Microsoft อุดช่องทาง ไม่ให้มัลแวร์ปิดซอฟต์แวร์ Antivirus ได้ผ่าน Registry อีกต่อไป

Microsoft ได้อุดรอยรั่ว ที่มัลแวร์เคยสามารถแก้ไข Registry เพื่อสั่งปิด Defender หรือ Third-party Antivirus 

ตั้งแต่ Windows Vista เป็นต้นมาแอดมินของ Windows มีความสามารถใช้ Group Policy เพื่อสั่งปิด Defender หรือซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากค่ายอื่นได้  หรือก็คือเป็นการแก้ไข Registry ที่ชื่อ ‘DisableAntiSpyware’ นั่นเอง แต่เมื่อแอดมินทำได้มีหรือคนร้ายจะปล่อยให้รอดสายตา จึงมีการประยุกต์มัลแวร์ให้สามารถปรับแต่ง Registry นี้ได้ออกมาเรื่อยๆ เช่น TrickBot, Novter, Clop Ransomware, Ragnarok Ransomware และ AVCrypt Ransomware

ต่อมาใน Windows 10 1903 ทาง Microsoft ก็แก้เกมโดยการเพิ่มฟีเจอร์ที่ชื่อ Tamper Protection เพื่อกันการแก้ไขค่า Defender Setting ไม่ว่าจากโปรแกรมหรือ CLI หรือ Registry และ Group Policy อย่างไรก็ตามความพยายามยังไม่ประสบผลสำเร็จเพราะมัลแวร์ยังสามารถแก้ไขค่าใน DisableAntiSpyware Registry และรีบูตคอมเพื่อการปิดซอฟต์แวร์ แม้ว่าเครื่องนั้นจะเปิด Tamper Protection อยู่ก็ตาม

วันนี้ Microsoft กลั้นใจเด็ดขาดบอกว่าจะไม่ใช้และละเลยค่าใน DisableAntiSpyware เพื่อการปิดซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอีกต่อไป 

ที่มา :  https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/malware-can-no-longer-disable-microsoft-defender-via-the-registry/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน