[Guest Post] แคสเปอร์สกี้เดินหน้าพัฒนานโยบายความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับอุปกรณ์ชีวภาพหรือไบโอนิก

แคสเปอร์สกี้  ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวดิจิทัลชั้นนำของโลก เป็นหนึ่งในองค์กรแรกๆ ที่เห็นความสำคัญจากความท้าทายของปรากฏการณ์ Human Augmentation Phenomenon หรือปรากฎการณ์ความตื่นตัวในการใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพร่างกายของมนุษย์ ด้วยการนำเสนอนโยบายแนวทางของความปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับปรากฎการณ์นี้ โดยนโยบายดังกล่าวจะเน้นไปที่การเพิ่มความแข็งแกร่งของบุคลากรในการทำงานตามออฟฟิศต่างๆ พร้อมทั้งคำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิการของพนักงานเมื่อต้องใช้อุปกรณ์ชีวภาพหรือไบโอนิก (bionic device) ในการทำงาน

ท่ามกลางความตื่นตัวและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่รายล้อมการทำ Human Augmentation โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนการใช้งานอุปกรณ์ไบโอนิกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเข้ามาแทนที่หรือเสริมศักยภาพอวัยวะเดิมของมนุษย์ด้วยการฝังเทคโนโลยีประดิษฐ์ลงไป อย่างไรก็ดีในแวดวงของเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็มีการแสดงความกังวลในเรื่องดังกล่าวอยู่ โดยมองว่ายังมีการคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอุปกรณ์ประเภทนี้ต่ำเกินไป การขาดความตื่นตัวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจะนำไปสู่ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทั้งในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีเสริมศักยภาพร่างกายของมนุษย์และเรื่องความปลอดภัยของโลกดิจิทัลในอนาคต

แคสเปอร์สกี้ได้ทำการสำรวจอย่างต่อเนื่องในเรื่องศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพร่างกายของมนุษย์และประเมินความท้าทายในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มวลมนุษยชาติอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาที่มีการนำเอาแนวทางเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยการเกาะติดการเสวนาภายในคอมมูนิตี้ บริษัทได้ตัดสินใจที่จะตอบรับความต้องการเฉพาะกิจในด้านของการกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์และกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบเครือข่าย IT ขององค์กรซึ่งอาจเกิดจากเทคโนโลยีการเสริมศักยภาพร่างกายของมนุษย์ได้ นโยบายของแคสเปอร์สกี้ได้สร้างสถานการณ์จำลองที่พนักงานซึ่งได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีเสริมศักยภาพเข้ามามีบทบาทในองค์กรมากขึ้นในอนาคต และยังมองไปถึงการทดสอบในชีวิตจริงของแคสเปอร์สกี้กับพนักงานที่ฝังไบโอชิปไว้ในร่างกาย

ภายใต้การกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ ตัวนโยบายจึงมีขั้นตอนการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ไบโอนิก* ภายในองค์กรและมุ่งลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการธุรกิจ นโยบายดังกล่าวมีการระบุถึงโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรแบบทั้งองคาพยพรวมถึงหน่วยธุรกิจย่อยทั้งหมดด้วย ผลลัพธ์ที่ตามมาคือมันสามารถใช้งานกับระบบควบคุมการเข้าถึงอย่างเต็มรูปแบบได้ เช่นเดียวกับกระบวนการบริหารดูแลระบบ และกระบวนการซ่อมบำรุง รวมถึงการใช้งานกับระบบอัตโนมัติด้วย นโยบายของแคสเปอร์สกี้นั้นจะต้องนำไปใช้ได้ทั้งกับพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว ตลอดจนพนักงานขององค์กรภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ร่วมลงนามทำสัญญาให้บริการกับทางบริษัท ปัจจัยทั้งมวลนี้จะมุ่งไปที่การเสริมประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานองค์กรในระดับที่ใหญ่กว่า

มาร์โก พรีอัสส์ ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลกของแคสเปอร์สกี้ (GReAT) ประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า “เทคโนโลยีการเสริมศักยภาพร่างกายมนุษย์ คือชอบเขตของเทคโนโลยีซึ่งในความเป็นจริงแล้วเปรียบเหมือนพื้นที่ตกสำรวจ นั่นคือเหตุผลที่ต้องมีการย่างเท้าก้าวแรกสู่ความกระจ่างแจ้งของประเด็นนี้ที่เกี่ยวเนื่องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน เช่นเดียวกันการสร้างความแข็งแกร่งของระบบรักษาความปลอดภัยจะช่วยให้เรามั่นใจในศักยภาพของเทคโนโลยีว่าจะนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม เราเชื่อในการสรรสร้างโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งกว่าเพื่อวันพรุ่งนี้ เราต้องการสร้างความปลอดภัยเชิงดิจิทัลให้กับอนาคตของเทคโนโลยีการเสริมศักยภาพร่างกายมนุษย์ตั้งแต่วันนี้”

นโยบายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำหนดขึ้นโดยแคสเปอร์สกี้จะมอบกระบวนการสร้างมาตรฐานที่หลากหลาย เสริมประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย และมีความครอบคลุมที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแก่บรรดาพนักงานที่ใช้อุปกรณ์ไบโอนิกเมื่ออยู่ในออฟฟิศ อีกทั้งหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของแผนการกำหนดนโยบายนี้คือการเข้าไปมีส่วนร่วมกับคอมมูนิตี้ด้าน IT และการใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพระดับโลกในการร่วมเสวนาและการดำเนินการตามความพยายามร่วมในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้กับเทคโนโลยีการเสริมศักยภาพร่างกายมนุษย์ให้ก้าวไปสู่ขั้นต่อไป นี่ยังรวมถึงการสร้างความมั่นใจเชิงดิจิทัลของอุปกรณ์ การตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในระดับต่าง ๆ และบรรเทาการเกิดภัยคุกคามใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพของมนุษย์

การเสวนาระดับนานาชาติครั้งต่อไปในด้านอนาคตของเทคโนโลยีการเสริมศักยภาพร่างกายมนุษย์ นโยบายเขิงอุตสาหกรรมระดับโลก มาตรฐานความปลอดภัยทางดิจิทัล ภัยคุกคามดิจิทัลหลักที่สามารถส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เสริมศักยภาพได้ รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นจะจัดขึ้นในการประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต หรือ IGF ประจำปี 2021 ซึ่งจัดโดยองค์การสหประชาชาติในวันที่ 7 ธันวาคม 2021

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการเสวนาแบบออนไลน์ในหัวข้อ “The future of human augmentation: gain or ‘cyber-pain’?”

https://www.intgovforum.org/en/content/igf-2021-town-hall-32-the-future-of-human-augmentation-gain-or-cyber-pain

*อุปกรณ์ไบโอนิกที่มีการป้องกันด้วยนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกอบด้วย การฝังชิปอัจฉริยะ (เช่น ไบโอชิป NFC) อวัยวะภายในและแขนขาเทียม รวมถึงอวัยวะรับความรู้สึกเทียม (เช่น อุปกรณ์สายตาเทียม เครื่องช่วยฟัง และอื่น ๆ)

About Maylada

Check Also

แฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ใจดีแจกฟรี FortiGate VPN Credential ของ 15,000 อุปกรณ์

Belsen Group กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เพิ่งปรากฏชื่อขึ้นในสื่อต่างๆ กำลังเรียกร้องความสนใจด้วยการแจกฟรีไฟล์ข้อมูลของ FortiGate ราว 15,000 อุปกรณ์ใน Dark Web ที่ภายในประกอบด้วย IP Address, VPN Credential …

Yip In Tsoi พาส่องภาพรวมปัญหาความปลอดภัยจากไซเบอร์ จากข้อมูลสู่ Cyber Physical System และการปรับตัวในการใช้ AI ให้ปลอดภัย [PR]

เมื่อภูมิทัศน์ด้านภัยคุกคามไซเบอร์มีความซับซ้อน สุ่มเสี่ยงให้เกิดความเสียหายในวงกว้างมากขึ้น จำเป็นที่องค์กรต้องตระหนักถึงความท้าทายดังกล่าว เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และมุมมองด้านความปลอดภัยให้ครบองค์ประกอบ T2P ได้แก่ คน (People) กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology)