[BHAsia 2018] Malwarebytes เผย 9 อันดับประเภทมัลแวร์ยอดฮิต ชี้การจัดการช่องโหว่เป็นสิ่งสำคัญ

Malwarebytes ผู้ให้บริการโซลูชัน Anti-malware และ Anti-exploit ชั้นนำของโลก เผย 9 อันดับประเภทมัลแวร์ยอดนิยมในปี 2017 ระบุการโจมตีผ่านอุปกรณ์ Internet of Things และฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พร้อมแนะนำให้ทุกองค์กรนำการบริหารจัดการภัยคุกคามและช่องโหว่เข้ามาใช้

9 อันดับประเภทมัลแวร์ยอดนิยมในปี 2017 ดังนี้

  1. Hijacker
  2. Adware/Malvertising
  3. Backdoor/APT’s
  4. DDoS Attacks
  5. Ransomware
  6. Spyware
  7. Cryptocurrency & Drive-by Mining
  8. DDoS/Ransomware as a Service
  9. Hardware Design Attack Vectors

รายงานของ Malwarebytes เปิดเผยว่า มัลแวร์อันดับหนึ่งที่ค้นพบในปี 2017 คือมัลแวร์ประเภท Hijacker ตามมาด้วย Adware/Malvertising ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2016 ถึง 450% ในขณะที่ Ransomware ถึงแม้ว่าจะอยู่อันดับ 5 แต่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 1,000% ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม แฮ็กเกอร์เริ่มมีแนวโน้มเปลี่ยนจากการลอบส่ง Ransomware เข้าเครื่องเป้าหมายไปเป็นการส่ง Cryptocurrency Miner ไปแอบขุดเหรียญเงินดิจิทัลแทน

Justin Dolly, CSO & CIO ของ Malwarebytes ระบุว่า การโจมตีอุปกรณ์ IoT มีแนวโน้มสูงขึ้นมากในปี 2017 เนื่องจากอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันมีความ Smart มากขึ้น และมีการเชื่อมต่อหากัน รวมไปถึงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จึงทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ การโจมตีฮาร์ดแวร์โดยตรงก็เริ่มเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงจากกรณีช่องโหว่ Rawhammer, Spectre และ Meltdown ซึ่งส่วนใหญ่แฮ็กเกอร์โจมตีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพื่อขโมยข้อมูลภายใน เข้าควบคุมอุปกรณ์ หรือปลดล็อกฟีเจอร์บางอย่าง

เพื่อรับมือกับภัยคุกคามและช่องโหว่ในปัจจุบัน Dolly แนะนำให้ทุกองค์กรนำการบริหารจัดการภัยคุกคามและช่องโหว่ (Threat & Vulnerability Management) เข้ามาใช้งาน เพื่อทำการค้นหาและอุดช่องโหว่ที่มีความเสี่ยงสูงก่อนที่แฮ็กเกอร์จะค้นพบ รวมไปถึงมีการสแกนช่องโหว่เป็นประจำเพื่อตรวจสอบช่องโหว่ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนระบบขององค์กร

“สาเหตุหลักที่หลายๆ องค์กรไม่มีการบริหารจัดการช่องโหว่ คือ ความขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาช่องโหว่หรือการจัดการแพตช์ รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูงอาจยังไม่เห็นถึงความสำคัญและไม่มีการสั่งการลงมาให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการ” — Dolly กล่าวปิดท้าย


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[Video] IBM Sustainability Software โซลูชันที่ช่วยยกระดับให้ธุรกิจคุณเติบโตอย่างยั่งยืน โดย Metro Systems

ESG กำลังเป็นวาระสำคัญของธุรกิจองค์กรทั่วโลก ที่มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรักษาทรัพยากรที่หลากหลายของโลกใบนี้เพื่อผู้คนในยุคถัดไป

เชื่อมต่อทุกอุปกรณ์การประชุมเข้าได้กับทุกแพลตฟอร์มด้วยโซลูชัน Enterprise Room Connector จาก Pexip

ปัจจุบันหลายองค์กรกำลังเผชิญปัญหาของความหลากหลายที่เกิดขึ้นจากแพลตฟอร์มประชุมต่างค่าย อย่างไรก็ดีอุปกรณ์ห้องประชุมที่เคยลงทุนไว้แบบเดิมอาจไม่รองรับแพลตฟอร์มเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เององค์กรอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการลงทุนเพิ่มในโซลูชันเสริมในรูปแบบของฮาร์ดแวร์เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ 3rd Party เหล่านั้นทำงานได้กับแพลตฟอร์มต่างๆ โดย Pexip เองเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มชั้นนำที่นำเสนอโซลูชันนี้ผ่านรูปแบบ SaaS ที่พร้อมใช้ภายใต้ชื่อ Enterprise Room Connector ในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับโซลูชันนี้ให้มากขึ้นตั้งแต่แนวคิดการทำงาน พร้อมภาพประกอบที่ทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปติดตามการใช้งานจริงครับ