ถึงแม้ที่ผ่านมา ธุรกิจโรงงานและการผลิตหลายแห่งจะได้เริ่มทำ Digital Transformation ด้วยการนำเทคโนโลยี Industrial IoT (IIoT) มาใช้ภายในโรงงาน เพื่อติดตามข้อมูลที่เกิดขึ้นในสายการผลิตและปรับการจัดการเครื่องจักรให้เป็นอัตโนมัติและอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น แต่การต่อยอดความสำเร็จนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าโซลูชันระบบ IIoT นั้นมักจะมีความซับซ้อนที่สูง และมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันทั้งในส่วนของ IT และ OT ซึ่งทั้งสองระบบดังกล่าวนี้ก็มักเป็นระบบที่แยกขาดออกจากกัน ทำให้การประยุกต์ใช้งานระบบเหล่านี้เพิ่มเติมภายในสายการผลิตส่วนอื่นๆ ของโรงงานเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังสามารถประเมินความคุ้มค่าและผลลัพธ์ของการลงทุนได้ยากจากความซับซ้อนในกระบวนการเหล่านี้
ดังนั้นธุรกิจโรงงานและการผลิตที่จะสามารถก้าวไปสู่การเป็น Smart Manufacturing ได้อย่างเต็มตัวนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องผสานรวมระบบ IT และ OT เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวให้ได้เพื่อลดความซับซ้อนในภาพรวมลง และสามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้าน IIoT, Automation และ AI มาประยุกต์ใช้งานให้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากยิ่งขึ้น เปลี่ยนธุรกิจโรงงานและการผลิตแบบดั้งเดิมที่อุ้ยอ้าย ไปสู่ธุรกิจโรงงานและการผลิตสมัยใหม่ที่คล่องตัว เป็นอัตโนมัติ และมีข้อมูลประกอบทุกการตัดสินใจอย่างชัดเจน
คำถามสำคัญก็คือ แล้วธุรกิจโรงงานและการผลิตจะผสานรวมระบบ IT และ OT เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างไร?
แน่นอนว่าธุรกิจนั้นก็ต้องทำการ Transform วิธีการจัดการกับระบบ IT และ OT ทั้งในเชิงของเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมของระบบ เพื่อให้เทคโนโลยีทั้งสองนี้สามารถบริหารจัดการและวิวัฒนาการร่วมกันไปได้นั่นเอง โดยมีแนวทางเบื้องต้น 6 ประการ ดังนี้
1. ปรับแนวทางการจัดการควบคุม IT และ OT ให้เป็นแนวทางร่วมกัน
ธุรกิจโรงงานนั้นจำเป็นที่จะต้องกำหนดหน่วยงาน, บทบาท และความรับผิดชอบในการดูแลรักษาและบริหารจัดการระบบ IT และ OT ร่วมกัน เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความสอดคล้องทั้งในแง่ของกระบวนการ, การกำหนด KPI, การสร้างทักษะ, การจัดการข้อมูล และการปกป้องระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย
การริเริ่มในส่วนนี้จะกลายเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการผสานระบบระหว่าง IT และ OT เข้าด้วยกัน โดยการทำให้ทีมงานและวิธีการทำงานมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น จากนั้นก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน ไปจนถึงการวางแผนหรือกำหนดนโยบายต่างๆ ร่วมกันได้ในระยะยาว
2. ปรับกระบวนการให้สอดคล้องกันมากขึ้น
การกำหนดให้กระบวนการต่างๆ นั้นต้องมีทีมงานที่ผสมผสานกันระหว่าง IT และ OT เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันได้นั้นก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพื่อให้พนักงานทั้งสองฝ่ายได้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมของตนเอง และทำให้เกิดการคิดค้นโซลูชันหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำเอาข้อดีของเทคโนโลยีทั้งสองส่วนมาผสานรวมกันได้
3. กำหนด KPI ร่วมกันสำหรับทั้งสองระบบ
การกำหนด KPI ร่วมกันเพื่อใช้ในการติดตามงานทั้งส่วนของ IT และ OT นั้นจะทำให้โครงการทดสอบระบบ IIoT หรือ Smart Manufacturing ใดๆ นั้นมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเกิดการประยุกต์นำองค์ความรู้ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่มาใช้แก้ไขปัญหาเดียวกันร่วมกันมากขึ้น รวมถึงยังทำให้เกิดความโปร่งใสในแต่ละโครงการมากยิ่งขึ้นด้วยว่าแต่ละฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างไรในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร
4. เสริมทักษะให้กับพนักงานในแต่ละฝ่าย
แน่นอนว่าการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันของฝ่าย IT และ OT นั้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ในขณะที่องค์กรเองก็ควรต้องมีการฝึกอบรมพนักงานในทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างทักษะในระดับที่ได้มาตรฐานและเกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้นไปด้วย โดยในบางกรณี ก็อาจให้ทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมเรียนรู้เทคโนโลยีหรือแนวคิดใหม่ๆ ไปพร้อมกันก็ได้
5. บริหารจัดการข้อมูลของสองระบบร่วมกัน
ถึงแม้มาตรฐานต่างๆ ของระบบ IT และ OT จะแตกต่างกัน แต่ในแง่ของการบริหารจัดการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้งานนั้น ก็ยังเป็นส่วนที่ทั้งสองฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกันได้ ดังนั้นในแต่ละโครงการด้าน IIoT นั้น การให้ทั้งสองมีส่วนร่วมในการจัดการกับข้อมูล ก็จะทำให้ในการประยุกต์นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งานในอนาคตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจด้วยวิธีการคิดที่แตกต่างกันได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
6. รักษาความมั่นคงปลอดภัยโดยคำนึงถึงทั้งสองระบบ
ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นระบบ IT หรือ OT ก็ตาม ดังนั้นการกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะปกป้องระบบไม่ให้ถูกเจาะโจมตีเข้ามาได้ไม่ว่าจะผ่านทาง IT หรือ OT ก็ตาม และการรับมือกับกรณีข้อมูลรั่วไหลเองก็เป็นสิ่งที่ควรจะรับผิดชอบร่วมกันด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการโยนความผิดระหว่างกัน
ผสานรวมระบบ IT และ OT ภายในธุรกิจ ด้วยบริการครบวงจรจาก AIS Business
สำหรับธุรกิจโรงงานและการผลิตใดที่มีแผนในการผสานรวมระบบ IT และ OT เข้าด้วยกัน เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Smart Manufacturing อย่างเต็มตัว ทางทีมงาน AIS Business ในฐานะของ Digital Enabler ก็พร้อมที่จะตอบโจทย์นี้ให้กับโรงงานได้ ดังนี้
1. AIS 5G NEXTGen Platform
AIS 5G NEXTGen Platform คือแพลตฟอร์มจาก AIS Business ที่จะช่วยให้โครงการด้านระบบ IIoT ของโรงงานสามารถทดสอบและใช้งานจริงได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีจาก AIS Business ดังนี้
- 5G Network ระบบโครงข่าย 5G ที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ของผู้ใช้งานและ IoT ของธุรกิจได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศไทย
- 5G MEC / Edge ระบบประมวลผลภายในโครงข่าย 5G ที่จะช่วยให้ทุกการประมวลผลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มี Latency ที่ต่ำ และยืดหยุ่นออกแบบได้ตามต้องการ
- Cloud บริการ Cloud จาก AIS Business และพันธมิตรชั้นนำอย่าง Microsoft และ AWS
- Applications ระบบ Business App สำเร็จรูปจาก AIS ที่พร้อมให้ธุรกิจนำไปใช้งานได้ทันที รวมถึงมี Platform รองรับ App ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นมาเองให้นำมาติดตั้งใช้งานได้ใน MEC ทั่วประเทศ
ด้วยแนวทางเหล่านี้ ทำให้ธุรกิจโรงงานสามารถใช้โครงข่าย 5G สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IIoT และส่งข้อมูลต่างๆ ไปบน 5G MEC สำหรับการวิเคราะห์และตอบสนองแบบ Real-time ได้ ก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังระบบ Cloud เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบภาพรวม อีกทั้งยังเพิ่มขยายระบบได้อย่างง่ายดายและคล่องตัว โดยไม่ต้องลงทุนในระบบ Edge Node และ Network ภายในโรงงานด้วยตนเอง
2. AIS Cyber Secure
AIS Cyber Secure พร้อมเป็นตัวช่วยให้กับลูกค้าองค์กรด้วยประสบการณ์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้ากว่า 42 ล้านราย และยังเป็น partner กับผู้ให้บริการด้าน ความปลอดภัย ทางไซเบอร์ระดับโลกอย่าง Trustwave นอกจากนี้ AIS ยังเป็นผู้ให้ บริการครบวงจรทั้งเน็ตเวิร์คแบบมีสาย และไร้สาย คลาวด์ IoT และบริการเพื่อป้องกัน ภัยทางไซเบอร์อีกหลากหลาย จึงสามารถรับประกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ในทุกจุดของระบบ IT ด้วยบริการดังต่อไปนี้
- Network Security ปกป้องระบบเครือข่ายให้ปลอดภัยจากการคุกคาม เพื่อให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไม่มีสะดุด
- Cloud Security ปกป้องการใช้งาน Cloud ทั้งในแบบ Private, Public หรือ Hybrid ด้วยพันธมิตรผู้ให้บริการ ระดับโลก
- Security for Application เพิ่มความปลอดภัยให้การใช้ Application ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ รวมถึงการบริหารจัดการและ ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานของพนักงานในองค์กร
- Endpoint Security เพิ่มความมั่นใจในการใช้งานอุปกรณ์ของคุณ ด้วยบริการ ที่จะช่วยตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามต่างๆรวมถึง บริการที่จะช่วยกำหนดนโยบายการใช้งานและตรวจสอบ แอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้
- Regulatory Compliance บริการที่ช่วยให้การทำตามกฎหมายไซเบอร์ต่างๆ เป็นไปได้อย่างถูกต้องและยังช่วยในการเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้แก่องค์กรไปด้วยในตัว
- Managed Security Services ลดภาระการบริหารจัดการด้าน Security ภายในองค์กร ด้วยการดูแลอย่างมืออาชีพ จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชม.
สนใจก้าวสู่การเป็น Smart Manufacturing ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที
AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email: business@ais.co.th
Web: https://business.ais.co.th
Reference
Bodo Koerber, Michael Chang, and Murat Soganci, “Converge IT and OT to turbocharge business operations’ scaling power”, From: https://www.mckinsey.com/capabilities/operations/our-insights/converge-it-and-ot-to-turbocharge-business-operations-scaling-power.