สร้างสรรค์โครงการ AI ขององค์กรให้เป็นจริงด้วย IBM Power

การนำ AI เข้ามาใช้ในองค์กรเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยหนึ่งในความท้าทายที่ทำให้โปรเจ็กต์ AI ขององค์กรไม่สามารถไปถึงฝั่งฝันก็คือโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ ในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ IBM Power ในมุมของงาน AI ให้มากขึ้นว่าจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร

เมื่อพูดถึงการริเริ่มโครงการ AI ขึ้นในองค์กรนั้น มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอในหลายแง่มุมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีว่า จะสามารถรองรับการประมวลผลได้ทันกับปริมาณข้อมูลหรือไม่ รวมไปถึงอัตราการใช้หน่วยความจำที่สามารถรองรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนวิธีการในการนำโมเดล AI ไป deploy ใช้งานที่เห็นภาพและจับต้องได้

คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากเราทราบกันดีแล้วว่าโมเดล AI ที่แม่นยำเป็นความสามารถที่ส่งผลโดยตรงมาจากปริมาณข้อมูล ซึ่งในกรณีที่การใช้งานนั้นต้องเกี่ยวพันกับข้อมูลมหาศาล คำถามของพลังประมวลจึงเกิดขึ้น พร้อมๆกับความต้องการหน่วยความจำที่มากเพียงพอรองรับกับข้อมูลที่จะถาโถมเข้าสู่การเทรนโมเดล

อย่างไรก็ดีนอกจากพลังการประมวลผลแล้วการส่งเสริมให้โปรเจ็กต์ AI เริ่มต้นขึ้นได้ องค์กรควรพิจารณาไปถึงสภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ด้วย เช่น การที่ Vendor สามารถนำเสนอโมเดล AI สำเร็จรูป หรือหน่วยประมวลผลที่สามารถสนับสนุนการคำนวณเมทริกซ์ได้ รวมไปถึงการมีซอฟต์แวร์ช่วยเหลือสำเร็จรูปที่ทำให้ท่านสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหลักขององค์กรเช่น SAP เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มให้ภาพผังการปฏิบัติการในโปรเจ็กต์ AI ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงคำถามส่วนหนึ่งที่ผู้บริหารมักตั้งข้อสงสัย ซึ่งยังไม่นับรวมถึงประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ความคงทนของระบบ และข้อบังคับระดับองค์กรหรือกฎหมายที่ครอบคลุมธุรกิจ

IBM Power ได้ถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงโจทย์ของโปรเจ็กต์ AI และงานสำคัญในองค์กรอย่างแท้จริง ด้วย 5 ความโดดเด่นดังนี้

1.) มีระบบ Matrix Math Accelerator

IBM Power 10 มาพร้อมกับ Matrix Math Accelerator (MMA) ที่ช่วยในการทำ AI Inferencing ซึ่งนี่คือจุดหลักที่ช่วยลดงานที่โดยปกติแล้วต้องส่งข้อมูลไปให้ GPU ทำงาน โดยรอยต่อเหล่านี้มักนำมาซึ่ง Latency ที่เพิ่มขึ้นและอาจเกิดประเด็นในความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย

2.) เพิ่มหน่วยความจำได้อย่างจุใจรองรับงาน In-memory

เป็นที่ทราบกันดีว่าการดึงข้อมูลจาก RAM มักทำได้รวดเร็วกว่าดิสก์ และนี่คือคอนเซปต์ของการประมวลผลแบบ In-memory เช่น แอปพลิเคชัน SAP HANA เป็นต้น ประเด็นคือเซิร์ฟเวอร์จะต้องถูกออกแบบมาให้รองรับกับการเชื่อมต่อกับ Memory จำนวนมหาศาลด้วย โดย IBM Power คือคำตอบนั้น โดยชูจุดเด่นกับการทำงานแบบ In-memory อย่าง SAP HANA เช่นกันในงาน AI ที่มีการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก การคำนวณข้อมูลบน RAM จะช่วยลดเวลาการทำงานได้อย่างมาก

3.) มาพร้อมกับไลบรารี AI มากมายเริ่มต้นได้ทันที

อุปสรรคของงาน AI ไม่จำกัดอยู่แค่โครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์ แต่ยังรวมไปถึงการจัดหาไลบรารีที่เหมาะสมกับงานเข้ามาด้วย และเมื่อได้มาแล้วจะเข้ากันได้กับเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องมีการทดสอบและปรับแต่งให้สามารถนำพลังของเซิร์ฟเวอร์มาใช้ได้อย่างสูงสุด แต่ไม่ใช่ปัญหาของผู้ใช้งาน IBM Power เพราะได้มีการคิดเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดย IBM ได้นำเสนอซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไลบรารีต่างๆสำหรับงาน AI เอาไว้ผ่าน RocketCE ที่แพ็กเกจได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้กับ IBM Power ที่สามารถดึงเอาความสามารถจาก Matrix Math Accelerator มาใช้ได้

4.) ผสมผสานการใช้งานได้ทุกรูปแบบด้วย Red Hat OpenShift

IBM Power สามารถจับคู่การทำงานผสานกับระบบเซิร์ฟเวอร์ x86 ทั่วไปได้ด้วยการจัดตั้งคลัสเตอร์การประมวลผลจากความสามารถของ Red Hat OpenShift ซึ่งทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสำหรับการเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ได้หลายประเภทไม่จำกัดเพียงแค่ IBM โดยอาจจะจัดสรรงานให้กับกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ได้ตามความสำคัญของงานอย่างไร้รอยต่อ

5.) มีฟีเจอร์รักษาความมั่นคงปลอดภัยทางข้อมูลในทุกสถานะ

IBM Power มาพร้อมกับฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มข้นและพร้อมให้ความคุ้มครองข้อมูลในทุกสถานะ เริ่มต้นจากความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างหน่วยความจำและส่วนประมวลผลด้วยฟีเจอร์ Transparent Memory Encryption ที่เกิดขึ้นระดับฮาร์ดแวร์ ดังนั้นการปฏิบัติการจะไม่ส่งผลกระทบต่องานปกติของ CPU

นอกจากนี้ IBM Power ยังนำเสนอความแข็งแกร่งที่พร้อมรับมือกับยุคหลังควอนตัม(Post Quantum Encryption) ที่ข้อมูลจะยังปลอดภัยและไม่ถูกเปิดเผยได้โดยง่ายในอนาคต ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้โดยไม่ต้องถอดรหัสผ่านเทคนิค fully homomorphic encryption ที่เหมาะอย่างมากในงาน AI ที่ต้องการนำข้อมูลมาใช้แบบเปิดเผยข้อมูล

อีกหนึ่งข้อกังวลของโปรเจ็ค AI ในเชิงกลยุทธ์ที่มักถูกถามเสมอคืออำนาจของการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คลาวด์อาจไม่ใช่คำตอบในทุกอุตสาหกรรม และแน่นอนว่าการเลือกใช้ IBM Power Appliance จะตอบโจทย์นี้ได้ตรงจุดมากกว่า อีกทั้ง IBM ยังมีโมเดลที่ทำให้องค์กรปรับแต่งการใช้งานที่เกิดขึ้นได้ตามจริงด้วยโมเดล Power Private Cloud ที่มีการรวมทรัพยากรและวัดผลการใช้งานแบบรายเดือนได้

อย่างไรก็ดีองค์กรที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจบนคลาวด์หรือมีแผนโยกย้ายนโยบายการทำงานร่วมกับ Cloud ทาง IBM ก็ได้นำเสนอโมเดล IBM Power Virtual Server บน IBM Cloud เพื่อให้ท่านยังคงทำงานกับ IBM Power ในแผน Hybrid Cloud ได้อย่างไร้รอยต่ออีกด้วย

ที่มาของบทความ :

https://www.ibm.com/blog/announcement/combining-ai-with-a-trusted-data-approach-on-ibm-power-to-fuel-business-outcomes/

ท่านใดสนใจโซลูชัน IBM Power สามารถติดต่อตัวแทนจำหน่าย Computer Union ได้ที่ email : cu_mkt@cu.co.th หรือโทร 02 311 6881#7151, 7156

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Foxconn ร่วมมือกับ NVIDIA สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ที่เร็วที่สุดในไต้หวัน

Foxconn จับมือ NVIDIA สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ทรงพลังที่สุดในไต้หวัน คาดเริ่มใช้งานปี 2025

Microsoft ยุติการสนับสนุน Windows 11 รุ่น 22H2 สำหรับ Home และ Pro

Microsoft ยุติการสนับสนุน Windows 11 รุ่น 22H2 สำหรับ Home และ Pro พร้อมเริ่มอัปเกรดอัตโนมัติเป็น Windows 11 2024 Update