[Guest Post] หัวเว่ย และ ไอดีซี เผย 5 ปัจจัยเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคต สำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า

[เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน] – บริษัทวิจัยด้านการตลาดไอดีซีร่วมกับหัวเว่ย เปิดตัวรายงานสมุดปกขาวสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าในชื่อ “เสริมสร้างธุรกิจองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่ออนาคต: เส้นทางแห่งความสำเร็จเพื่อการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล” ภายในงาน HUAWEI CONNECT 2020 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยไอดีซีได้เสนอระเบียบวาระในการปฏิรูปธุรกิจองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้า สอดคล้องกับกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของหัวเว่ยที่มุ่งช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในการกำหนดเป้าหมายและลำดับความสำคัญในการปฏิรูปองค์กรด้านพลังงานสู่เพื่อเสริมมูลค่าของธุรกิจ

 

ธุรกิจองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและโมเดลธุรกิจใหม่อย่างเร่งด่วน

ธุรกิจองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าต้องประสบกับการหยุดชะงักและการเปลี่ยนแปลงมากมายมาโดยตลอด ฝ่ายบริหารจึงจำเป็นที่จะต้องปฎิรูปโครงสร้างการปฏิบัติงานและโมเดลธุรกิจใหม่ หากต้องการรักษาจุดยืนในอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมพลังงานต่อไปได้

นายโหว จินหมิง รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Global Energy Interconnection Development and Cooperation Organization หรือ GEIDCO กล่าวว่า “เมื่ออุตสาหกรรมพลังงานโลกและการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย (Energy Internet) ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนของการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น รูปแบบของภาคอุตสาหกรรมพลังงานจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยจะมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเป็นดิจิทัล และมีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงนี้มีนัยสำคัญต่อวิธีการบริหาร การดำเนินงาน การให้บริการ และการทำธุรกรรมของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ธุรกิจองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าจะต้องพิจารณาใหม่ว่าใครคือลูกค้า คู่แข่ง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ และควรศึกษาว่าอีโคซิสเต็มในปัจจุบันเป็นไปในลักษณะใด ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปรับวิธีการเข้าถึงลูกค้า เปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ จะมีคู่แข่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น ในขณะที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความเสี่ยงต่าง ๆ จะมีมากขึ้นตามไปด้วย”

ด้วยจำนวนและความนิยมของอุปกรณ์ซึ่งใช้พลังงานทดแทนมีมากขึ้น รวมไปถึงการเชื่อมต่อโครงข่ายพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ และการนำเครือข่ายด้านพลังงาน ข้อมูล และการส่งผ่านมาผสานเข้าด้วยกัน ส่งผลให้ธุรกิจองค์การด้านพลังงานต้องพัฒนาความสามารถในการรองรับและตอบสนองระบบบริหารต่าง ๆ รวมไปถึงขั้นตอนการจัดการทางธุรกิจอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ

 

5 ขั้นตอนของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของบริษัทพลังงานไฟฟ้า

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้ามีดังต่อไปนี้ 1. แผนแม่บทด้านดิจิทัลสำหรับองค์กร รูปแบบกลยุทธ์ดิจิทัลเฉพาะทางสำหรับองค์กร 2. แนวทางสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กรและเชิงวัฒนธรรมองค์กรตามที่จำเป็น 3. ความมุ่งมั่นต่อการลงทุนระยะยาวในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล 4. กลยุทธ์ที่อิงกับแพลตฟอร์ม 5. โมเดลการบริหารข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งองค์กร

เอมิลี ดิตตัน (Emilie Ditton) ผู้ช่วยรองประธานกลุ่มข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานและอุตสาหกรรมการผลิต บริษัทไอดีซี เอเชียแปซิฟิก (IDC Asia Pacific) เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงระบบกริดให้ทันสมัยและรองรับการทำงานแบบดิจิทัลล้วนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำทันที โดยเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านแล้ว โครงข่ายกริดดิจิทัลที่ถูกปฏิรูปแล้วจะหลอมรวมการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ดั้งเดิม ศูนย์ผลิตไฟฟ้าแบบกระจายขนาดใหญ่ และพลังงานหมุนเวียนเข้าด้วยกัน รวมถึงทำให้สามารถจัดการและควบคุมระบบกริดไฟฟ้าที่ซับซ้อนได้ การทำงานของระบบกริดจะเปลี่ยนจากกริดดิจิทัลสู่กริดอัจฉริยะ ขณะเดียวกันก็จะเกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวทางการให้บริการพลังงานไฟฟ้าและการจัดการกริดไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

 

หัวเว่ยคือพาร์ทเนอร์ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลากหลายองค์กรในการสร้างการตระหนักถึง การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และความอัจฉริยะของอุปกรณ์จ่ายไฟต่างๆอย่างครอบคลุมรอบด้าน ด้วยการผสานเทคโนโลยี 5G, IoT, IP, AI และออปติคอล, Cloud รวมถึงบิ๊กดาต้าเข้ากับระบบไฟฟ้า นายอู๋ เฮ่า (Hu Hao) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ชี้ว่าอุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนผ่าน โครงสร้างการบริโภคพลังงานดั้งเดิมซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่พลังงานหลัก (Primary Energy) ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงสู่โครงสร้างใหม่ที่มีศูนย์กลางอยู่บนพลังงานทดแทน (Secondary Energy) อย่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปสู่การงดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยใช้พลังงานสะอาด พลังงานไฟฟ้า และการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ กระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้ หัวเว่ยสามารถช่วยให้บริษัทไฟฟ้ามีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม ลดต้นทุนการผลิต ยกระดับความปลอดภัยในการดำเนินงาน และสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ลูกค้าองค์กรเร่ง
กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างระบบพลังงานอัจฉริยะที่มีการผสมผสานพลังงานหลายรูปแบบ มีการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม และมีการตอบสนองอย่างอัจฉริยะควบคู่กันไปด้วย

 

 

เกี่ยวกับหัวเว่ย 

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของ หัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด   

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com  

 

 

About Maylada

Check Also

ต่อยอดระบบ SAP เดิมสู่การใช้ SAP S/4HANA Cloud อย่างเต็มศักยภาพที่มาพร้อมกับ AI ด้วยโซลูชั่น RISE with SAP จาก NDBS Thailand

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีการใช้งาน SAP ECC 6.0 หรือ SAP S/4HANA มาอย่างยาวนานในอดีต อาจต้องเร่งขบคิดถึงแนวทางการอัปเกรดระบบ SAP สู่ S/4HANA Cloud รุ่นใหม่เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์การใช้งานระบบ ERP …

IBM FlashSystem อาวุธลับต่อกรกับแรนซัมแวร์และภัยไซเบอร์ [Guest Post]

โซลูชันจัดเก็บข้อมูลถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งเก็บทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร ซึ่งก็คือ “ข้อมูล” นั่นจึงทำให้ทุกองค์กรต้องจัดหาระบบรักษาความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบ เพื่อรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์และแรนซัมแวร์ ที่จ้องโจมตีอย่างไม่ลดละ เพราะหากพลาดท่าถูกเล่นงานจากแรนซัมแวร์ ถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูล นอกจากต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลาในการกู้คืนข้อมูลแล้ว องค์กรยังต้องสูญเสียโอกาสจากการหยุดชะงักของธุรกิจ ความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของลูกค้า ที่สร้างความเสียหายอันไม่อาจประเมินค่าได้อีกด้วย