IBM Flashsystem

[PR] ผู้พิพากษาไอทีซี ชี้ชัด ไฮเทรา คอมมิวนิเคชั่นส์ละเมิดสิทธิบัตร 4 ฉบับของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ในอเมริกา

  • สั่งห้ามไฮเทรานำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดสิทธิบัตรมายังสหรัฐอเมริกา รวมทั้งให้หยุดจำหน่ายและ         ทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดสิทธิบัตรโดยทันที

กรุงเทพฯ (9 กรกฎาคม 2561)บริษัท โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ (NYSE: MSI) ประกาศว่าผู้พิพากษาแมรี่ โจแอน แมคนามารา แห่งคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ไอทีซี) เปิดเผยคำวินิจฉัยเบื้องต้นจากการไต่สวนกรณีการละเมิดสิทธิบัตรที่โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ยื่นฟ้องร้องกับบริษัท ไฮเทรา คอมมิวนิเคชั่นส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SHE: 002583) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ระบุข้อกล่าวหาในคำฟ้องร้องว่าไฮเทรานำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์และระบบวิทยุสื่อสารสองทาง รวมถึงซอฟต์แวร์และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิบัตร 4 ฉบับของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ โดยสิทธิบัตรเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในผลิตภัณฑ์วิทยุสื่อสารระดับมืออาชีพและเชิงพาณิชย์ของไฮเทราที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน

คำตัดสินของผู้พิพากษาเกิดขึ้นหลังจากมีการไต่สวนที่ยาวนานถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยมีพยานจากทั้งสองฝ่ายเข้าให้การ รวมถึงมีเอกสารประกอบคำฟ้องร้องและหลักฐานอีกนับพันรายการที่แสดงต่อศาล ซึ่งในคำวินิจฉัยเบื้องต้น ผู้พิพากษาแมคนามาราพบว่าสิทธิบัตรทั้ง 4 ฉบับเป็นของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อย่างสมบูรณ์ และไฮเทราได้ละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าว และโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ มีการดำเนินการที่ตรงตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางเทคนิคต่ออุตสาหกรรมในประเทศอันเกิดจากการละเมิดสิทธิบัตร 3 ใน 4 ฉบับ

ผู้พิพากษาแมคนามารายังมีคำสั่งห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ละเมิดสิทธิบัตรเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ซึ่งครอบคลุมสิทธิบัตรของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ ในสหรัฐอเมริกา หมายเลข 7,369,869, 7,729,701 และ 8,279,991 รวมถึงมีคำสั่งให้หยุดการจัดจำหน่ายและการทำการตลาดผลิตภัณฑ์บางรายการที่ละเมิดสิทธิบัตรที่นำเข้ามายังสหรัฐอเมริกา โดยคำวินิจฉัยสุดท้ายของไอทีซีจะได้รับการประกาศอีกครั้งภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มร. มาร์ก แฮคเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและที่ปรึกษาทั่วไปของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ กล่าวว่า “คำตัดสินของผู้พิพากษาจากไอซีทีแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเรามีความถูกต้องสมบูรณ์และเปิดโปงไฮเทราที่ดำเนินงานอย่างไร้จริยธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการจงใจละเมิดสิทธิบัตรของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ เราตระหนักว่าคำวินิจฉัยเบืองต้นนี้คือก้าวย่างสำคัญ แต่ก็เป็นเพียงบทพิสูจน์หนึ่งในความพยายามระดับโลกของเราที่จะหยุดยั้งการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญาที่กระทำขึ้นอย่างเป็นระบบของไฮเทรา”

มร. แฮคเกอร์กล่าวเพิ่มเติมว่า “โมโตโรล่า โซลูชั่นส์มีประวัติที่โดดเด่นและยาวนานในการพัฒนานวัตกรรม โดยมีสิทธิบัตรมากมายประมาณ 5,000 ฉบับ เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าของเราอย่างเต็มที่พร้อมกับเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อลูกค้าของเรา เรารู้สึกซาบซึ้งกับการทำงานที่บากบั่นของผู้พิพากษา และเจ้าหน้าที่ของไอทีซีระหว่างการไต่สวนครั้งนี้ และเรามั่นใจว่าไอทีซีจะประกาศคำวินิจฉัยสุดท้ายที่สอดคล้องกับคำพิพากษาในวันนี้”

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการทางกฎหมายของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ต่อไฮเทรา ได้ที่ https://newsroom.motorolasolutions.com/presskits/motorola-solutions-intellectual-property.htm   

###

ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า

เนื้อหาบางส่วนในข่าวประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้เป็นข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า อาทิ ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวังของการยื่นฟ้องดำเนินคดีโดยโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อิงค์ และผลที่อาจเกิดขึ้นหากคดีเป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ โดยนัยแห่งข้อความคาดการณ์ล่วงหน้านั้นมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน เนื่องจากเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต และขึ้นอยู่กับสถานการณ์อันหลากหลายที่อาจเกิดขึ้นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อิงค์ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ  ผลที่เกิดขึ้นจริงนั้นอาจแตกต่างไปจากการคาดการณ์ที่ระบุไว้ในข้อความดังกล่าวโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ได้ระบุไว้ในข่าวชิ้นนี้ด้วย

###

เกี่ยวกับโมโตโรล่า โซลูชั่นส์

โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ (NYSE: MSI) สรรค์สร้างนวัตกรรม รวมถึงบริการและโซลูชั่นด้านการสื่อสารอันเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จตามพันธกิจ เพื่อช่วยให้ภาครัฐและผู้ใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ร่วมกันสร้างเมืองและชุมชนที่มีสวัสดิภาพสูงขึ้นได้อย่างยั่งยืน ท่านสามารถติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องได้ที่ www.motorolasolutions.com/newsroom หรือสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารของทางบริษัทฯ

About TechTalkThai PR 2

Check Also

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุค AI: ความแข็งแกร่งรัดกุมต้องบิวท์อินตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เป็นส่วนเสริม [Press Release]

ภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน องค์กรต่างต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านปริมาณและความซับซ้อน ข้อมูลจากสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCA) พบว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2568 องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่า 1,002 เหตุการณ์ ความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ ภัยคุกคามใหม่ที่เกิดจาก AI และการขาดแคลนบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

การพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมไทย: เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ประกาศความร่วมมือด้านกลยุทธ์กับมาร์คฟอร์จ (Markforged) เพื่อเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 16 มิถุนายน 2568 – บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หนึ่งใน ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอทีชั้นนำของประเทศไทย …