[PR] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เลือกฟอร์ติเน็ตป้องกันภัยคุกคามวิทยาลัยเขตต่างๆ

ไฟล์วอลล์ฟอร์ติเกตช่วยยกระดับโครงข่ายให้มีมาตรฐานสูงขึ้น และให้ผู้ใช้ 52,000 รายทั่ว 5 วิทยาเขตใช้อินเตอร์เน็ตได้เต็มศักยภาพอย่างคล่องตัว

กรุงเทพฯ,  4 ตุลาคม 2560  ฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ประกาศว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เลือกฟอร์ติเกตซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ระดับเอ็นเตอร์ไพร้ส์ของฟอร์ติเน็ตในการป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ ช่วยผู้ใช้งานบริหารอินเตอร์เน็ตแบนวิดธ์ของตนเองได้อย่างคล่องตัว และช่วยสร้างมาตรฐานโครงข่ายให้กับทางมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะช่วยเปิดให้มหาวิทยาลัยฯ มีอิสระในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่จะนำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยชั้นนำในประเทศไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์อันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวาง   มหาวิทยาลัย จึงมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 52,000 รายประกอบไปด้วยคณาจารย์ พนักงานรวมถึงนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ  ซึ่งผู้ใช้งานทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกวันในการศึกษาและการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ    ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง  ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักของมหาวิทยาลัยจะตั้งอยู่ที่วิทยาเขตหาดใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านไอที และพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมารองรับการบริหารงานต่างๆ อันได้แก่ ระบบไฟเบอร์ออปติค ระบบซีซีทีวี ระบบประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต ระบบบริหารบุคคลและการเงิน รวมถึงระบบบริหารการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานแต่ละราย

ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ฟอร์ติเน็ตนั้น ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายของรายอื่นอยู่แล้วซึ่งไม่มีโปรโตคอลการสื่อสารที่เป็นมาตรฐาน อันเป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้ความสำคัญกับแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาเองมากเนื่องจากเป็นกลยุทธ์หลักที่จะช่วยลดเวลาในการจัดการของฝ่ายไอที ลดภาระของผู้ใช้งานอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น อาทิ รับผิดชอบตรวจสอบโควต้าการใช้อินเทอร์เน็ต และการวางแผนการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมเป็นต้น

ดังนั้น ในปีคศ. 2016 มหาวิทยาลัยฯ จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่มาตรฐานสากลในด้านระบบโครงข่ายและได้พิจารณาอุปกรณ์จากผู้ขายหลายราย ได้แก่ ฟอร์ติเน็ต เช็คพ้อยท์และปาโล อัลโต เน็ทเวิร์ค  ซึ่งในช่วงการทดสอบอุปกรณ์ที่นับเป็นระยะเวลาหลายเดือนนั้น มหาวิทยาลัยฯ ได้ประจักษ์ในประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตที่โดดเด่นเหนือกว่ารายอื่น พร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่ครบครัน ความง่ายในการจัดการ    จึงได้ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ฟอร์ติเกตรุ่น FortiGate 3200D และ FortiGate 2000E เป็นจำนวนหลายชุดจากบริษัท เฟิร์สวัน ซิสเต็มส์ จำกัดผู้เป็นพาร์ทเนอร์ของฟอร์ติเน็ตทำหน้าที่ดูแลและติดตั้งระบบให้อย่างใกล้ชิดเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ อุปกรณ์ฟอร์ติเกตของฟอร์ติเน็ตเป็นไฟร์วอลล์ระดับเอ็นเตอร์ไพร้ส์ในการป้องกันภัยคุกคาม และเป็นส่วนหนึ่งของแพลทฟอร์มซีเคียวริตี้แฟบลิคของฟอร์ติเน็ต  ซึ่งผ่านการทดสอบและได้รับรางวัลด้านประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วพร้อมทั้งประสิทธิผลในการป้องกันภัยในระดับสูงจากแล็ปส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ซึ่งได้แก่ NSS Labs, ICSA, Virus Bulletin และ AV Comparatives

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวว่า “เรายินดีมากที่อุปกรณ์ฟอร์ติเกตของฟอร์ติเน็ตสามารถทำงานกับอุปกรณ์เดิมที่เราใช้งานอยู่แล้วได้อย่างราบรื่น และช่วยสร้างโครงข่ายที่เป็นมาตรฐานให้เรา  ซึ่งเป็นการช่วยเปิดให้ทางมหาวิทยาลัยมีอิสระในการออกแบบและเลือกใช้โซลูชั่นด้านไอทีและความปลอดภัยที่ต้องการในอนาคตได้”

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ

ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะพอใจในคุณสมบัติที่ดีและเห็นประโยชน์ ดังนี้

  • ในการใช้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานของฟอร์ติเกตนี้ อุปกรณ์ฟอร์ติเกตจึงรองรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเองได้ทันที ทำให้สามารถบังคับใช้นโยบายการใช้งานได้ทั่วถึง และผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธีแบบ Single sign-on บนเทคโนโลยี IPv4 และ IPv6 ได้ง่ายมากขึ้น ราบรื่นไม่ติดขัด
  • เมื่อใช้โปรโตคอลสื่อสาร BGP ของอุปกรณ์ฟอร์ติเกตร่วมกับอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตเร้าเตอร์ของทางมหาวิทยาลัยฯ จะเอื้อให้ผู้ดูแลด้านไอทีมีศักยภาพในการเห็นในแนวลึกมากขึ้น ซึ่งรวมถึง สามารถเห็นกิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละราย เห็นเว็บไซต์ที่เข้า เห็นโควต้าแบนวิดธ์ของแต่ละรายและจำนวนที่ได้ใช้ไป  ซึ่งด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงสามารถบริหารแบนวิดธ์ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ใช้งานใช้อินเทอร์เน็ตได้ราบรื่น 
  • อุปกรณ์ฟอร์ติเกตสามารถให้รายงานการใช้อินเทอร์เน็ตที่ละเอียด ซึ่งตอบสนองความต้องการของทีมผู้ดูแลด้านไอทีและผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี   ผู้ใช้งานสามารถเห็นจำนวนอินเทอร์เน็ตที่ได้ใช้ไป  เห็นเว็บไซต์ที่ตนได้เข้าชม ประเภทของทราฟิค และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในการใช้งานของตนเองได้จากแอปพลิเคชั่นบนหน้าจออย่างง่ายๆ   และเมื่อผู้ใช้งานสามารถบริหารการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเองได้ จึงทำให้ทีมผู้ดูแลด้านไอทีสามารถวางแผนจัดการปัญหาด้านแบนวิดธ์ได้ล่วงหน้า  และใช้เวลาในงานด้านแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าน้อยลง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง มีความรู้สูงและยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงอีกด้วย  ทั้งนี้ โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่มีประสิทธิภาพและให้ปลอดภัยสูงจะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้  การใช้อุปกรณ์ฟอร์ติเกตนับว่าเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากช่วยให้เราเร่งสร้างแอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยต้องการใช้ได้เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกๆ วันให้มากขึ้น”

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 310,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs    

About TechTalkThai PR 2

Check Also

ยิบอินซอย เปิดพื้นที่โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์ “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” สัมผัสการทำงานของ AI เทคโนโลยีแห่งอนาคต [PR]

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ได้จัดงาน “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” ขึ้น ณ ศูนย์ …

Cloud HM ร่วมมือกับ NetApp เร่งการเปิดใช้ไฮบริดคลาวด์ในองค์กรไทย [PR]

เน็ตแอพ (NASDAQ: NTAP) บริษัทโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลอัจฉริยะดั้งเดิม ประกาศในวันนี้ว่า Cloud HM ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำในประเทศไทย กำลังเลือกใช้โซลูชันการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช AFF C-Series ของเน็ตแอพ และบริการข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อให้บริการไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) แก่ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย