ไม่กี่ปีที่ผ่านมาธุรกิจได้เผชิญกับแรงกดดันจากเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ทั้งจากสถานการณ์ของโรคระบาดที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างฉับพลัน และประโยชน์ของดิจิทัลที่ธุรกิจตกผลึกแล้วว่าจะช่วยยกระดับให้ตนมีความสามารถแข่งขันต่อไปได้ รวมถึงเปิดโอกาสใหม่สู่ตลาดโลก ด้วยเหตุนี้เอง Microsoft พี่ใหญ่ของวงการไอทีผู้ที่ยืนอยู่เบื้องหลังของธุรกิจมากมายจึงได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ขึ้นภายใต้หัวข้อ “Thailand Digital Next 2023 Innovation Forum” ซึ่งได้ถ่ายทอดถึงสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเข้าสู่โลกดิจิทัล อนาคตของคลาวด์ และวิสัยทัศน์ของ Microsoft โดยทีมงาน TechTalkThai ได้สรุปรวบรวมประเด็นสำคัญมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันในบทความนี้ครับ

6 ความพร้อมต้องรู้ เพื่อเปิดธุรกิจสู่โลกดิจิทัล
ธุรกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในเวลานี้ทั้งหมดล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นภาพเดียวกันของทั้งโลกเลยก็ว่าได้ ดังนั้นกล่าวได้ว่าดิจิทัลคือเครื่องมือที่จะทลายทุกขีดจำกัดให้ธุรกิจนั้นเกิดขึ้นและโตไปได้ และ Microsoft เองเชื่อว่าทุกคนต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้งสิ้น ซึ่ง Microsoft ได้แนะนำความจำเป็น 6 เรื่องที่องค์กรควรต้องเตรียมการให้พร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลดังนี้
1.) Migrate to the cloud
คลาวด์ยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับสถิติมากมาย เพราะคลาวด์สามารถตอบคำถามได้อย่างมั่นใจเมื่อธุรกิจต้องการลงทุนกับระบบอะไรสักอย่าง เนื่องจากค่อยๆเริ่มเท่าที่ต้องการได้ เมื่อมีกิจการใหญ่ขึ้นค่อยเพิ่มกำลังทรัพยากรเพื่อให้บริการได้ภายหลัง หรือมีความต้องการเพียงระยะสั้นๆก็ทำได้
2.) Unify data & Apply AI model as a platform
‘ข้อมูลคือแหล่งน้ำมันแห่งใหม่’ คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย ซึ่งธุรกิจได้รับรู้ถึงประโยชน์ของข้อมูลแล้ว แต่ในการปฏิบัติงานจริงความท้าทายชิ้นใหญ่ก็คือข้อมูลกระจัดกระจายจนใช้งานได้ยาก ด้วยเหตุนี้เองนิยามของคำว่า Data Mesh จึงถือกำเนิดขึ้น และ Microsoft ก็ได้พัฒนาแพลตฟอร์มให้บูรณาการแหล่งข้อมูลเหล่านั้นเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน ในขณะเดียวกันยังสามารถควบคุมการเข้าได้อย่างปลอดภัยผ่าน Confidential Computing ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นองค์กรสามารถใช้ประโยชน์ของบริการอื่นเพื่อต่อยอดด้านข้อมูลได้มากมายเช่น Analytics, AI/ML และ Data Visualization บน Microsoft Azure
3.) Empower fusion teams
‘คน’ คือผู้ขับเคลื่อนธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เององค์กรจำเป็นต้องพัฒนาทักษะของพนักงานให้คุ้นชินและเชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น เทคโนโลยีของ Low Code/No Code ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยตัวเองขอเพียงมีภาพเป้าหมายและเข้าใจในบริบทการทำงาน หรือการทำงานร่วมกันผ่าน Microsoft Teams และเขียนโค้ดร่วมกันผ่าน GitHub ที่มีฟังก์ชันอำนวยความสะดวกมากมายอย่าง Co-pilot เป็นต้น
4.) Reenergize your workforce
Hybrid works กลายเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ที่องค์กรทั่วไปคุ้นชินหลังการแพร่ระบาด แต่ก็มีความท้าทายอย่างหนึ่งเช่นมีพนักงานจำนวนมากต้องทำงานตลอดเวลาจนเกิดอาการที่เรียกว่า ‘Burnout’ ในมุมนี้องค์กรควรจะใส่ใจหาวิธีการติดตามคุณภาพชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นด้วยก่อนจะสายเกินไป ซึ่ง Microsoft Viva จึงได้ก้าวเข้ามาเป็นทางเลือกในการเอาชนะความท้าทายนี้ อีกด้านหนึ่งเมื่อผู้คนไม่พบปะกันจริง จะทำให้อย่างไรให้ทีมยังสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่ง Microsoft Teams ยังทำให้พนักงานสามารถสื่อสารกันได้เช่นเดิม และทำงานร่วมกันในมุมต่างๆได้อย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นใหม่ที่เรียกว่า AVATAR ให้เริ่มพอสัมผัสกับขอบเขตของ Metaverse ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
5.) Embrace collaborative business process
การทำงานร่วมกันคือหัวใจให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เบื้องต้นพนักงานต้องเข้าใจภาพเป้าหมายเดียวกัน ต่อมาการทำงานข้ามฟังก์ชันระหว่างแต่ละหน่วยธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Open API และยกระดับประสิทธิภาพได้ด้วย RPA แต่หากต้องการทำงานแชร์ข้อมูลข้ามระดับองค์กรอาจจะต้องเน้นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยด้วย Confidential Computing
6.) Prioritize Security
Security เป็นแกนของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ Microsoft เน้นย้ำสูงสุดในปัจจุบัน เพราะการที่องค์กรผันตัวสู่ความเป็นดิจิทัลนั่นหมายความว่าพื้นผิดการโจมตีย่อมเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้คอนเซปต์ Zero Trust เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับรูปแบบขององค์กร ซึ่ง Microsoft มีโซลูชันสำหรับช่วยเหลือมากมาย รองรับการควบคุมได้จากศูนย์กลาง ครอบคลุมการทำงานแบบ Multi-cloud ทำงานร่วมกับโซลูชันอื่นได้ และพร้อมใช้งานได้ทันที
Confidential Cloud ทิศทางแห่งอนาคต
ก่อนหน้ากลไกการป้องกันด้านการใช้งานข้อมูลบนคลาวด์ทำได้เพียงแค่การเข้ารหัสข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ (At rest) และระหว่างถ่ายโอน(Transit) เท่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดปัจจุบันธุรกิจเริ่มตระหนักถึงการทำงานร่วมมือกันเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเช่น การแชร์ข้อมูล Transaction ระหว่างธนาคารเพื่อสร้างโมเดล AI สำหรับตรวจจับความผิดปกติที่มีความแม่นยำสูงขึ้นตามปริมาณข้อมูล แต่ในมุมของความสำคัญของข้อมูล ยังมีข้อกังขาว่าข้อมูลต้องถูกถอดรหัสก่อนการประมวลผลอยู่ดี หากเครื่องโฮสต์ผู้ประมวลผลถูกแทรกแซงได้จะเกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Confidential Cloud ซึ่งไอเดียก็คือการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ข้อมูลแม้ขณะถูกใช้งาน (In Use)
Microsoft เล็งเห็นอนาคตของความสำคัญนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงมีการจัดตั้งกลุ่ม Confidential Computing Consortium(CCC) เพื่อถกปัญหาและวางมาตรฐานที่นำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากกลยุทธ์นี้ต้องเกี่ยวข้องกับพันธมิตรหลากหลายส่วนดังนี้
- ต้องมี Hardware ที่ปลอดภัยสูงสุด จะเห็นได้จากฟังก์ชันของ Secure Enclave จาก Intel หรือ Confidential VM ของ AMD รวมถึงพันธมิตรอื่นๆอย่าง NVIDIA ที่ใช้วิธีการของตัวเองต่างกันออกไป
- มีการกำหนดว่าแอปพลิเคชันหรือพื้นที่ต้องปลอดภัยมากเพียงพอ (Attestation) เกิดการความเห็นชอบร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องของข้อมูล
- ต้องทำให้แน่ใจว่า Key จะถูกเก็บได้อย่างมั่นใจ เช่น การอาศัยโซลูชัน HSM ซึ่งสำหรับลูกค้าของ Microsoft เอง ท่านสามารถใช้ Key ของตัวเองได้
ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานแล้ว โดยมีให้บริการทั้ง IaaS, PaaS และ SaaS ตามปกติ โดยลูกค้าจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนถูกปกป้องอย่างสูงสุดแม้แต่ผู้ให้บริการอย่าง Microsoft เองก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ทั้งนี้ Microsoft เองมีความเชื่ออย่างแรงกล้วว่า Confidential Computing เป็นหนทางของธุรกิจที่ต้องไป โดยเฉพาะกับธุรกิจที่มีความสำคัญสูงอย่าง Healthcare, Financial, Blockchain และ Banking ซึ่ง Microsoft พร้อมให้บริการลูกค้าในทุกราย
เชื่อมต่อ Core สู่ Edge พร้อมส่งนวัติกรรมสู่ทุกที่ในโลก
วิสัยทัศน์ของ Microsoft มุ่งหมายที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของโลก สะท้อนได้จากโครงสร้างพื้นฐานมากมายทั้งเรื่องของ Security & Governance และ Service ที่ครอบคลุมทั้ง Compute, Storage และ Network ไปจนถึง Cloud Infrastructure ที่ให้บริการในภูมิภาคทั่วโลก โดยวัตถุประสงค์ก็คือนำส่งพลังการประมวลผลที่เรียกว่า Hyperscale Cloud ไปถึงสู่แหล่งกำเนิดข้อมูลเช่น Datacenter ของลูกค้า และ IoT หรือระบบ OT
แนวทางที่ธุรกิจจะสามารถนำพลังของ Hyperscale Cloud ให้เกิดประโยชน์มีมากมาย โดยสิ่งที่ถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในครั้งนี้ก็คือ
- พัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์แล้วนำผลลัพธ์เหล่านั้นไปใช้ได้ในทุกที่ ซึ่งแพลตฟอร์มการพัฒนาเป็นของฟรี เช่น GitHub, Visual Studio Code และเครื่องมือ Azure pipeline
- หลังจากที่คลาวด์มีการประมวลผลข้อมูลบางอย่างแล้ว สามารถใช้ตัดสินใจส่งผลกับ Edge Location ได้ทันที ไม่ต้องมีอาศัยบุคคลากรเพื่อเกี่ยวข้องในขั้นตอนอีก ซึ่งทำให้ระบบเกิดการทำงานในระดับเรียลไทม์และอัตโนมัติ
- บริหารจัดการทุกอย่างผ่านแพลตฟอร์มเดียว ตอบโจทย์ Governance ตรงนี้เองทาง Microsoft Azure จะมีโซลูชันที่เรียกว่า Azure Arc
- Microsoft Azure ผ่านการรับรองจากมาตรฐานต่างๆระดับสากล ดังนั้นไม่ว่าท่านจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็สามารถเริ่มใช้บริการของ Azure ได้ทั้งสิ้น หรือหากการเชื่อมต่อที่ค่อนข้างจำกัดอาจจะมีการพลิกแพลงเน้นการทำงานผ่านโซลูชันระดับ Edge เพื่อส่งข้อมูลผ่านโครงข่าย 5G แทน
พูดคุยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือกฟผ.เองเลือกใช้พลังจาก Microsoft เพื่อเป็นรากฐานให้บริการ Elex by EGAT เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาจากสถานีชาร์จเข้ามาประมวลผล ซึ่งกฟผ.เองเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมาถึงของรถพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นตนที่เป็นผู้นำเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ อีกทั้งยังให้บริการระบบสำเร็จแก่ภาคธุรกิจที่มีความต้องการติดตั้งหัวชาร์จ ซึ่งกฟผ.ได้จัดเตรียมระบบไว้ให้ใช้งานได้ทันที เพื่อสร้างอัตราเร่งให้แก่ประเทศไทยในเรื่องรถยนด์พลังงานไฟฟ้าที่ทวีจำนวนมากขึ้นทุกวันนั่นเอง หลังจากสำรวจถึงเทคโนโลยีต่างๆ ทางกฟผ.ได้ตระหนักดีแล้วว่า Microsoft Azure มีบริการและศักยภาพในการเป็นรากฐานในการให้บริการนี้อย่างยิ่งยวด นอกจากนี้ในอนาคต กฟผ. ยังมีแผนที่จะขยายแพลตฟอร์มให้สามารถนำข้อมูลจากหัวชาร์จจากครัวเรือนมาวิเคราะห์เพื่อช่วยวางแผนในการจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมในอนาคต
Modernize you .NET with Azure
ในช่วงสาธิตท้ายสุดนั้น Microsoft ได้แนะนำถึงการทำ Modernization ให้แอปพลิเคชัน .NET โดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่ (Refactor) ซึ่งบริการ Azure App Service สามารถช่วยธุรกิจที่ต้องการย้ายแอป .NET แบบเดิมขึ้นสู่ Azure ได้อย่างง่าย และเป็นบริการแบบ Managed Service ที่ผู้ใช้ไม่ต้องดูแลโครงสร้างพื้นฐานเองทำให้ใช้งานได้อย่างยืนหยุ่น ตลอดจนมีเครื่องมือมอนิเตอร์โดยละเอียดเพื่อสืบหาปัญหาของแอปได้อย่างรวดเร็ว
และนี่ก็คือเนื้อหาโดยรวมของงาน Thailand Digital Next 2023 : Innovation Forum ในแบบ Virtual ที่จัดขึ้น และ Microsoft มีกำหนดจัดงานใหญ่ Thailand Digital Next 2023 ขึ้นในวันที่ 25 มกราคมนี้ที่สามย่านมิตรทาวน์ ท่านจะได้พบกับข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น พร้อมกับแขกรับเชิญมากมายที่มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแง่มุมที่น่าสนใจต่างๆ ตลอดทั้งวัน สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ https://aka.ms/Thailand-Digital-Next ตั้งแต่วันนี้