นได้ด้วย
นอกจากการจัดงานสัมมนาและออกบูธแล้ว Microsoft เองก็ยังช่วยผลักดันธุรกิจและ Startup เหล่านี้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน ทั้งในช่องทางของ Microsoft เองและสื่อออนไลน์ในแต่ละประเทศตามแต่ที่แต่ละธุรกิจจะต้องการ
มุมมองนักขาย: การเลือก Cloud คือการมองหา Partner ที่ไว้ใจได้ และสร้างกำไรให้กับธุรกิจ
สุดท้าย การเลือกใช้บริการ Cloud ที่ดีนั้นก็ยังควรจะเปิดช่องให้ธุรกิจหรือ Startup นั้นสามารถสร้างผลกำไรได้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการพัฒนาโซลูชันต่อยอด หรือการให้บริการต่อยอดก็ตาม ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะส่งผลต่อผลกำไรของธุรกิจโดยตรง
Microsoft นั้นอยู่ในธุรกิจแบบ Business to Business (B2B) มาโดยตลอด และมีประสบการณ์กับการบริหารจัดการการขายในลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดี ต่างกับผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นๆ ที่เน้นการทำตลาด B2C เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น Microsoft จึงมีทั้ง Business Model ที่ตอบโจทย์และยังคงมีผลกำไรให้กับเหล่า Partner ผู้ใช้บริการ Microsoft Azure, มีการจัดการ Pipeline และการ Register งานเป็นอย่างดี ในขณะที่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ทำให้เหล่า Partner สามารถสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะของตนเองขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดให้มากขึ้นได้
ไม่เพียงเท่านั้น ด้วย Sales Channel ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมของ Microsoft เองก็พร้อมที่จะช่วยผลักดัน Partner แต่ละรายให้สามารถปิดการขายได้มากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน
ทดลองใช้งาน Microsoft Azure ได้ทันที
สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษาเทคโนโลยีของ Microsoft Azure หรืออยากทดสอบใช้งาน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://azure.microsoft.com/en-us/ เลยนะครับ มีโครงการ Free Trial อยู่ที่มูลค่า 200 เหรียญสำหรับทดลองใช้ Azure Credit กันฟรีๆ ครับ
Microsoft BizSpark: สนับสนุนการใช้ Microsoft Azure ฟรีสำหรับธุรกิจ Startup
สำหรับธุรกิจ Startup ที่กำลังเริ่มต้นและกำลังเลือกอยู่ว่าอยากจะใช้งาน Cloud ของผู้ให้บริการรายใดดี สามารถพูดคุยกับทีมงาน Microsoft Thailand ได้ก่อนเพื่อรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ Microsoft BizSpark ที่สนับสนุนการใช้งานระบบ Microsoft Azure ได้ฟรีๆ ตั้งแต่ 1 – 3 ปีได้ที่คุณเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แห่ง Microsoft Thailand ที่ ekarajk@microsoft.com ได้เลยครับ