[Guest Post] หัวเว่ยเปิดตัวสายผลิตภัณฑ์โซลูชันอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะ ช่วยเสริมโครงสร้างพื้นฐาน ไอซีทีของมหาวิทยาลัยไทยและภาคองค์กรธุรกิจให้พร้อมรับมือทุกสถานการณ์

เมื่อเร็วๆ นี้ หัวเว่ยจัดงาน Huawei Asia Pacific IP Club Carnival 2021 ภายใต้หัวข้อ “พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนอนาคตใหม่ให้วงการ” พร้อมเผยว่าโซลูชันด้านการสื่อสารและส่งข้อมูลจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ และจะช่วยกลุ่มองค์กรธุรกิจรวมถึงสถาบันการศึกษาในประเทศไทยให้สามารถสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่น รับมือทุกสถานการณ์ได้อย่างไร นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัวโซลูชันอินเทอร์เน็ต (IP) อัจฉริยะตัวล่าสุดสำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก โดยมีลูกค้า พาร์ทเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าร่วมงานครั้งนี้มากกว่า 2,400 ราย

 

นายเควิน หู ประธานบริหารสายผลิตภัณฑ์ หัวเว่ย ดาต้าคอม กล่าวเปิดงานว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยการส่งผ่านข้อมูลที่ราบรื่นไม่สะดุดจะช่วยปลดปล่อยศักยภาพที่แท้จริงของการรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการในกลุ่มธุรกิจองค์กรทำให้บริการโครงข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงจากให้บริการในพื้นที่นั้น ๆ ไปสู่การให้บริการผ่านคลาวด์ ซึ่งส่งผลให้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ จำเป็นต้องรับประกันประสบการณ์การบริการ รวมถึงคุณภาพที่วางใจได้ของบริการนั้น

ภายในงาน หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน CloudCampus 2.0 เพื่อนำวิวัฒนาการใหม่มาสู่วงการโครงข่ายแบบแคมปัส เริ่มจากเทคโนโลยีโครงข่ายไร้สายระดับกิกะบิตแบบอัจฉริยะ เพื่อนำไปสู่ “การเชื่อมต่ออัจฉริยะในทุกสิ่งทุกอย่าง” โดยโซลูชัน CloudCampus จะเป็นแพลตฟอร์มโครงข่ายอัจฉริยะเพื่อใช้รับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในหมู่องค์กรที่มีโครงสร้างแบบดั้งเดิม และจะช่วยเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รศ. ดร. วุฒิพล ธาราธีรเศรษฐ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้ยกตัวอย่างถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่ทางสถาบันการศึกษาต้องเผชิญ โดยเฉพาะบิ๊กดาต้า และยังยกตัวอย่างว่าโซลูชันของหัวเว่ยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำคัญเหล่านี้ได้อย่างไร โดยศูนย์ข้อมูลจากหัวเว่ยช่วยตอบโจทย์ในการลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ให้แก่ทางมหาวิทยาลัย ทั้งยังรองรับการพัฒนาโซลูชันต่อยอดเพิ่มเติมได้ในอนาคต นอกจากนี้ การติดตั้งแคมปัสแบบไร้สายของหัวเว่ยยังช่วยให้ทางมหาวิทยาลัยสามารถรวมศูนย์การจัดการโครงข่ายในสถาบันการศึกษา พร้อมทั้งส่งมอบเครือข่ายการใช้งานที่ครอบคลุมให้แก่เหล่านิสิตนักศึกษา ซึ่งถือเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่พวกเขาในอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชัน CloudFabric 3.0 Hyper-Converged DCN ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการสร้างเทคโนโลยี DCN ยุคใหม่ ซึ่งมีฟีเจอร์รองรับเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่สามารถบีบอัดข้อมูลได้โดยไม่สูญเสีย (lossless) ข้อมูลจากต้นทาง รองรับการปฏิบัติงานโดยอัตโนมัติตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง รวมทั้งรองรับการบำรุงรักษาโครงข่ายอย่างอัจฉริยะและครอบคลุม

หัวเว่ยยังได้เปิดตัวสายผลิตภัณฑ์เราท์เตอร์ตัวใหม่ในซีรี่ส์ NetEngine8000 (NE8000) โดยโซลูชัน CloudWAN ของหัวเว่ยได้รับการออกแบบให้ทำงานอยู่บนพื้นฐานของเราท์เตอร์ซีรี่ส์ NetEngine 8000 รุ่นใหม่นี้สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร รองรับเทคโนโลยี SRv6 และการแบ่งใช้งานโครงข่าย ทำให้ผู้ใช้งานสร้างโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีเอกภาพและรองรับการให้บริการได้ทุกรูปแบบ รวมทั้งรับประกันการรักษาระดับมาตรฐานของบริการต่าง ๆ (Service Level Agreements) ได้หลากหลายต่างกันไปตามบริการนั้น ๆ

หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ จะยังคงร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งมอบโซลูชันโครงข่ายอินเทอร์เน็ตอัจฉริยะให้กับกลุ่มธุรกิจองค์กรต่อไป และช่วยผลักดันให้เกิดความสำเร็จในยุคดิจิทัล

 

About Maylada

Check Also

Microsoft ออกแพตช์ประจำเดือนธันวาคม 2024 แก้ไขช่องโหว่ Zero-day และอีก 71 รายการ

Microsoft ปล่อยแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคม 2024 แก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 71 รายการ รวมถึงช่องโหว่ Zero-day ที่กำลังถูกโจมตีอยู่ 1 รายการ

True IDC แนะนำ! เพิ่ม Productivity ให้สูงปรี๊ด ด้วย Gemini for Google Cloud

ทุกวันนี้ แทบทุกองค์กรต่างเร่งหา Generative AI หรือ AI มาเพิ่ม Productivity ให้ธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ เช่น การให้บริการลูกค้า (Customer Service), การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software …