CDIC 2023

[PR]เน็ตแอพเผยเทรนด์เทคโนโลยีปี 2561 ดาต้าหรือข้อมูล คือตัวขับเคลื่อนธุรกิจที่สำคัญ

เมื่อเร็วๆ นี้ เน็ตแอพได้ออกมาพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านรากฐานของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ที่มีการมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์เชิงไอทีสำหรับองค์กรทั้งหลาย โดยที่ศูนย์กลางของการโฟกัสจะไปอยู่ที่ ‘ข้อมูล’ ในยุคที่โลกเรามีความหลากหลายทางด้านข้อมูล และข้อมูลก็มีอิทธิพลต่อทุกๆ สิ่ง ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานทางไอที โครงสร้างของแอปพลิเคชัน ไปจนถึงกลยุทธ์ Provisioning ที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความจริงครั้งใหม่ของโลกไฮบริดคลาวด์ นี่คือบริบทที่ทำให้เราเข้าใจ 5 เทรนด์สำคัญในปี 2561 ด้วยการคาดการณ์ของซีทีโอจากเน็ตแอพ

นาย วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

1. ความสามารถในการหยั่งรู้ของข้อมูล

ปัจจุบัน เรามีกระบวนการที่ทำหน้าที่ควบคุมการย้ายข้อมูล การจัดการและการป้องกันข้อมูลต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่เกินคาดกว่านั้น คือ เรามีระบบที่ข้อมูลสามารถจัดการตัวมันเองได้ ล่าสุดของความก้าวหน้าในระบบสารสนเทศนั้น ข้อมูลมีความสามารถในการบริหารจัดการตัวเองได้หลากหลายขึ้นมากกว่าเดิม โดย เมทาดาทา (Metadata) จะทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้าย จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์และปกป้องตัวเองได้  และความราบรื่นในการทำงานขององค์ประกอบข้อมูล แอปพลิเคชัน และสตอเรจ จะถูกอัพเดตในแบบเรียลไทม์ ในขณะที่ข้อมูลทำการส่งสารที่ถูกต้องและแม่นยำตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา นี่คืออีกหนึ่งความสามารถในการจัดการตนเองของข้อมูล ด้วยการกำหนดผู้ที่สามารถเข้าถึง แบ่งปัน และใช้งานข้อมูลได้เอง ซึ่งอาจหมายถึงการปกป้องข้อมูลจากภายนอก เพื่อความเป็นส่วนตัว ด้วยอำนาจการจัดการในการเข้าถึง

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจมีกลุ่มคนบางกลุ่มต้องการหรือแสดงเจตจำนงในการเข้าถึงข้อมูลรถยนต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นผู้ตัดสิน หรือบริษัทประกันภัยที่ต้องการข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ ในขณะเดียวกันโรงงานผลิตรถยนต์ก็อาจต้องการข้อมูลนี้ด้วยเพื่อนำไปสร้างสมรรถนะกลไกเครื่องยนต์หรือระบบเบรกที่ดีที่สุด ทว่าการจัดการของระบบข้อมูลนี้ก็คือ ความสามารถในการหยั่งรู้ได้ว่ามีใครกำลังติดตาม และยังคอยควบคุมว่าใครกำลังเฝ้าดู อยู่ในส่วนไหนและเวลาใด โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลเสียตามมาเนื่องจากมีใครล่วงรู้ข้อมูลสำคัญที่ไม่ต้องการเผยแพร่

2. Virtual Machine จะกลายเป็นเครื่อง Rideshare

สิ่งนี้ทำให้เราได้ข้อคิดในการเลือกซื้อ เช่ารถยนต์ หรือการใช้บริการ Ridesahre ผ่านทางบริการอย่าง Uber หรือ Lyft หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ยานพาหนะในการบรรทุกของหนักทุกวัน การซื้อรถเป็นของตัวเองก็เป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่หากในกรณีของคนที่เลือกใช้รถต่างประเภทในแต่ละช่วงเวลา ก็อาจเหมาะกับการเช่ารถยนต์มากกว่า นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่ต้องการใช้ยานพาหนะในการรับส่งจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งประเภทของรถนั้นคงไม่จำเป็น ขอแค่เพียงมีความรวดเร็วและสะดวกสบาย ซึ่งบริการอย่าง Rideshare ก็ดูจะตอบโจทย์มากที่สุด

แนวคิดนี้จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีของ Virtual Machine และ Physical machine ฮาร์ดแวร์ที่สามารถปรับแต่งได้อาจมีราคาสูง แต่การลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมนั้นยังคงเหมาะกับเวิร์กโหลดปริมาณมหาศาลที่ต้องทำงานร่วมกัน กรณีของ Virtual Machine ในระบบคลาวด์ที่รองรับประเภทของเวิร์กโหลดที่หลากหลายดูจะคล้ายกับการทำสัญญาเช่า ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Virtual Machine ได้โดยที่ไม่ต้องถือสิทธิ์ครอบครองหรือทราบข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น และเมื่อสิ้นสุดการ ‘เช่า’ ทุกอย่างก็จะถูกยกเลิกไปเอง Virtual Machine ที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐาน webscale (การประมวลผลแบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์) จะคล้ายกับบริการ Rideshare ที่สามารถประมวลผลได้เพียงแค่ผู้ใช้งานกำหนดภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ จากนั้นก็ยกให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการคลาวด์จัดการ สร้างความสะดวกสบายในการใช้งานมากกว่ารูปแบบดั้งเดิมของเวิร์กโหลดบางประเภท

3. ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินความสามารถในการถ่ายโอน แต่ก็สามารถจัดการได้

คงไม่ใช่ความลับหากจะบอกว่า การที่ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและถูกนำมาใช้งานในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นจนเกินความสามารถในการถ่ายโอน อย่างไรก็ตามแอปพลิเคชันและทรัพยากรที่ต้องใช้ในกระบวนการจะถูกย้ายใกล้กับข้อมูล แทนที่จะเป็นการย้ายข้อมูลไปเองซึ่งส่งผลให้เกิดโครงสร้างใหม่ๆ อย่าง edge, core และ cloud ในอนาคต

ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตรถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous car) ติดตั้งเซนเซอร์ที่ผลิตข้อมูลมหาศาลจนไม่มีเครือข่ายที่รวดเร็วพอที่จะเคลื่อนย้ายข้อมูลจากรถยนต์ไปยังดาต้าเซนเตอร์ได้ ในอดีตอุปกรณ์ที่อยู่บน edge ไม่ได้ผลิตข้อมูลจำนวนมากนัก แต่ปัจจุบันการที่มีเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ทุกที่ตั้งแต่ รถยนต์, ตัวควบคุมอุณหภูมิ ไปจนถึงอุปกรณ์แวร์เอเบิล ข้อมูล edge นั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนเกินขีดความสามารถของการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับแกนประมวลผล (core) รถยนต์ไร้คนขับและอุปกรณ์ edge อื่นๆ ต้องการการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์บน edge เพื่อการตัดสินใจที่ทันท่วงที ส่งผลให้เราย้ายแอปพลิเคชันไปใกล้กับข้อมูล

4. การพัฒนาจาก Big Data ไปสู่ Huge Data ต้องพึ่งพาสถาปัตยกรรมโครงสร้าง Solid State Drive (SSD) ในรูปแบบใหม่

ความต้องการในการวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจำเป็นต้องย้ายข้อมูลให้ไปอยู่ใกล้กับทรัพยากรประมวลผล หน่วยความจำข้อมูลแบบถาวร (persistent memory) คือสิ่งที่เอื้อให้มีการประมวลผลแบบ ultra-low latency โดยที่ข้อมูลไม่สูญหายและความต้องการของค่า latency เหล่านี้จะบังคับให้สถาปัตยกรรมทางด้านซอฟต์แวร์เกิดการปรับเปลี่ยนและสร้างโอกาสให้ธุรกิจทั้งหลายได้มาซึ่งข้อมูลใหม่ๆ แม้เทคโนโลยีแฟลช (Flash) จะกลายเป็นประเด็นร้อนในภาคอุตสาหกรรม แต่ซอฟต์แวร์ที่รันบนเทคโนโลยีนี้ก็ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงแค่มีความรวดเร็วขึ้นเท่านั้น

นี่คืออิทธิพลจากวิวัฒนาการของบทบาททางด้านไอทีในองค์กร ในอดีตหน้าที่หลักของไอทีน่าจะเป็นการจัดการขั้นตอนกระบวนการให้เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงาน การวางบิล การทำการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ (Account Receivable) และอื่นๆ ในปัจจุบัน ไอทีเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดีขึ้น ด้วยการนำเสนอบริการที่ออนไลน์อยู่ตลอด (Always on), แอปพลิเคชันบนมือถือ และการเข้าสู่ rich web experience ขั้นตอนต่อไปคือการแปลงของข้อมูลที่ถูกบันทึกทางเซนเซอร์หลายแห่งและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสทางด้านธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องอาศัยสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันรูปแบบใหม่ที่สนับสนุนโดยเทคโนโลยีอย่างหน่วยความจำข้อมูลแบบถาวร (persistent memory)

5. การปรากฏขึ้นของกลไกการจัดการข้อมูลแบบกระจายอำนาจจากศูนย์กลางที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

กลไกการจัดการข้อมูลด้วยวิธีที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เปลี่ยนแปลง และมีการเผยแพร่อย่างแท้จริง (หมายถึง ไม่ต้องผ่านอำนาจศูนย์กลาง) จะมีความโดดเด่นและสร้างผลกระทบให้แก่ศูนย์ข้อมูลแบบลงลึก ซึ่ง Blockchain คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับกรณีนี้

กลไกการกระจายอำนาจจากศูนย์กลางอย่าง blockchain สร้างความท้าทายให้แก่รูปแบบการปกป้องและจัดการข้อมูลแบบดั้งเดิม เนื่องจากไม่มีจุดศูนย์กลางในการควบคุมอย่างเซิร์ฟเวอร์กลาง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนหรือลบข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ใน blockchain และข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ อย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Supermicro เปิดตัว Server ใหม่รองรับ AMD EPYC 8004 Series

Supermicro เปิดตัว Server ใหม่รองรับหน่วยประมวลผล AMD EPYC 8004 Series รุ่นล่าสุดจาก AMD ตอบโจทย์งาน Edge Computing

DGA เปิดผลงาน รัฐบาลดิจิทัล ประหยัด คุ้มค่ามูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 8 พันล้านบาท ชูกลยุทธ์ เข้าถึงบริการภาครัฐ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตรวจสอบได้ ขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ในบทบาท Smart Connector เชื่อมต่อภาครัฐทุกภาคส่วนกับประชาชน [Press Release]

DGA อัพเดทความก้าวหน้ารัฐบาลดิจิทัลของไทย มุ่งเป้ายกระดับงานบริการ ทั่วประเทศให้เป็นดิจิทัล พร้อมขยายบริการรัฐบนแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ให้ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย สามารถรับบริการภาครัฐได้ แฮบปี้ คนไทยตื่นตัวการใช้บริการรัฐผ่านแอปพลิเคชัน และใช้บริการดิจิทัลภาครัฐทุกบริการรวมกว่า 4 ร้อยล้านครั้ง โดยไม่รวมบริการโครงสร้างพื้นฐาน DG …