อุปกรณ์ IoT กว่า 2 ล้านชิ้นตกอยู่ในความเสี่ยงหลังพบช่องโหว่บน P2P Firmware

Paul Marrapese นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยได้แจ้งเตือนถึงช่องโหว่บน Firmware P2P ที่สามารถทำให้แฮ็กเกอร์ค้นหาและเข้าควบคุมอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ โดยอุปกรณ์ที่คาดว่าได้รับผลกระทบ เช่น IP Camera, Baby Monitor, Smartdoorbells, DVRs และอื่นๆ ท่ามกลางผู้ผลิตจำนวนมาก เช่น HiChip, TENVIS, SV3C, VStarcam, Wanscam, NEO Coolcam, Sricam, Eye Sight และ HVCAM ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับการตอบรับจาก Vendor ของ Firmware ด้วย

Credit: ShutterStock.com

ช่องโหว่ที่นักวิจัยค้นพบคือ CVE-2019-11219 และ CVE-2019-11220 ซึ่งช่องโหว่แรกทำให้ค้นร้ายสามารถค้นหาว่าอุปกรณ์ไหนมีช่องโหว่ได้จากทางออนไลน์และอีกช่องโหว่คือทำให้คนร้ายสามารถดักจับการเชื่อมต่อของอุปกรณ์และโจมตีแบบ Man-in-the-middle เพื่อขโมยรหัสผ่านและเข้าควบคุมอุปกรณ์ได้ โดยช่องโหว่ที่ค้นพบนั้นเกิดกับ Firmware ชื่อ iLinkP2P ที่ทำให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ของ Vendor ได้ผ่านทางโปรโตคอล P2P

ที่หนักหนากว่านั้นคือ Vendor เบื้องหลังคือบริษัทที่ชื่อ Shenzhen Yunni Technology ได้เพิกเฉยต่อการแจ้งเตือนทางอีเมลแม้กระทั่งความพยายามติดต่อจาก Carnegie Mellon University และ China’s National Computer Emergency Respond Team (CN-CERT) ด้วย อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้แนะนำวีธีบรรเทาปัญหาเบื้องต้นคือให้บล็อกทราฟฟิคของพอร์ต UDP 32100 เพื่อป้องกันการโจมตีจากทางไกลแม้จะไม่ได้ป้องกันการโจมตีใน Local Network แต่ก็ลดความเสี่ยงลงได้อย่างมาก

สำหรับวิธีการดูว่าผลิตภัณฑ์ใดได้รับผลกระทบทางนักวิจัยกล่าวว่า “อุปกรณ์ที่ใช้แอปพลิเคชันแอนดรอยด์ด้านล่างอาจมีช่องโหว่” มีดังนี้

  • HiChip : CamHi, P2PWIFICAM, iMega Cam, WEBVISION, P2PIPCamHi, IPCAM P
  • VStarcam : Eye4, EyeCloud, VSCAM, PnPCam
  • Wanscam : E View7
  • NEO : P2PIPCAM, COOLCAMOP
  • Sricam : APCamera
  • Various : P2P Cam_HD

นอกจากนี้สามารถสังเกต UID Identifier ของอุปกรณ์ซึ่งมี Format คือ ‘XXXX-123456-ABCDE’ โดย XXXX คือโค้ดของอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบซึ่งติดตามได้จากภาพด้านล่างครับ

credit : Zdnet

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/over-two-million-iot-devices-vulnerable-because-of-p2p-component-flaws/

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

รายงาน Group-IB ชี้ APAC ต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ [PR]

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

Cloudsec Asia จับมือ Nokia เสริมแกร่งระบบป้องกันภัยไซเบอร์ระดับ Mission-Critical ให้องค์กรในประเทศไทย [PR]

Cloudsec Asia ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำของไทย ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Nokia เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับ Mission-Critical แก่องค์กรในประเทศไทย Cloudsec Asia จะเป็นผู้บูรณาการระบบ (System Integrator) สำหรับโครงการที่ใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยของ Nokia …