Amazon เปิดตัว Enhanced Monitoring for Amazon RDS ติดตามการใช้งาน Database บน AWS ได้ง่ายขึ้น

aws_banner

Amazon เปิดตัว Enhanced Monitoring for RDS สำหรับใช้ติดตามการทำงานของ Amazon RDS Instance ได้ในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็น MySQL, MariaDB และ Amazon Aurora โดยเสริม Metric และข้อมูลต่างๆ ที่ตรวจสอบได้ให้มีเพิ่มขึ้นมากว่า 50 ชนิด ซึ่งสามารถติดตามได้จากหน้าจอ RDS Console รวมถึงสามารถ Integrate ข้อมูลเหล่านี้ให้แสดงผลผ่าน Amazon CloudWatch และ 3rd Party Software อื่นๆ ได้

Enhanced CloudWatch นี้รองรับบน Amazon RDS Instance ที่เป็น MySQL 5.6, MariaDB 10.0 และ Amazon Aurora ทั้งหมด ที่อยู่บน Instance ทุกขนาดยกเว้น t1.micro และ m1.small โดยสำหรับคู่มือการใช้งานสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ http://docs.aws.amazon.com/AmazonRDS/latest/UserGuide/USER_Monitoring.html และสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นจะถูกเรียกผ่าน CloudWatch ดังนี้ https://aws.amazon.com/cloudwatch/pricing/

Enhanced CloudWatch พร้อมให้ใช้งานได้แล้วใน US East (Northern Virginia), US West (Northern California), US West (Oregon), Europe (Ireland), Europe (Frankfurt), Asia Pacific (Singapore), Asia Pacific (Sydney) และ Asia Pacific (Tokyo)

บทความโดย http://www.awsusergroup.org/ และ https://www.techtalkthai.com ส่วนผู้ที่อยากศึกษาเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amazon Web Services ในไทยสามารถเข้าร่วมกลุ่มของ Bangkok AWS User Group ได้ทันทีที่ https://www.facebook.com/groups/awsusergroup/

ที่มา: https://aws.amazon.com/about-aws/whats-new/2015/12/amazon-rds-adds-enhanced-monitoring-for-rds-mysql-rds-mariadb-and-amazon-aurora/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน