Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

High Shopping กับการจัดการธุรกรรมระดับพันล้านให้สามารถเห็นข้อมูลได้แบบ Real-time ด้วย SAP Business One

การบริหารจัดการธุรกิจที่มีธุรกรรมในแต่ละวันเป็นปริมาณมหาศาลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจค้าปลีกที่มีปริมาณการขายในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก มีสินค้าที่หลากหลายในแต่ละหมวด และต้องประเมินวางแผนการจัดการคลังสินค้าหรือการเงินต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณนรินธร อนุเคราะห์ธนาพงษ์ Chief Financial Officer (CFO) บริษัท ไฮ ช็อปปิ้ง จำกัด ธุรกิจทีวีโฮมชอปปิ้งชั้นนำและร้านค้าออนไลน์ของเมืองไทย ในแง่มุมของผู้ที่ต้องดูแลด้านการเงินและบัญชีของธุรกิจที่มีธุรกรรมปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน และเผชิญความท้าทายในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ในครั้งนี้ทีมงาน TechTalkThai จึงขอนำสรุปประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจจากการพูดคุยครั้งนี้เอาไว้ดังนี้

High Shopping: ธุรกิจทีวีโฮมชอปปิ้งและร้านค้าออนไลน์สำหรับสินค้าเกรดพรีเมี่ยม

คุณนรินธรได้เริ่มต้นเล่าถึงจุดเริ่มต้นของ High Shopping ว่าเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท อินทัช มีเดีย จำกัด และบริษัท ฮุนได โฮมช็อปปิ้ง เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ประเทศเกาหลี ด้วยทุนจดทะเบียนที่สูงถึง 500 ล้านบาทตั้งแต่เมื่อปี 2015 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านโฮมชอปปิ้งผ่านช่อง ไฮ ช็อปปิ้ง บน Platform ต่างๆ  ปัจจุบันสามารถติดตามได้ที่ PSI ช่อง 46/ GMM Z ช่อง 63/ INFOSAT ช่อง 54/ DTV ช่อง 48/ AIS Playbox ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น และได้มีการเปิดช่องทางออนไลน์ขึ้นมาเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ https://www.highshopping.com/ และ https://www.youtube.com/channel/UC_smxeH-1JUe33ak8zf9h5A

สินค้าของ High Shopping มีด้วยกันหลากหลายหมวด ไม่ว่าจะเป็นความงาม, อาหาร, สุขภาพ, เครื่องครัว, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ของใช้ภายในบ้าน, แฟชั่น, เครื่องประดับ, ไอที, อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าไลฟ์สไตล์ แต่สิ่งหนึ่งที่ช่อง High Shopping ยังคงให้ความสำคัญต่อสินค้าในทุกๆ หมวดนั้นก็คือความพรีเมี่ยมของสินค้า ที่ผู้ใช้งานถึงแม้จะไม่เคยได้สัมผัสหรือเลือกใช้เองโดยตรง แต่เมื่อทำการสั่งซื้อและได้รับสินค้าไปใช้งานก็ต้องประทับใจ

นอกจากนี้ ภายในเว็บไซต์นั้นยังมีสินค้าจากหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะไทยและเกาหลี ทำให้มีความโดดเด่นแตกต่างจาก Online Marketplace แห่งอื่นๆ ในไทย

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมข่าวสารอัปเดตและโปรโมชันใหม่ๆ จาก High Shopping ได้ที่ https://www.facebook.com/highshopping

การขายสินค้าผ่านโทรทัศน์ยังคงเป็นช่องทางที่ดี และมีลูกค้าเฉพาะที่ช่องทางออนไลน์เข้าไม่ถึง

เมื่อพูดถึงเทรนด์ทางด้านการซื้อขายสินค้าในปัจจุบัน คุณนรินธรก็ได้เล่าย้อนไปถึงช่วงที่ High Shopping ได้เริ่มก่อตั้งในช่วงปี 2015 ว่าช่วงเวลานั้นตลาดโฮมชอปปิ้งนั้นถือว่ากำลังเป็นขาขึ้น และมีการแข่งขันที่สูงมาก แต่เมื่อเทรนด์ของร้านค้าออนไลน์เข้ามา ก็ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโฮมชอปปิ้งด้วยเช่นกัน จนกระทั่งเมื่อ COVID-19 แพร่หลาย พฤติกรรมของลูกค้าก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากการเติบโตของร้านค้าออนไลน์นั้นก็คือการแข่งขันตัดราคา ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ร้านค้าออนไลน์นั้นต้องตัดราคากันเอง แต่ธุรกิจโฮมชอปปิ้งที่มีสินค้าใกล้เคียงกันนั้นก็ต้องยอมตัดราคาไปด้วย ส่งผลให้ในระยะยาวสินค้าที่ขายผ่านช่องทางโฮมชอปปิ้งต้องเปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีความพรีเมี่ยมและแตกต่างมากยิ่งขึ้นกับช่องทางออนไลน์

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของร้านค้าออนไลน์นี้กลับทำให้จุดแข็งของธุรกิจโฮมชอปปิ้งเด่นชัดมากยิ่งขึ้น โดยถึงแม้ลูกค้าบางกลุ่มนั้นจะหันไปสู่ร้านค้าออนไลน์ แต่การที่ธุรกิจโฮมชอปปิ้งยังคงมีลูกค้าประจำและยังคงทำกำไรได้อยู่นี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงฐานลูกค้าที่มีความเหนียวแน่นและแตกต่างจากร้านค้าออนไลน์อย่างชัดเจน

คุณนรินธรอธิบายถึงลูกค้ากลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แต่ไม่ถนัดเรื่องเทคโนโลยีมากนัก และยังคงชื่นชอบในการที่ได้รับชมเนื้อหาและการสาธิตการใช้สินค้าโดยละเอียดอยู่ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ช่องทางออนไลน์ไม่สามารถมอบให้ได้ ทำให้ช่องทางโฮมชอปปิ้งกลายเป็นทางเลือกหลักของสินค้าที่มีความพรีเมี่ยม ต้องให้ความรู้แก่ผู้ซื้อ และมียอดขายต่อคำสั่งซื้อที่สูงกว่าสินค้ายอดนิยมในช่องทางออนไลน์เป็นอย่างมาก ซึ่งแบรนด์สินค้าพรีเมี่ยมเองก็ยังคงเลือกใช้ High Shopping  เป็นช่องทางหลักในการขายอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

ธุรกรรมจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ต้องบริหารจัดการด้วย SAP เพื่อให้เห็นข้อมูลได้แบบ Real-Time

เพื่อรองรับต่อปริมาณการซื้อจำนวนมากในแต่ละวัน แน่นอนว่า High Shopping นั้นย่อมต้องประยุกต์นำเทคโนโลยีมาใช้งาน โดยเดิมทีนั้นทางบริษัทมีระบบ Commerce ware สำหรับบริหารจัดการการขายสินค้าของตนเองอยู่แล้ว แต่ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบที่ถูกพัฒนาที่เกาหลี และต้องนำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทของการทำธุรกิจในไทยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสกุลเงิน, การรับรู้รายได้, การจัดส่ง, โปรโมชัน และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่เพียงเท่านั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะในมุมของคุณนรินธรที่เป็น CFO ซึ่งต้องติดตามตรวจสอบตัวเลขทางการเงินและทางการบัญชีอย่างใกล้ชิด ข้อมูลที่ได้จากระบบของ Commerce ware นั้นยังไม่ตอบโจทย์ดีนัก ด้วยเหตุนี้ทาง High Shopping จึงต้องมองหาระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) สำหรับใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านการเงินและการบัญชี เพื่อใช้ในเชิงการตัดสินใจเชิงธุรกิจ และการตอบรับต่อข้อกฎหมายของเมืองไทยด้วย

เนื่องจากธุรกิจของ High Shopping นี้มีอินทัช มีเดีย เป็นหนึ่งในผู้ลงทุน ดังนั้นทางอินทัชจึงได้แนะนำให้ใช้ SAP Business One ซึ่งเป็นระบบ ERP สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ขึ้นระบบได้ง่ายและรวดเร็วมาให้ใช้ ซึ่งทาง High Shopping ก็ได้ตัดสินใจนำระบบดังกล่าวมาใช้งาน ซึ่งทางคุณนรินธรนั้นมีประสบการณ์การใช้งานระบบ SAP ในการดูแลด้านการเงินของธุรกิจมาก่อน จึงเห็นด้วยกับการตัดสินใจนี้

ผลลัพธ์ของการเลือกใช้ SAP Business One นั้นก็คือการที่ระบบสามารถผสานเชื่อมต่อกับ Commerce ware ที่มีอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถออกข้อมูลด้านการเงินและการบัญชีของบริษัทได้ในแบบ Real-Time ส่วนการปิดบัญชีรายเดือนและรายปีนั้นก็สามารถทำได้ในเวลาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ทำให้ธุรกิจของ High Shopping สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและคล่องตัว ด้วยข้อมูลประกอบการดำเนินธุรกิจที่ทันท่วงที

เลือก SAP Implementer มืออาชีพอย่าง ISS Consulting ช่วยผสานระบบ ERP เข้ากับ Commerce ware ได้อย่างวางใจ

ในงานครั้งนี้ ทาง High Shopping ได้เลือกให้ ISS Consulting มารับบทบาทในฐานะของ SAP Implementer ในโครงการครั้งนี้ ซึ่งคุณนรินธรก็ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งของ ISS Consulting ที่ใช้เวลาในการพูดคุยทำความเข้าใจโจทย์ความต้องการของ High Shopping อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบขึ้นมาให้ตรงใจกับผู้ใช้งานมากที่สุด

โครงการดังกล่าวนี้ใช้เวลาในการผสานรวมระบบ SAP Business One เข้ากับ Commerce ware พร้อมปรับแต่งการทำงานของ SAP Business One ให้สอดคล้องต่อความต้องการของ High Shopping ได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 เดือนเท่านั้นระบบก็สามารถ Go Live ได้ตามความต้องการอันเร่งด่วนในครั้งนี้

คุณนรินธรย้ำถึงข้อดีของการที่ ISS Consulting มาร่วมทำความเข้าใจต่อโจทย์ของธุรกิจอย่างใกล้ชิดและจริงจังนี้ว่าเป็นข้อดีอย่างมาก เพราะในมุมของ CFO นั้นย่อมไม่ถนัดทางด้านเทคโนโลยีเท่ากับผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Consultant อย่างแน่นอน และในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความต้องการความคิดเห็นกันนี้ ทาง ISS Consulting ก็สามารถแนะนำในข้อประเด็นต่างๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการทางด้านการเงินและการบัญชีของ High Shopping มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นบน SAP Business One ในหลายส่วน ทำให้สุดท้ายแล้วโซลูชันที่ได้รับมาใช้งานนั้นสามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วนจนถึงทุกวันนี้

ความเร็วและความน่าเชื่อถือ คือหัวใจสำคัญที่ CFO ต้องใช้ในการตัดสินใจ

ในการพูดคุยครั้งนี้ คุณนรินธรได้สรุปถึงบทเรียนสำคัญสำหรับคนในสายการเงินและบัญชีที่ต้องมาดูแลโครงการ ERP ว่าสิ่งสำคัญคือการทำให้ข้อมูลทางธุรกิจนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วคล่องตัวอยู่เสมอนั่นเอง โดยสำหรับ SAP Business One ที่มีความโปร่งใส สามารถติดตามตรวจสอบที่มาของตัวเลขแต่ละรายการได้นั้นก็ทำให้ CFO เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีความถูกต้องแม่นยำ และสามารถนำไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องตรวจสอบซ้ำมากมาย ในขณะที่การออกรายงานตัวเลขทางการเงินหรือการบัญชีใดๆ นั้นก็เป็นไปได้อย่างมั่นใจไม่ต้องกังวล ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นเป็นอย่างมากสำหรับเหล่านักบัญชีและนักการเงินรุ่นใหม่

ในแง่ของการเลือกใช้ระบบ ERP ให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น คุณนรินธรได้สรุปถึงประเด็นสำคัญๆ เอาไว้ดังนี้

  1. เลือกใช้ระบบที่มีชื่อเสียง มีลูกค้าใช้งานอยู่แล้ว เพราะจะมั่นใจได้ว่าใช้งานแล้วจะไม่มีปัญหา และมีผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญในเมืองไทยคอยสนับสนุน
  2. ระบบต้องสามารถปรับแต่งได้โดยไม่ยากมากนัก นอกเหนือจากการทำตามหลักการทางบัญชี ก็ต้องสามารถออก Management Report ให้ตอบโจทย์ได้ด้วย
  3. ทำงานร่วมกับระบบเดิมที่มีอยู่ได้ เพื่อที่ผู้บริหารและพนักงานจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง Flow การทำงานของตนเองมากนัก สามารถใช้เครื่องมือที่ถนัดและเหมาะสมที่สุดกับแต่ละงานได้ และใช้งาน ERP เฉพาะในส่วนที่ต้องการเท่านั้นมาเสริม
  4. มีความสามารถที่จำเป็นต่อธุรกิจของเรา อย่างเช่นในกรณีของ High Shopping คือการรองรับการดำเนินธุรกิจแบบ Consignment ได้ เป็นต้น

เกี่ยวกับ ISS Consulting

ISS Consulting (Thailand) Ltd. เป็นพาร์ทเนอร์กับ SAP ในระดับ Platinum และ SAP Global Partner ที่สามารถให้บริการด้านการออกแบบ พัฒนา และติดตั้งโซลูชั่นของ SAP อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นระบบ ERP สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่ ในหลากหลายอุตสาหกรรมมาเป็นเวลากว่า 21 ปี โดยปัจจุบันนี้มีลูกค้าธุรกิจและองค์กรทั่วประเทศไทยรวมมากกว่า 250 ราย พร้อมให้บริการทั่วประเทศไทยโดยทีมงานกว่า 300 คน

ปัจจุบัน ISS Consulting (Thailand) Ltd. ได้เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม NTT DATA และ itelligence ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ SAP และ Data Center ระดับโลก ทำให้บริษัท มีความสามารถในการนำเสนอ SAP Solution และ IT Solution อื่น ๆ ให้กับลูกค้าในประเทศไทยในขอบเขตที่กว้างยิ่งขึ้นและครบวงจรมากยิ่งขึ้น ทางด้าน SAP Partner นั้น ISS Consulting (Thailand) Ltd.  ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม SAP Global Partner ทำให้บริษัทมีศักยภาพมากขึ้นในการนำเสนอ SAPโซลูชั่นธุรกิจระดับโลก

ล่าสุดในงาน SAP South East Asia Partner Kick off – Meeting 2021 ทางบริษัทฯ ยังได้รับรางวัลด้วยกันถึง 4 รายการ ได้แก่

  • รางวัล SAP Partner of The Year 2020 – Indochina รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลสูงสุดที่ไอเอสเอสคอนซัลติ้งได้รับจาก SAP ซอฟแวร์ระดับโลก เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน (2018-2020)
  • รางวัล General Business Partner of The Year 2020 – Indochina
  • รางวัล SAP S/4HANA Partner of The Year 2020 – Indochina
  • รางวัล DRS Partner of The Year 2020 – Indochina

รางวัลเหล่านี้ถือเป็นการตอกย้ำในความเป็นผู้นำของ ISS Consulting (Thailand) Ltd. ในฐานะของผู้ให้บริการโซลูชันของ SAP อย่างครบวงจรในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

ผู้ที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง SAP เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการในองค์กรให้ดีขึ้น ISS Consulting พร้อมให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มประเภทธุรกิจ ติดต่อได้ที่ โทร 02 237 05553 หรือติดตาม ISS Consulting (Thailand) ได้ที่ Link ด้านล่างนี้

About chatchai

Tech Writer แห่ง TechTalk Thai ที่สนใจในทุกนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

ปลดล็อกศักยภาพธุรกิจของคุณด้วย Microsoft Azure – ลุ้นรับสิทธิโปรโมชันดีๆ จาก Ingram Micro

ในยุคดิจิทัลที่การแข่งขันรุนแรง ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพอยู่เสมอ แต่ก็พบว่ามีปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับระบบ IT Infrastructure ในองค์กร ตัวอย่างเช่น