เตือนการโจมตีบนช่องโหว่ Oracle WebLogic Server หลังโค้ด PoC เจาะระบบถูกเปิดเผย

พบการโจมตีช่องโหว่บน Oracle WebLogic Server ที่ไม่ได้ทำการอัปเดตแพตช์ด้านความมั่นคงปลอดภัยล่าสุด หลังมีนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยหลายรายเปิดเผยโค้ด PoC สำหรับเจาะช่องโหว่ดังกล่าว เสี่ยงถูกแฮ็กเกอร์เข้าควบคุมระบบ Server แม้ไม่รู้รหัสผ่านได้

ช่องโหว่บน Oracle WebLogic Server นี้มีรหัส CVE-2018-2893 เป็นช่องโหว่บนส่วนประกอบหนึ่งของ Oracle WebLogic Middleware ซึ่งช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุม Server จากระยะไกลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบรหัสผ่าน ช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ Oracle WebLogic เวอร์ชัน 10.3.6.0, 12.1.3.0, 12.2.1.2 และ 12.2.1.3 มีความรุนแรงระดับ Critical และมีคะแนน CVSSv3 9.8/10 แสดงให้เห็นว่าเป็นช่องโหว่ที่โจมตีได้ง่ายและส่งผลกระทบอย่างรุนแรง

Oracle ได้ออกแพตช์เพื่ออุดช่องโหว่นี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับช่องโหว่เนื่องจากกลัวถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด อย่างไรก็ตาม 3 วันหลังจากที่แพตช์ออกมา พบว่ามีโค้ด PoC สำหรับเจาะช่องโหว่ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออนไลน์หลายแห่ง จากการตรวจสอบพบว่ามีไม่น้อยกว่า 3 รายการ ส่งผลให้แฮ็กเกอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดีหลายคนเริ่มนำโค้ดเหล่านี้ไปใช้โจมตี Oracle WebLogic Server ไปทั่วโลก

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก ISC SANS และ Qihoo 360 Netlab ได้ทำการติดตามการโจมตีผ่านช่องโหว่นี้ พบว่ามีกลุ่มแฮ็กเกอร์ไม่น้อยกว่า 2 กลุ่มที่เริ่มนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้โจมตีช่องโหว่ Oracle WebLogic เป็นวงกว้าง จึงแนะนำให้ผู้ดูแลระบบรีบอัปเดตแพตช์ Oracle CPU ประจำเดือนกรกฎาคม 2018 โดยด่วน

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/security/attacks-on-oracle-weblogic-servers-detected-after-publication-of-poc-code/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

AMD เปิดตัวการ์ดเน็ตเวิร์กระดับ 400Gbps ตัวแรกของโลกที่เปิดให้โปรแกรมเองได้

AMD Pollara 400 หรือโซลูชัน NIC ใหม่จาก AMD ซึ่งจุดเด่นคือการเปิดให้มีการโปรแกรมการใช้งานเพิ่มเองได้ และรองรับมาตรฐานจาก Ultra Ethernet Consortium (UEC) ได้ด้วย

Passwordless คืออะไร?

รู้สึกชีวิตยากไหมกับการที่ต้องรหัสผ่านนับสิบในทุกวันนี้ นั่นทำให้เกิดการตั้งรหัสผ่านแบบง่ายๆ หรือวนใช้รหัสผ่านซ้ำ ซึ่งเมื่อข้อมูลรั่วก็โดนแฮ็กได้แบบรวบยอด ด้วยเหตุนี้เองแนวคิดของ Passwordless จึงเริ่มถูกผลักดันมากขึ้น ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักนิยามของ Passwordless และวิธีการใช้งานกัน