พบแรนซัมแวร์ BianLian กำลังแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

พบแรนซัมแวร์ BianLian พัฒนาด้วยภาษา Go กำลังแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

Cyble Research Labs เผยข้อมูลแรนซัมแวร์ตัวใหม่ ใช้ชื่อ BianLian ถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการมุ่งเป้าในการโจมตีองค์กรในหลายภาคธุรกิจ โดยธุรกิจสื่อและธุรกิจบันเทิงตกเป็นเป้าหมายกว่า 25% และกลุ่มโรงงาน, ภาคการศึกษา, ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจการเงินการลงทุน มีสัดส่วนการโจมตีเท่าๆกันที่ 12.5% ซึ่งแรนซัมแวร์ตัวนี้พัฒนาด้วยภาษา Go ที่รองรับการทำงานแบบ Cross-platform และง่ายต่อการปรับแต่ง ใช้วิธีการแบ่งไฟล์ออกเป็นขนาดเล็กประมาณ 10 bytes หลังจากนั้นจึงเข้ารหัสไฟล์ เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับของ Antivirus หลังจากนั้นจะใช้วิธีเรียกค่าไถ่แบบสองชั้น (double-extortion) หากไม่มีการจ่ายค่าไถ่ภายในระยะเวลา 10 วัน จะไม่มีการปลดล๊อกไฟล์และจะปล่อยไฟล์นั้นสู่สาธารณะอีกด้วย

Cyble ได้แนะนำขั้นตอนในการปฏิบัติหากโดนแรนซัมแวร์ตัวนี้โจมตี ได้แก่ ตัดการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับระบบเครือข่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย, ถอดอุปกรณ์ External Storage ออก และตรวจสอบ Log ของระบบ เพื่อหาเส้นทางการโจมตี นอกจากนี้ยังแนะนำวิธีในการป้องกันแรนซัมแวร์เพิ่มเติม ได้แก่ การทำ Backup ข้อมูลอย่างเป็นประจำ, หมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์และช่องโหว่ความปลอดภัยระบบปฏิบัติการอยู่เสมอ, ติดตั้งซอฟต์แวร์ Anti-virus หรือ Internet Security ลงในอุปกรณ์ และเพิ่มระมัดระวังในการเปิดลิงค์หรืออีเมล์ที่อาจมีภัยคุกคามแฝงตัวอยู่

ที่มา: https://www.darkreading.com/cloud/new-bianlian-ransomware-variant-on-the-rise

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

NB-IoT คืออะไร?

NB-IoT คงเป็นศัพท์ที่หลายท่านได้เห็นในทางเลือกของการเชื่อมต่อระยะไกลของอุปกรณ์ IoT และเชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่เข้าใจเช่นกันว่า เหตุใดการโปรโมตบริการ NB-IoT จึงผ่านมาทางผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของ Narrowband IoT ให้รู้จักกันชัดๆ

Veeam แก้ไขช่องโหว่ RCE ที่อันตรายบน Backup & Replication

Veeam ปล่อยแพตช์แก้ไขช่องโหว่ Remote Code Execution ที่มีความรุนแรงระดับ Critical ใน Backup & Replication ซึ่งกลุ่มแรนซัมแวร์มักใช้เป็นเป้าหมายโจมตีในการขโมยข้อมูลและลบไฟล์สำรอง