Black Hat Asia 2023

3 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการออกแบบการเดินสายสำหรับระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจองค์กรในยุค 5G และ IoT

เมื่อระบบเครือข่ายของธุรกิจองค์กรต้องเผชิญกับทั้งการมาของเทคโนโลยี 5G และ IoT ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ รวมถึงยังมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีระบบเครือข่ายและแนวโน้มของเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกแบบด้านการเดินสายเพื่อรองรับระบบเครือข่ายในองค์กรเองก็ต้องอาศัยมุมมองใหม่เพื่อให้สามารถตอบรับต่อความท้าทายเหล่านี้ได้ และทาง CommScope เองก็ได้สรุปถึง 3 ประเด็นสำคัญที่ธุรกิจองค์กรต้องพิจารณาในการเดินสายภายในอาคารสำนักงานใหม่เพื่อให้ตอบรับต่อแนวโน้มที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1. ระบบเครือข่ายต้องรองรับการใช้งานอย่างหนาแน่น และเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น

ด้วยการมาของ IoT และ 5G ในอนาคตธุรกิจองค์กรนั้นจึงต้องมีการใช้งานอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งด้วยราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่นับวันจะยิ่งมีแต่เติบโตขึ้น ดังนั้นแนวโน้มของการออกแบบระบบเครือข่ายภายในอาคารให้มีความยืดหยุ่น, มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าในระยะยาวนั้นจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพื่อให้อาคารพาณิชย์แต่ละแห่งสามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องทำการปรับปรุงบ่อยๆ

แนวทางหนึ่งที่เหมาะสมในการออกแบบการเดินสายสำหรับระบบเครือข่ายให้มีความยืดหยุ่นนี้ก็คือ Universal Connectivity Grid หรือ UCG ที่แบ่งพื้นที่แต่ละชั้นในอาคารให้กลายเป็นส่วนย่อยที่มีขนาดใกล้เคียงกันซึ่งเรียกว่า Cell แล้วทำการเดินจุดรวมสายสัญญาณบนเพดานของแต่ละ Cell เอาไว้ เพื่อให้การเดินระบบเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สามารถเชื่อมต่อกลับไปยัง Core Network นั้นเกิดขึ้นได้ง่าย และทำให้การเพิ่มเติมอุปกรณ์เครือข่ายทั้ง Switch และ Access Point ในแต่ละพื้นที่เป็นไปได้อย่างยืดหยุ่น ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน

Click then open https://www.commscope.com/solutions/enterprise-networks/universal-connectivity-grid/

ทั้งนี้ในแนวคิด UCG นี้จะเห็นได้ว่าหัวใจสำคัญหนึ่งก็คือการเดินสายมารอไว้ภายในฝ้าของเพดาน ดังนั้นอุปกรณ์ที่จะขาดไปไม่ได้เลยในกรณีนี้ก็คือ Ceil Connector Assembly หรือ CCA ที่จะช่วยให้เราสามารถเดินสายทิ้งเอาไว้ในจุดที่ต้องการได้ และรองรับการเดินสายมาเชื่อมต่อกับ CCA ได้อย่างง่ายดายในอนาคตนั่นเอง ทำให้ภาคธุรกิจนั้นสามารถมีทางเลือกที่ยืดหยุ่นในการใช้งานสายแต่ละเส้นและเดินสายต่อไปยังตำแหน่งที่ต้องการในภายหลังได้อย่างอิสระ สำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้จักกับ CCA มาก่อนสามารถศึกษาคลิปดังต่อไปนี้ได้ทันทีครับ จะเห็นภาพของการใช้งานค่อนข้างชัดเจนทีเดียว

2. ระบบเครือข่ายต้องรองรับการอัปเกรดได้อย่างต่อเนื่อง ตอบรับต่อความเร็วของระบบเครือข่ายใหม่ๆ ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด

ประเด็นถัดมานั้น การเลือกใช้สายสัญญาณสำหรับรองรับระบบเครือข่ายนั้น ก็ควรเลือกใช้สายที่สามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ระบบเครือข่ายสามารถอัปเกรดไปใช้มาตรฐานใหม่ๆ ที่มีความเร็วสูงขึ้นได้ และไม่ตกรุ่นเร็วจนเกินไปนัก

ทั้งนี้สาย Category 6A ก็ยังถือเป็นสายมาตรฐานที่ใช้งานได้ดีทั้งในระบบ LAN และการเชื่อมต่อไปยัง Access Point สำหรับรองรับระบบ Wireless LAN และเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเหล่านี้เข้ากับอุปกรณ์ IoT ที่จะมีการใช้งานอย่างหลากหลายในอนาคต ทั้งระบบ Sensor, ระบบไฟอัจฉริยะ, ระบบ Building Automation ไปจนถึงระบบ Access Control

ส่วนระบบเครือข่ายในส่วนของ Uplink และ Backbone นั้น การเลือกใช้สาย Fibre-Optic แบบ OM5 Wideband Multimode Fibre ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีในมุมของ Commscope เพื่อให้สามารถรองรับระบบเครือข่ายที่มีความเร็วหลากหลายได้ โดยโซลูชัน CommScope SYSTIMAX Structured Cabling ก็สามารถรองรับได้ทั้งสายแบบ Singlemode, Multimode และ OM5 Wideband Multimode เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย และความเร็วเครือข่ายในทุกระดับ

3. ระบบเครือข่ายต้องรองรับการจ่ายพลังงานผ่าน PoE ได้อย่างครอบคลุม โดยไม่ติดข้อจำกัดด้านระยะทางมากอย่างในอดีต

นอกเหนือจากประเด็นด้านความเร็ว อีกจุดหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญนั้นก็คือการจ่ายพลังงานผ่าน Power over Ethernet หรือ PoE เพื่อให้อุปกรณ์ IoT สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเดินสายจำนวนมากภายในอาคาร ซึ่งที่ผ่านมาการใช้ PoE นั้นมักมีข้อจำกัดด้านระยะทางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่จ่ายไฟผ่าน PoE และจุดติดตั้งของอุปกรณ์ IoT

เทคโนโลยีหนึ่งที่ CommScope ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างยืดหยุ่นก็คือ Powered Fibre Cable System (PFCS) ที่ภายในโซลูชันประกอบไปด้วยสาย Hybrid Cable และ PoE Extender ทำให้ระยะการเดินสายสัญญาณที่สามารถใช้งานได้จริงทั้งในเชิงการรับส่งข้อมูลและการจ่ายพลังงานผ่าน PoE ให้กับอุปกรณ์ IoT นั้น เกิดขึ้นได้ไกลเกินกว่าระยะ 100 เมตรที่เคยเป็นข้อจำกัดในอดีต ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ IoT นั้นมีทางเลือกในการติดตั้งที่มากขึ้นนั่นเอง

สุดท้าย ในการตรวจสอบการทำงานและการบริหารจัดการระบบเครือข่ายเหล่านี้ CommScope ก็มีโซลูชัน imVision ซึ่งเป็นระบบ Automated Infrastructure Management ให้ใช้งาน ทำให้สามารถเห็นภาพรวมและบริหารจัดการเครือข่ายได้จากศูนย์กลาง และปรับปรุงการใช้งานทรัพยากรเครือข่ายที่มีอยู่ทั้งหมดภายในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ได้อย่างสูงสุด

ติดต่อทีมงาน CommScope ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันของ CommScope สามารถติดต่อทีมงาน CommScope ได้ทันทีที่คุณ Shompoonuch Paibulsuwan Email: Shompoonuch.Paibulsuwan@commscope.com หรือโทร 084-264-6235


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา “IBM Automation and Data&AI Power by Computer Union” [25 เมษายน 2566]

IBM และ Computer Union ขอเชิญ End User ทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “IBM Automation and Data&AI Powered by Computer …

Symphony เปิดตัวนวัตกรรมการเชื่อมต่อ Huawei Cloud ด้วยโซลูชัน Cloud Direct Connect

บริการวงจรเชื่อมต่อที่เหมาะกับการใช้งาน Cloud ของธุรกิจทุกประเภท ที่ต้องการความปลอดภัยและความรวดเร็วในการเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud ที่มากกว่าการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตแบบปกติ เช่นธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก หรือภาคการผลิต