เด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นถูกตำรวจจับ ฐานพัฒนา Malware ที่ใช้ขโมย Cryptocurrency

เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมาตำรวจของเมือง Aichi ได้เข้าจับกุมตัวชายหนุ่มชาวญี่ปุ่นอายุ 17 ปีรายหนึ่งจากการที่เขาพัฒนา Malware เพื่อใช้ขโมย Cryptocurrenncy

 

Credit: ShutterStock.com

 

ถึงแม้จะไม่มีการเปิดเผยชื่อใดๆ แต่เด็กคนนี้ก็ยังเรียนอยู่ม.ปลายปี 3 เท่านั้น โดยเขาได้ทำการพัฒนา Application ตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบรวบรวมราคาของเหรียญต่างๆ ในตลาด Cryptocurrency แบบ Real-time พร้อมกับแฝงความสามารถเบื้องหลังเอาไว้คือการดักขโมยรหัสผ่านและ Private Key สำหรับ MonaCoin Wallet ไปด้วย

MonaCoin นี้เป็นเหรียญ Cryptocurrency เหรียญแรกของญี่ปุ่นที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 โดยหนึ่งเหรียญ MonaCoin มีมูลค่าประมาณ 3.86 เหรียญหรือราวๆ 130 บาท

การเข้าจับกุมตัวครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีชายอายุ 31 ปีรายหนึ่งได้ติดตั้ง Application ที่เป็น Malware ตัวนี้ และถูกขโมยเหรียญ MonaCoin ไป 170 เหรียญ จึงได้ทำการแจ้งความและนำมาสู่การจับกุมตัวในครั้งนี้ ซึ่งเด็กชายที่ตกเป็นผู้ต้องหาในครั้งนี้ก็ได้ออกมาปฏิเสธว่าเขาไม่ได้พัฒนา Application โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ดีแต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ตำรวจก็กำลังสืบสวนต่อจึงเจตนานี้ และค้นหาว่ามีเหยื่อรายอื่นอีกหรือไม่

 

ที่มา: https://www.hackread.com/japanese-arrested-for-developing-cryptocurrency-stealing-malware/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เจาะลึกเครื่องมือการโจมตีแบบร้ายแรง Web DDoS “MegaMedusa” โดยกลุ่มก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ “RipperSec”

RipperSec เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากมาเลเซียหรือที่ถูกจัดประเภทว่าเป็นแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivism ทั้งนี้มีแรงจูงใจมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและชาติมุสลิม โดยคนร้ายมีการใช้เครื่องมือเพื่อทำ We DDoS ที่ชื่อว่า MegaMedusa โดยในบทความนี้ Radware จะชวนทุกท่านมาติดตามการดำเนินงานและกลยุทธ์ของเครื่องมือดังกล่าว โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

GitLab แก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML

GitLab ออกอัปเดตความปลอดภัยแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML ที่ส่งผลกระทบต่อ GitLab Community Edition (CE) และ Enterprise Edition (EE) แบบ self-managed