องค์กรขนาดเล็กต้องปรับตัวอย่างไร ให้ก้าวทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ [PR]

“ข้อมูล” เป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันหากองค์กรไม่ได้มีแผนงานในการจัดการอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่การหลุดรอดของข้อมูล ซึ่งในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) รายงานว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีการรายงานปัญหาเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลถึง 416 คดี โดยวงการการธนาคารและการเงิน รวมถึงหน่วยงานของรัฐเกิดปัญหามากที่สุด

ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่องค์กร SME เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และการดำเนินการป้องกันขององค์กร SME ก็อาจไม่แข็งแกร่งพอ นำไปสู่ปัญหาด้านกฎหมายและผลกระทบด้านชื่อเสียงในท้ายที่สุด เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA) กำหนดให้ธุรกิจทั้งหมดปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการจัดการและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ SMEs เสี่ยงที่จะถูกลงโทษเนื่องจากขาดทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่เพียงพอในการปฏิบัติตามข้อกำหนด

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคในปัจจุบันเริ่มตระหนักถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้น จากการวิจัยพบว่า 79% ของผู้บริโภคมีความกังวลว่าบริษัทใช้ข้อมูลของตนอย่างไร ซึ่งสำหรับกลุ่ม SMEs แล้ว ยิ่งต้องโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงวิธีจัดการข้อมูลเพื่อสร้างความไว้วางใจจากลูกค้าให้ได้มากที่สุด

เดินหน้าเชิงรุกด้วยการตรวจสอบเข้มข้น

การใช้แนวทางเชิงรุกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะช่วยให้ธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบได้ โดยในปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายที่เปิดให้ตรวจสอบบัญชีอีเมลที่มีแนวโน้มสุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิดข้อมูล ซึ่งหากอีเมลของพนักงานในบริษัทมีความเสี่ยง ก็มีโอกาสที่อาชญากรไซเบอร์จะสามารถเข้าถึงบัญชีของบริษัทได้

ดูแลให้ครอบคลุมแบบองค์รวม

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการรั่วไหลของข้อมูลก็คือ ความผิดพลาดของมนุษย์ ดังนั้น แนวทางแบบองค์รวมที่ประเมินความเสี่ยง และดูแลจัดการข้อมูลทั้งด้านเทคนิค องค์กร และผู้ปฏิบัติงาน จะช่วยให้การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บ และการส่งผ่านข้อมูลทั้งหมดได้อย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบความเสี่ยงได้ทั่วทั้งบริษัท พร้อมทั้งช่วยให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดข้อพลาดใด ๆ

จำกัดการเข้าถึงข้อมูลตามหน้าที่ปฏิบัติงาน

แม้จะเป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่การเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วนก็ควรมีการควบคุมการเข้าถึงตามขอบเขตความรับผิดชอบ เพื่อจำกัดการเปิดเผยข้อมูลที่มีความสุ่มเสี่ยงและลดโอกาสของการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ องค์กรยังต้องรกษาความปลอดภัยการเข้าถึงบัญชีที่ใช้ร่วมกันโดยใช้วิธีการรับรองความถูกต้องและข้อมูลประจำตัวที่รัดกุม 

เพิ่มความปลอดภัยด้วย Multi-factor authentication

การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัย (Multi-factor authentication) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มชั้นความปลอดภัยเพิ่มเติมให้กับบัญชีที่สำคัญและข้อมูลที่มีความสุ่มเสี่ยง โดยในการเข้าถึงข้อมูลจะต้องใช้การยืนยันหลากหลายรูปแบบเพิ่มเติมนอกเหนือจากการใช้แค่รหัสผ่านอย่างเดียว ซึ่งในปัจจุบันโซลูชัน Multi-factor authentication มีให้เลือกมากมาย ทั้งแบบฟรีและมีค่าใช้จ่าย สิ่งสำคัญคือต้องเลือกโซลูชันที่ตรงกับความต้องการขององค์กร

เลือกใช้เครื่องมือทางธุรกิจที่ครบครัน

ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรสามารถดูแลจัดการข้อมูลได้ง่ายขึ้น บริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจครบวงจรอย่าง Zoho ก็โซลูชันที่ครอบคลุม ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับจัดการกับปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในกลุ่ม SME โดยประกอบไปด้วย การใช้เบราว์เซอร์ที่ปลอดภัย การจัดการข้อมูลประจำตัวของพนักงานและการเข้าถึง ตลอดจนการสร้างรหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันที่มาพร้อมกับคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การล็อกอินอัตโนมัติและการแชร์รหัสผ่านด้วยระดับการเข้าถึงที่ควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น Zoho OneAuth อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยสำหรับบัญชีที่สำคัญในแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความสุ่มเสี่ยง

ไม่เพียงแต่กลุ่มวิสาหกิจ SME จะสามารถเสริมการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

 

About Maylada

Check Also

เอสไอเอส บุกตลาดหุ่นยนต์ โคบอทจับมือ ดูบอท ผู้นำระดับโลกขยายตลาดในไทย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 17 มกราคม 2568 – เอสไอเอส ผู้จัดจำหน่ายสินไอทีชั้นนำของไทย รุกตลาดหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือโคบอท ทดแทนการขาดแรงคนในภาคอุตสาหกรรม คว้าเป็นตัวแทนจำหน่ายดูบอท ผู้ผลิตหุ่นยนต์โคบอทชั้นนำของโลก ตั้งเป้ากลุ่มการผลิต …

สรุปข่าวเด่น Enterprise IT ประจำสัปดาห์ [13- 17 ม.ค.2024]

ผ่านปีใหม่มาแล้วครึ่งเดือนอย่างรวดเร็ว นอกจากเข้าสู่ยุคของเด็ก Gen Beta แล้ว ยังอาจเรียกได้ว่าเข้าสู่ยุคของ Agentic AI หรือการใช้ AI Agent หลาย ๆ ตัวช่วยกันแก้ไขปัญหาใน Task …