สรุปงาน CommScope : AI Datacenter และความพร้อมของประเทศไทย

ทุกวันนี้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลกในหลายๆอยู่เบื้องหลังของการให้บริการองค์กร ซึ่งการลงทุนใน AI ระดับองค์กรเองคือส่วนสำคัญในการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ที่โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่เมื่อพูดถึงการเชื่อมต่อใน AI Datacenter นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และประเทศไทยเองพร้อมสำหรับการมาถึงของดาต้าเซ็นเตอร์แค่ไหน โดยคำตอบนี้อยู่ในงาน สัมมนาจาก CommScope ผู้เชี่ยวชาญในโซลูชันด้านเครือข่ายชั้นนำของโลกกับธีม “Revolutionizing Connectivity AI-Driven Networking For The Future” ทีมงาน TechTalkThai ขอรวบรวมประเด็นสำคัญมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันในบทความนี้

คุณ รักเกียรติ หงษ์กาญจนพงษ์, ASEAN Sales Director, CommScope
คุณ Matias Peluffo, Vice President APAC Enterprise, CommScope

ประเทศไทยกำลังมีการลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมหาศาล ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ต้องคิดเรื่องพลังงานยั่งยืน รวมถึงต้องการใช้ไฟสูงขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งในอนาคตดาต้าเซ็นเตอร์จะมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเรื่อยๆ หน้าที่ขององค์กรคือการอยู่เหนือทุกการเปลี่ยนแปลง และนั่นคือสิ่งที่ CommScope ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางเครือข่ายที่ช่วยให้ลูกค้าพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง โดย CommScope มุ่งมั่นทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ และให้ความสำคัญกับการทำ R&D รวมไปถึงการมีบริการดูแลระดับท้องถิ่น การจัดเทรนนิ่ง ทั้งระดับการขายและสนับสนุนด้านเทคนิค นั่นคือประเด็นสำคัญจาก CommScope โดย คุณ Matias Peluffo, Vice President APAC Enterprise และ คุณ รักเกียรติ หงษ์กาญจนพงษ์, ASEAN Sales Director กล่าวในช่วง Keynote

คุณ Anissh Pandey, Senior Director APAC NCP, NVIDIA
คุณ Terry Yin, Senior Solutions Architect, NVIDIA

หากพูดถึงตลาดด้าน AI datacenter ณ วินาทีนี้คงไม่มีใครล้ำหน้าไปกว่า NVIDIA ที่เป็นเจ้าตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนโปรเจ็กต์ AI ทั่วโลก โดย 2 ทีมงานจาก NVIDIA คุณ Anissh Pandey,Senior Director APAC NCP จาก NVIDIA และ คุณ Terry Yin, Senior Solutions Architect จาก NVIDIA ได้มาชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของดาต้าเซนเตอร์สำหรับงาน AI

ดาต้าเซ็นเตอร์ไม่ใช่งานวิศวกรรมโยธาก่ออิฐก่อปูนที่แค่จ่ายเงินแล้วจะทำได้ แต่มันคืองานทางเทคโนโลยีที่ต้องคิดเรื่องระบบต่างๆทั้งไฟฟ้า การหมุนเวียนพลังงานความร้อน ภายใต้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่สำคัญคือต้องเข้าใจก่อนว่าอะไรคือสิ่งขับเคลื่อนธุรกิจ” — คุณ Anissh กล่าวเปิดในหัวข้อของเขา

อย่างไรก็ดีทั้งสองมีจุดยืนเดียวกันคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการจัดตั้งดาต้าเซนเตอร์ในที่ใดก็ตาม คือเรื่องของการจัดหาพลังงาน นั่นทำให้สิงค์โปร์หรือฮ่องกงเองไม่สามารถสร้างดาต้าเซนเตอร์เพิ่มได้อีกต่อ เราจึงเห็นข่าวเกี่ยวกับการลงทุนดาต้าเซนเตอร์ในประเทศอื่น ซึ่งไทยเองก็เป็นหมุดหมายสำคัญของผู้ลงทุนในดาต้าเซนเตอร์

ในมุมของ NVIDIA เองผลิตภัณฑ์ GPU ของพวกเขาคือสิ่งที่สนับสนุนงาน AI ทั่วโลก ซึ่งความต้องการทำให้พวกเขาต้องปรับกลยุทธ์ปล่อยชิปใหม่ออกมาทุกปี ยกตัวอย่างเช่น Blackwell เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทำให้ลูกค้าสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 25 เท่า นั่นคือส่วนหนึ่งที่ NVIDIA เองตระหนักดีถึงความต้องการด้านพลังงานที่ดูเหมือนว่าจะยิ่งเป็นภาระแก่ธุรกิจดาต้าเซนเตอร์ โดยคาดว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า อัตราการใช้ไฟต่อแร็กจะสูงถึง 300 kW ทั้งๆที่การใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมอยู่ที่ไม่กี่สิบกิโลวัตต์เท่านั้น

นอกจากนี้ชิปประมวลผลที่เร็ว และใช้ไฟน้อยลงยังช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะงานขนาดใหญ่ในดาต้าเซนเตอร์ ลองคิดดูว่าหากเราสามารถใช้ตู้แร็กน้อยลงแค่ครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่าแต่ได้ประสิทธิภาพได้สูงขึ้นจะเปลี่ยนภาพการทำงานได้แค่ไหน นี่คือนวัตกรรมจาก NVIDIA ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้การผลักดันซอฟต์แวร์ก็เป็นแกนหลักของงาน AI ที่เราจะเห็นได้จาก NVIDIA AI Enterprise นั่นเอง

แม้จะมีเทคโนโลยีการประมวลผลที่ล้ำสมัยอย่างไรแต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อหน่วยประมวลผลให้ทำงานร่วมกัน ก็คือเครือข่ายที่รวดเร็วและรองรับอนาคต และคำตอบก็คือ CommScope ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว

คุณ Priyesh Sankaran, Lead DC Center of Excellence, CommScope

ระบบเครือข่ายในดาต้าเซนเตอร์แบบเดิมต่างกับ AI Datacenter อย่างไร นั่นคือประเด็นแรกที่ คุณ Priyesh Sankaran, Lead DC Center of Excellence จาก CommScope ได้ชี้ให้ทุกท่านเห็นถึงภาพของ AI Datacenter ซึ่งถ้าอ้างอิงตามสถาปัตยกรรมของ NVIDIA จะเห็นได้ชัดว่าระบบดาต้าเซนเตอร์จะมีการเชื่อมต่ออีกส่วนที่เรียกว่า infiniBand เชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจที่รองรับประสิทธิภาพที่สูงกว่า นั่นหมายความว่าการเชื่อมต่อใน AI Datacenter ต้องรองรับโซลูชันทั้งแบบเก่าและ infiniBand ด้วย นอกจากนี้ยังมี 4 ความท้าทายที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย ดังนี้

1.) วางแผนเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต

NVIDIA มีแผนการออกผลิตภัณฑ์เร็วขึ้นสู่รายปี กล่าวคือเพียงไม่กี่ปีโครงสร้างเครือข่ายเดิมอาจจะไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ผู้ลงทุนต้องวางแผนโซลูชันที่จะรองรับอนาคต เช่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย หรือ ต่อขยายเพิ่มเติมได้ เป็นต้น นั่นคือเหตุผลที่ CommScope เน้นย้ำถึงเทคโนโลยีด้านไฟเบอร์ที่ยังพัฒนาได้อีกไกล รวมถึงแนวคิดการออกแบบ Plug & Play

2.) ยิ่งเร็วยิ่งดี

ปัจจุบันชิปประมวลผลกราฟฟิคหรือ GPU ได้ก้าวล้ำหน้าไปอย่างมาก กลายเป็นว่าระบบเครือข่ายกลับเป็นคอขวดในการพัฒนาแทน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของโครงข่ายใยแก้วที่ยังอาจสร้างสถิติใหม่ได้อีกไกล ดังนั้น CommScope จึงมีการการันตีการดูแลโซลูชันถึง 25 ปี

3.) แบบแปลนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

การวางผังและแปลนของตู้แร็กทั้งระบบ Cooling และเซิร์ฟเวอร์ คือเกมหลักที่ผู้ออกแบบต้องตีโจทย์ให้ออกตั้งแต่แรก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนกันใหม่ในอนาคต โดยการออกแบบที่ดีจะส่งผลต่อ ระยะของการวางสาย การเดินสาย ที่จะมีผลต่อเรื่องคุณภาพและการลงทุน เช่น การเดินสายที่ไกลกว่าก็ต้องตามมาด้วยจุดเชื่อมต่อสาย ระยะของสาย อุปกรณ์ติดตั้งสายเคเบิ้ล และชนิดของสายไฟเบอร์หรือทองแดง แม้กระทั่งเรื่องความยั่งยืนก็ได้รับผลด้วยเพราะมีการคำนวณเรื่องการใช้วัสดุที่เพิ่มจำนวน นอกจากนี้ในมุมของ infiniBand ยังมีผลอย่างมากที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะสูงสุดที่ทำได้และชนิดของสายไฟเบอร์ที่ต้องเลือกใช้ในแต่ละจุด

4.) โซลูชันที่ดีต้องมี Supply Chain ที่แข็งแกร่ง

ปัญหาเรื่องของการจัดส่งสินค้าตามกำหนดถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจกลายเป็นประเด็นของดาต้าเซนเตอร์ ซึ่ง CommScope ได้มีการลงทุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่การจัดตั้งออฟฟิศทางธุรกิจในหลายประเทศพร้อมทีมสนับสนุนในประเทศต่างๆ หลายแห่งทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเชีย และทุก Part Number ได้รับการการันตีการผลิตด้วยมาตรฐานเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ลูกค้าของ CommScope จึงวางใจได้เลยว่าจะไม่พบกับปัญหาของ Supply Chain มาทำให้โปรเจ็กต์ต้องล่าช้า

คุณ Priyesh ได้ชี้ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นจากการออกแบบผลิตภัณฑ์แบบ Modular ซึ่งนั่นมีผลในหลายๆเรื่อง ดังนี้

  • ความยืดหยุ่นที่รองรับทุกการใช้งาน – การเชื่อมต่อแบบ Leaf-Spine อาจมีความเร็วในแต่ละช่วงต่างกันเช่น จาก 800G และ 400G หรือ 400G สู่ 200G ซึ่ง single mode และ multi-mode fiber มีระยะต่างกันด้วย
  • ความง่ายในการใช้งาน – การมีหัวเชื่อมต่อแบบพร้อมใช้หมายความว่าผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเล็งระยะการเข้าหัวให้ยุ่งยาก แค่เสียบสายให้ถูกต้องก็ทำงานได้ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าสายใยแก้วนั้นมีความละเอียดอ่อนต่อการใช้งานอย่างมาก
  • รองรับการทำงานแห่งอนาคต – ตัวโซลูชันไฟเบอร์เองมีคุณสมบัติรองรับอนาคตอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตมีมาตรฐานใหม่เข้ามาผู้ใช้งาน CommScope ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

CommScope มีสินค้าด้านเคเบิ้ลและโซลูชันระดับดาต้าเซนเตอร์ในหลายกลุ่ม ซึ่ง Propel มีความโดดเด่นและตอบโจทย์สำหรับ AI Datacenter เป็นอย่างยิ่งด้วยคุณสมบัติดังนี้

  • รองรับหัวเชื่อมต่อได้ในมาตรฐานต่างๆทั้ง MPO12,MPO8, MPO16, LC,SN และอื่นๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีแบบเก่าไปจนถึงแนวทางอนาคตที่กำลังมาถึงอย่าง MPO16 ที่รองรับสาย Fiber ได้เยอะขึ้นในเคเบิ้ลที่น้อยลงที่ส่งผลต่อเรื่องต้นทุนและประสิทธิภาพ
  • กลุ่มสินค้า Panel ผสมผสานระหว่างการใช้งานประเภทต่างๆได้ ด้วยคอนเซปต์เพื่อการติดตั้งง่ายเปลี่ยนโมดูลได้ ขยายพื้นที่ได้เรื่อยๆ
  • โมดูลและ Cassettes มีให้เลือก 4 แบบทั้ง 8/12/16/24 LC ที่โหลดได้ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
  • มี Tag สีที่ช่วยในการแบ่งประเภทการเชื่อมต่อให้จำได้ง่าย
  • มีการติด QR Code สำหรับหา Serial Number

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ CommScope เท่านั้น ยังไม่นับรวมกลุ่มสินค้าภายใต้แบรนด์อย่าง SYSTIMAX ที่เมื่อนับจำนวนรวมกันแล้วทำให้ CommScope สามารถนำเสนอโซลูชันเรื่องการเชื่อมต่อในระดับดาต้าเซนเตอร์สำหรับงาน AI ได้จบครบที่เดียว

เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา 1. คุณ Matias Pandey, Vice President APAC Enterprise Business CommScope 2. คุณ Anissh Pandey, Senior Director APAC, NCP Business, NVIDIA 3. Darren Webb, CEO& Co-Founder, Evolution Data Centers 4. Pierre Patris, CEO-Asia, Etix Everywhere Data Centers 5. Dr. Abhisak Chulya, CEO & Founder, NIPA Cloud 6. Keng Tiek Koay, Group CEO, Amity Solutions

ในช่วงท้ายของรายการได้มีการเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์จากองค์กรต่างๆ มาพูดคุยเกี่ยวกับผลกระทบของ Generative AI และแสดงความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสเกี่ยวกับธุรกิจของดาต้าเซ็นเตอร์ซึ่งประเทศไทยเองถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ให้ความสนใจจัดตั้งบริการดาต้าเซ็นเตอร์หลายราย

การมาถึงของ Generative AI ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในมุมของ NVIDIA เองที่มีเทคโนโลยีที่ตรงกับเทรนด์คุณ Anissh ชี้ว่าพวกเขาโตเกินความคาดหมายแบบที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ซึ่งคุณ Darren ที่อยู่ในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญว่าเรื่องไฟฟ้าคือพระเอกของเรื่องและเชื่อได้เลยว่าการใช้ไฟจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ในมุมของคุณ Pierre พบว่าการใช้งาน AI เปลี่ยนจากแค่สตาร์ทอัปสู่คำถามที่ลูกค้าทุกคนต้องถามถึง สนับสนุนด้วยคุณ Keng Tiek ที่เห็นว่าการเติบโตในองค์กรจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ AI ไม่ใช่หัวข้อใหม่เพียงแต่ตอนนี้ฮาร์ดแวร์มีความพร้อมเพียงพอ และที่สำคัญคือเราต้องตระหนักรู้ถึงข้อจำกัดและเหรียญอีกด้านหนึ่งเช่นกัน นั่นคือความเห็นของ Dr. Abhisak ได้ให้ความเห็นในช่วงเสวนา

ในประเด็นของความท้าทายผู้บรรยายทุกท่านได้ให้ทัศนะที่ค่อนข้างสอดคล้องกันเกี่ยวกับการเตรียมรับดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับงาน AI แม้ไม่ได้จำเพาะเจาะจงเกี่ยวกับประเทศไทย แต่ก็เป็นข้อคิดที่ทุกประเทศนำไปปรับใช้ได้ ทั้งนี้ประเทศที่ต้องการรับการลงทุนต้องสร้างให้ตนมี Ecosystem เป็นแพลตฟอร์มสำเร็จรูปเพื่อตอบคำถามดังนี้

  • การประกอบธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์และการให้บริการต้องอยู่บนกรอบของกฏหมายและมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลสำคัญของลูกค้าด้วย ซึ่งเมื่อดาต้าเซ็นเตอร์อยู่ในประเทศก็เป็นอำนาจหนึ่งที่ประเทศจะปลอดภัยจากความขัดแย้งต่างๆ
  • จะทำอย่างไรที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้เพียงพอต่อความต้องการของดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาและเตรียมการ และเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรระดับโลกตั้งเป้าในเรื่องของ Net-Zero อย่างแข็งขัน
  • ที่ดินและที่ตั้งสำหรับดาต้าเซนเตอร์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญเพราะการใช้ไฟปริมาณมหาศาลหรือที่มาของไฟฟ้าต้องมีการวางแผน เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่ตึกใหม่ที่ใช้ไฟทั่วไป แต่คือตึกๆเดียวที่กินไฟถึงขั้นที่กระทบต่อภาพรวมของพลังงานในประเทศ
  • หากต้องการเติบโตมากขึ้นจะต้องเพิ่มปริมาณไฟเข้าไปในระบบได้อย่างไร ต้องดีลกับโรงไฟฟ้าหรือหน่วยงานใด หรือการจัดซื้อไฟจากประเทศข้างเคียงหรือไม่
  • เตรียมผู้เชี่ยวชาญทุกฝ่ายที่จำเป็นต่อการสร้างดาต้าเซนเตอร์ เช่น ระบบระบายอากาศ การก่อสร้าง ซอฟต์แวร์ เพราะความต้องการดาต้าเซนเตอร์มาถึงแล้วแถมยังโตเร็วมากด้วย ดังนั้นหากประเทศใดต้องการรับโอกาสนี้ต้องสร้างแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่พร้อมดำเนินการ
  • การจัดเตรียมงบประมาณหรือการลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์เป็นเรื่องหลักอีกส่วนหนึ่งที่ต้องมีการขบคิดสู่แนวทางความร่วมมือ
คุณวาธิณี อุยานุกิจกูล, Country Manager Thailand, CommScope

การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้มันเป็นสิ่งที่จำเป็น และเวลาที่จะลงมือทำคือตอนนี้

เมื่อเทคโนโลยี AI พัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นได้ชัดว่า ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่พร้อมรองรับ AI จะเป็นกุญแจสำคัญในการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่และความต้องการการประมวลผลที่มหาศาลจะเป็นรากฐานของนวัตกรรม AI และจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ AI สามารถบรรลุศักยภาพเต็มที่การลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน ดาต้าเซ็นเตอร์ รุ่นถัดไป ที่มีฮาร์ดแวร์ล้ำสมัย โซลูชันคลาวด์ที่สามารถขยายได้ และโปรโตคอลความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทยพร้อมสำหรับ AI การร่วมมือกันระหว่างผู้นำในอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการเทคโนโลยี และผู้กำหนดนโยบายอย่างภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำในภูมิภาคและเวทีโลกในด้าน AI

สนใจโซลูชันของ CommScope ติดต่อคุณวาธิณี อุยานุกิจกูล, Country Manager Thailand, CommScope ได้ที่ Ning.Uyanukijkul@commscope.com

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

[Video Webinar] พลิกโฉมการตรวจจับ ป้องกัน และตอบโต้ภัยคุกคามอย่างครบวงจรด้วย Splunk และ Cisco

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย Splunk & Cisco Webinar เรื่อง “พลิกโฉมการตรวจจับ ป้องกัน และตอบโต้ภัยคุกคามอย่างครบวงจรด้วย Splunk และ Cisco” ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

Google ทุ่มกว่าพันล้านดอลลาร์ให้ Anthropic คู่แข่ง OpenAI

มีรายงานจาก Financial Times ว่า Google ได้ลงทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ใน Anthropic โดยเพิ่มจากเดิมที่บริษัทได้สนับสนุนเงินทุนไปแล้วก่อนหน้านี้ 2 พันล้านดอลลาร์ และเพิ่มจากรายงานก่อนหน้านี้ว่า Anthropic กำลังระดมทุนอีก …